การออกแบบ การวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียน การออกแบบ การวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียน

การออกแบบ การวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียน

การออกแบบ การวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียน

การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นการวัดผลระหว่างทางเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ เจตคติ องค์ความรู้ จนเกิดเป็นความสามารถหรือสมรรถนะ

การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเรื่องจำเป็นในการวิเคราะห์ผลการพัฒนาด้านต่างๆ ของผู้เรียน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่อยู่ในรูปแบบของแบบสังเกต แบบสอบถาม แบบประเมินทักษะด้านต่าง ๆ รวมไปถึงแบบฝึก เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ จนเกิดเป็นสมรรถนะก่อนที่จะนำไปวัดและเมินผลผู้เรียน

มาเรียนรู้วิธีการออกแบบ (การวัดและประเมินผล) เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เรียนรู้กันได้แล้ว

ดังนั้นการที่คุณครูจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คุณครูจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนและเพื่อนคุณครูด้วยกันเองเพื่อให้การออกแบบการวัดและประเมินผลนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด

การออกแบบ(การวัดและประเมินผล)เพื่อพัฒนาผู้เรียน

การออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทางตัวชี้วัดปลายทางเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยมีเป้าหมาย คือ การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลของครูเกิดความยืดหยุ่น คล่องตัวและผู้เรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาจนบรรลุคุณภาพตามตัวชี้วัดที่กำหนด

ตัวชี้วัดระหว่างทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเน้นการประเมินในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลักให้เป็นไปตามจุดประสงค์นำทางที่คุณครูต้องดำเนินการดังนี้

1. วิเคราะห์ตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้

2.การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล

3.การออกแบบกิจกรรม (กิจกรรม สื่อ และเครื่องมือ)

4.การจัดกิจกรรมที่ต้องใช้สื่อและเครื่องมือ

5.การวัดและประเมินผลรายตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้

6.บันทึกผล วิเคราะห์ผล จัดทำข้อมูล

7.การนำไปพัฒนาปรับปรุงรูปแบบหรือวิธีการ

ดังนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ครอบคลุม KPAC ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจทักษะทางความคิดและการปฏิบัติงานที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน K P A C (K = Knowledge ,P = Process, A = AttributesและC = Competencies) ซึ่งการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนักเรียนจะต้องมีความสามารถในการคิดความสามารถในการแก้ปัญหาและที่สำคัญที่สุดคือความสามารถในการสื่อสารซึ่งทั้งหมดจะกลายเป็นสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (Competencies of learners) นั่นคือ คุณลักษณะที่เด็กทุกคนมีและใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุตามเป้าหมายนั่นเอง 

ขั้นการออกแบบกิจกรรม มี 5 ขั้นตอนดังนี้

1.ขั้นสร้างความสนใจ (10นาที) เช่น ให้นักเรียนดูภาพจากสื่อแล้วให้ตอบคำถามจากความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อเชื่อมโยงจากหาค่า EMF ในการตอบคำถามจากสถานการณ์     

2.ขั้นการสำรวจและค้นหา (40นาที) นักเรียนออกแบบการทดลองสำหรับใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ แล้วทำการทดลองและบันทึกกิจกรรมรวมถึงการอภิปรายร่วมกันลงความคิดเห็น สุดท้ายมีการนำเสนอผลการแก้ปัญหาเพื่อนำเสนอในชั้นเรียน

3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (10นาที) มีตัวแทนกลุ่มนำเสนอการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์มีการวิพากษ์การแก้ปัญหาของเพื่อนแต่ละกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ครูอาจจะมีการเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ให้ข้อเสนอแนะและเทคนิคการคิดเพิ่มเติมกับนักเรียนสุดท้ายนักเรียนและคุณครูช่วยกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมนี้

4.ขั้นขยายความรู้ (20นาที) ให้นักเรียนเสนอแนวคิดในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบและสรุปเป็นความรู้เพิ่มเติมจากผลการเรียนรู้

5.ขั้นประเมินผล (20นาที) 

  • ให้นักเรียนบันทึกผลหลังการเรียนเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรม
  • นักเรียนทำบททดสอบหลังการเรียนเพื่อวัดการพัฒนาด้านความรู้ความเข้าใจ
  • คุณครูเฉลยและให้คะแนนจากเกณฑ์การให้คะแนน
  • การชื่นชมผลงาน การทำกิจกรรมจนบรรลุเป้าหมายตามแผนที่ได้วางไว้

ตัวชี้วัดปลายทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นที่การประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินการปฏิบัติ การประเมินชิ้นงาน แฟ้มสะสมงาน แบบทดสอบ  เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการวัดและประเมินที่ได้ผลเป็นคะแนนและเพื่อดูพัฒนาการหรือใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนนั่นเอง

ดังนั้นการที่คุณครูจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คุณครูจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนและเพื่อนคุณครูด้วยกันเองเพื่อให้การออกแบบการวัดและประเมินผลนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดและที่สำคัญที่สุดไม่ใช่แค่ความรู้ที่เด็กๆได้จากกิจกรรมแต่เด็กๆต้องสามารถนำความรู้ที่มีมาใช้ในชีวิตจริงได้และสามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในฐานะเป็นพลเมืองของโลกต่อไป

อ้างอิง www.starfishlabz.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *