“ทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้: สื่อ/นวัตกรรมพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยที่ประสบผลสำเร็จ”
สถาบันภาษาไทย สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ นักเรียน เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่๑ ต้องอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ทั้งในขณะที่อยู่ในระดับการศึกษา และในระดับที่ชับซ้อนขึ้นเมื่อเติบใหญ่ สามารถดูแลตนเอง มีอาชีพ และมีรายได้ เป็นนักคิด และเรียนรู้ตลอดชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็น หน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดนโยบายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถอ่าน เขียน และมีทักษะการสื่อสาร เพื่อเป็นฐานในการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้อื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ
สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ได้ดำเนินโครงการเร่งรัด พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นอ่านรู้เรื่อง และสื่อสารได้ โดยประกาศนโยบาย ปี ๒๕๕๘ เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และเพื่อให้ การดำเนินงานจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ขึ้น เพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการ บริหารจัดการ ดำเนินการเร่งรัดพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ รวมทั้งพัฒนาสื่อและเสนอวิธีสอนภาษาไทยที่ประสบ ผลสำเร็จ ให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งหนังสือ “ทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้: สื่อ/นวัตกรรมพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยที่ประสบผลสำเร็จ” เล่มนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียน สำหรับนำไปใช้ในสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้รวบรวมผลงานของ ครูผู้สอนและศึกษานิเทศก์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งได้ทดลองใช้และประสบผลสำเร็จจาก การใช้แก้ไขปัญหาหรือพัฒนานักเรียนมาระดับหนึ่งแล้ว
เนื้อหาตัวอย่างในเล่ม
ที่มา : สถาบันภาษาไทยสํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน