การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน

(รวบรวมโดย… เจริญ บางเสน   ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้)

การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม

การพิมพ์

1.  การตั้งค่าหน้ากระดาษ เว้นระยะหัวกระดาษ 1.5 นิ้ว ท้ายกระดาษ 1 นิ้ว กั้นหน้า 1.5 นิ้ว และกั้นหลัง 1 นิ้ว

2.  ขนาดอักษร ถ้าพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์  เนื้อหาทั่วไปให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 P หัวข้อหลัก ขนาด 18 P ตัวหนา  หัวข้อรอง ขนาด 16 P ตัวหนา

3.  การพิมพ์หัวข้อหลักให้พิมพ์ติดเส้นกั้นหน้า

4  หัวข้อรอง ซึ่งเป็นข้อย่อยของหัวข้อหลักให้ย่อหน้าลึกเข้ามาประมาณ 9 ตัวอักษร (ห่างจากกั้นหน้า  ¾  นิ้ว)  และอยู่ห่างจากข้อความของหัวข้อหลักข้างบน 1 บรรทัด

5. หัวข้อย่อยซึ่งเป็นข้อย่อยของหัวข้อรอง (ข้อ 3) ให้ย่อหน้ามาให้ตรงกับแนวข้อความของหัวข้อรอง และให้ช่องว่างห่างจากบรรทัดบน 1 บรรทัด

6.  หัวข้อย่อยของหัวข้อย่อย (ข้อ 4) ให้ย่อหน้าให้ตรงกับข้อความของหัวข้อย่อยข้างบน และให้อยู่ห่างจากข้อความแถวข้างบน

7.  ถ้าหากมีข้อย่อยมากกว่านี้ ให้จัดระบบเหมือนข้อ 5 คือ ย่อหน้าหัวข้อเข้ามาให้ตรงกับข้อความในหัวข้อย่อยหลักข้างบน และปัดช่องว่างให้ห่างจากข้างบน เช่นกัน

8.  หัวข้อหลัก (ข้อ 2) และ หัวข้อรอง (ข้อ 3)  จะเป็นหัวข้อลอย ซึ่งไม่มีข้อความอื่นพิมพ์ต่อหลังจากที่พิมพ์ข้อความของหัวข้อนั้นหมดแล้ว ส่วนหัวข้อย่อยอื่น ๆ หลังจากพิมพ์หัวข้อแล้วให้นำข้อความอื่น ๆ มาพิมพ์ต่อได้เลย โดยไม่ต้องย่อหน้า และขึ้นบรรทัดใหม่ ข้อความทีมีเลขประจำข้อ ควรย่อหน้าเมื่อขึ้นเลขข้อใหม่

9.  เนื้อหาที่นำมาพิมพ์ไว้ในแต่ละหน้าควรมีประมาณ 25 บรรทัด ในกรณีอัดสำเนาและประมาณ 30 บรรทัด ในกรณีพิมพ์จากโรงพิมพ์

10.  ผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอขอเลื่อนวิทยฐานะ ต้องเขียนเป็นภาษาไทยเท่านั้น ยกเว้นภาษาต่างประเทศ จะเขียนเป็นภาษาต่างประเทศทั้งหมด หรือผสมกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศก็ได้ (ในสัดส่วนไม่น้อยกว่ากัน)

11.  คำแปลศัพท์ทางเทคนิค ให้ใช้คำศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน ยกเว้นไม่ได้บัญญัติไว้ให้ใช้คำแปลที่เป็นที่นิยมใช้กัน หากต้องการวงเล็บภาษาอังกฤษกำกับไว้  ต้องกระทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ถ้าหากนำไปเขียนต่อไป ไม่ต้องวงเล็บภาษาอังกฤษคำนั้นอีก

12.  การเขียนภาษาอังกฤษในวงเล็บคำศัพท์ทางเทคนิค (ตามข้อ 10)  ให้ใช้อักษรธรรมดา  การใช้อักษรตัวใหญ่ในตัวแรกของคำ (capitalize) ให้ใช้ตามหลักการเขียนตัวอักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นในคำในภาษาอังกฤษ

13.  คำศัพท์ทางเทคนิคที่เป็นภาษาอังกฤษและยังไม่มีคำแปล ให้เขียนภาษาไทยทับศัพท์ตามหลักการเขียนทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน และให้วงเล็บคำภาษาอังกฤษเดิมไว้ข้างหลังคำภาษาไทย

14.  การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ใช้ตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนด

15. รูปภาพหรือแผนภูมิ ต้องชัดเจนและสื่อความหมายได้ และจะต้องบอกที่มาของ รูปภาพ แผนภูมิ ตาราง โดย คำอธิบายของรูปเอาไว้ข้างล่าง คำอธิบายของตารางเอาไว้ข้างบน ส่วนที่มาของรูปและตารางไว้ข้างล่าง

16.  คำอธิบายของรูปภาพไว้ข้างล่าง คำอธิบายของตารางไว้ข้างบน หากรูปและตารางที่คัดลอกออกมาจากเอกสาร หรือตำราอื่นจะต้องอ้างอิงที่มาของรูปและตารางไว้ข้างล่าง (ดูตัวอย่างในเรื่องการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม)

17.  ระบบรูปภาพ และตารางให้ใช้เป็นระบบตัวเลข  เช่น รูปหรือแผนภูมิในบทที่ 1 ขึ้นต้นด้วยรูปที่ 1.1 , 1.2, บทที่ 2  เป็น รูปที่ 2.1  2.2  เป็นต้น สำหรับตารางก็ใช้ระบบเดียว กันก็คือ บทที่ 1 ขึ้นต้นด้วยตารางที่ 1.1, 1.2  ฯลฯ  จำนวนรูป และตาราง จะนับแยกจากกัน  

18.  เมื่อมีการอ้าง รูปภาพ ตาราง หรือแผนภูมิในข้อเขียนนั้น ตาราง รูปภาพ หรือแผนภูมินั้นควรอยู่หน้าเดียวกับข้อเขียนนั้นหรือในหน้าถัดไป กรณีที่ต้องการอ้างภาพ หรือตาราง ที่กล่าวไว้ในบทก่อน ๆ  สามารถกระทำได้โดยวงเล็บรูปที่หรือตารางที่ในข้อเขียนนั้น โดยไม่จำเป็นต้องนำภาพ หรือตารางมาเขียนไว้ใหม่

19.  ไม่ควรแทรกตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ ลงในระหว่างเนื้อหาที่ยังไม่จบความ

20.  ระบบพิมพ์ตัวเลขและการอ้างอิง เมื่อใช้แบบใดต้องใช้แบบนั้นตลอดทั้งเล่ม

21.  ชื่อบทไม่ควรวงเล็บภาษาอังกฤษใส่ไว้ ถ้าหากต้องการจะให้มีจะต้องเหมือนกันทุกบท

22.  เครื่องหมายวรรคตอน ที่ใช้บ่อย ๆ

            .           period  (มหัพภาค)                     ,           comma  (จุลภาค)

            :           colon  (ทวิภาค)                         ;           semi-colon  (อัฒภาค)

            หลังเครื่องหมายทุกชนิด เว้น 1 ระยะ

ชุดข้าราชการ หญิงแขนสั้น
ชุดกากี
สั่งซื้อได้เลยจาก Shopee

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *