๑. แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีทั้งหมด ๑๐ แบบฝึกคือ
แบบฝึกที่ ๑ คำไทยมีอะไรบ้าง
แบบฝึกที่ ๒ ใช้เรียกชื่อคือคำนาม
แบบฝึกที่ ๓ เรียกคำนามตามลักษณะ
แบบฝึกที่ ๔ คำสรรพนามตามผู้พูด
แบบฝึกที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
แบบฝึกที่ ๖ คำชัดเจนด้วยวิเศษณ์
แบบฝึกที่ ๗ เชื่อมคำด้วยบุพบท
แบบฝึกที่ ๘ คำต่อเนื่องด้วยสันธาน
แบบฝึกที่ ๙ คำอุทานแสดงอารมณ์
แบบฝึกที่ ๑๐ คำไทยในชีวิตประจำวัน
แบบฝึกแต่ละชุดมีจุดประสงค์และเนื้อหาสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒. จุดประสงค์ เนื้อหา ของแต่ละชุดเสร็จสมบูรณ์ในตัวเอง ผู้เรียนสามารถใช้ได้ด้วยตนเอง
๓. ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ด้วยการตรวจคำตอบจากเฉลยท้ายแบบฝึก
คู่มือการใช้ แบบฝึกชุดที่ ๕
จุดประสงค์ของแบบฝึก
เมื่อทำแบบฝึกแล้วนักเรียนสามารถ
๑. อธิบายความหมายของคำกริยาได้
๒. บอกชนิดของคำกริยาได้
๓. บอกหน้าที่ของคำกริยาและใช้คำกริยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ขั้นตอนการปฏิบัติ
การเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ มีลำดับขั้นในการทำกิจกรรมตามลำดับ ดังนี้
๑. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามระดับความสามารถแบบเรียนแบบร่วมมือกัน เรียนรู้
๒. นักเรียนทำกิจกรรมในชั้นเรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๓. เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเรียบร้อย สมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่มนำแบบฝึก เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ ไปฝึกปฏิบัติเมื่อเสร็จแล้ว ให้สมาชิกที่มีหน้าที่ตรวจ แบบฝึกตรวจ หลังจากนั้นอธิบายข้อที่สมาชิกทำผิด
๔. เมื่อทำแบบฝึกได้ครบถ้วนทุกข้อแล้ว นักเรียนทำแบบทดสอบประจำ แบบฝึกเรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ โดยครูเน้นให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ ในการทำแบบทดสอบ และทำอย่างเต็มที่เนื่องจากเป็นคะแนนของกลุ่ม ต้องทำให้ ถูกต้องไม่ต่ำกว่า ๘ ข้อ
๕. ถ้าสมาชิกในกลุ่มคนใดทำแบบทดสอบประจำแบบฝึกได้ต่ำกว่า ๘ ข้อ ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยอธิบายให้สมาชิกคนนั้นฟังอีกครั้ง เมื่อมีความเข้าใจ มากขึ้น แล้วให้ทำแบบแบบทดสอบประจำแบบฝึกใหม่ คะแนนที่ได้ถือว่าเป็นคะแนน ที่สามารถทำได้ดีที่สุด
การประเมินผล
๑. เมื่อนักเรียนทำแบบทดสอบประจำแบบฝึกเรียบร้อยแล้ว นำคะแนน ที่นักเรียนทำได้ดีที่สุดมาเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานของแต่ละคน เพื่อเป็นคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล
๒. นำคะแนนความก้าวหน้าของสมาชิกในกลุ่มหาค่าเฉลี่ยเพื่อเป็นคะแนน ของกลุ่ม
๓. นำคะแนนแบบทดสอบของแบบฝึกเรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ เป็นคะแนนมาตรฐานในการคิดคะแนนความก้าวหน้าในการทำแบบทดสอบประจำ แบบฝึกทักษะเรื่องต่อไป
ดีมาก