ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกําเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะ ให้ความสําคัญแก่เก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายจี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสติการเด็กระหว่างประเทศได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้มีการจัดงาน วันเด็กแห่งชาติขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสําคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสําคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อม ให้ตนเองเป็นกําลังของชาติ
วัตถุประสงค์
การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ สําหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกําหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึง ความสําคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและ เยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ใน ระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก
คําขวัญวันเด็ก
คําขวัญวันเด็ก เป็นคําขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคําขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชดํา ซึ่งดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ให้คุณค่าความสําคัญของ เด็ก จึงมอบคําขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสําหรับเด็กปีละ 1 คําขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ ล้วนมีจุดประสงค์ ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสําคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะๆ มีคำอวรพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทํากิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเมื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯล