แนวทางการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดนครศรีธรรมราช ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.)
การกำหนดมาตรฐานการศึกษาทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะสถานศึกษาทุกแห่งรู้ว่าเป้าหมายการพัฒนาที่แท้จริงอยู่ที่ใด การกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษา จึงเป็นการให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา ๒ ประการ คือ
สถานศึกษาทุกแห่งมีเกณฑ์เปรียบเทียบกับมาตรฐานการศึกษาเป็นมาตรฐานการศึกษาเดียวกัน
มาตรฐานการศึกษาทำให้สถานศึกษาเข้าใจชัดเจนว่าจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปในทิศทางใด
สถานศึกษาสามารถออกแบบระบบการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสม เป็นไปได้และสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาได้ด้วยตนเอง การประเมินคุณภาพภายนอกเป็นเพียงการยืนยันระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ผลที่ได้จากการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกนั้น จะต้องสามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาได้ด้วย
แนวทางการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัตนครศรีธรรมราช ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ และเป็นการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ ๑ เตรียมความพร้อม ศึกษาและสร้างความเข้าใจมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑
ขั้นที่ ๒ กำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา
ขั้นที่ ๓ จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นที่ ๔ ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นที่ ๕ ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ขั้นที่ ๖ ติตตามผลการตำเนินการของสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ขั้นที่ ๗ จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองและจัดส่งให้แก่หน่วยงานต้นสังกัต
มาตรฐานการศึกษาของชาติระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๖๑ หมายถึง คุณลักษณะของคนไทยที่ตอบสนองวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยคนไทยจะต้องธำรงความเป็นไทยและแข่งขันได้ในเวทีโลก นั่นคือ “เป็นคนดี มีคุณธรรม ยึดค่านิยมร่วมของสังคมเป็นฐานในการพัฒนาตนให้เป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะ ๓ ด้าน” โดยเป็นคุณลักษณะขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้
“ด้านผู้เรียนรู้” เป็นผู้ที่มีความเพียร ใฝ่เรียนรู้และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ก้าวทันโลกดิจิทัลและโลกอนาคต มีสมรรถนะที่เกิดจากความรู้ด้านต่างๆ อย่างมีสุนทรียะ รักษาและใช้ภูมิปัญญาไทย มีทักษะชีวิตที่ใช้ในการสร้างงานบนพื้นฐานของความพอเพียง ความมั่นคงในชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
“ด้านผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม” เป็นผู้มีทักษะทางปัญญาทักษะศตวรรษที่ ๒๑ ความฉลาดดิจิทัล ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะข้ามวัฒนธรรม สมรรถนะการบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อร่วมสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือสังคม เป็นการสร้างโอกาสเพิ่มมูลค่าให้กับตนเองและสังคม
“ด้านพลเมืองที่เข้มแข็ง” เป็นผู้มีความรักชาติ รักท้องถิ่น รู้ถูกผิด มีจิตสำนึกเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก มีจิตอาสา มีอุดมการณ์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ บนฐานของประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียม และเสมอภาค เพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและประชาคมโลกอย่างสันติ
ลิ้งค์ดาวน์โหลดเอกสาร
ที่มา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา