วันอังคาร, 5 ธันวาคม 2566

องค์ประกอบของรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

25 ก.ย. 2018
5128

                โดยทั่วไปแล้วในรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครู ประกอบด้วย
1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2) วิธีการดำเนินการวิจัย
3) ผลการวิจัย
4) ข้อสังเกตหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม
5) สิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป  ประเด็นที่น่าสนใจ  และแนวทางในการวิจัยต่อไป

หรือควรประกอบด้วย
1) บทนำ (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  และวัตถุประสงค์ของการวิจัย)
2) แนวคิดที่สำคัญ (และสมมุติฐาน) ของการวิจัย
3) วิธีดำเนินการวิจัย (ตัวแปร  กลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือ  และวิธีการเก็บข้อมูล)
4) การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย และ
5) สรุปผล  อภิปราย  และข้อเสนอแนะ

จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของรายงานการวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะที่ไม่ยึดรูปแบบของรายงานการวิจัยโดยทั่วไปมากนัก  รายงานเฉพาะประเด็นที่สำคัญเท่านั้น  สุวิมล  ว่องวาณิช  (2543 : 182)  ได้สรุปว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่ใช่การวิจัยที่ยากเกินความสามารถของครู ทุกคนสามารถทำได้ถ้ามีความมุ่งมั่นที่จะทำ และเมื่อตัดสินใจที่จะทำแล้ว  ก็ไม่ต้องกังวลว่าวิธีการวิจัยที่ใช้จะไม่ถูกต้องตามหลักวิชา  เพราะหลักการของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคือการทำวิจัยเพื่อนำผลไปแก้ปัญหา  เมื่อใดที่ปัญหาในห้องเรียนหมดไป  ครูนักวิจัยไม่ต้องกังวลหรือสงสัยว่าวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกขึ้นมาใช้  มีอิทธิพลส่งผลให้ปัญหาหมดไปจริงหรือไม่  ไม่ต้องกลัวการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัย  การทำวิจัยคือการแก้ปัญหา  ไม่ใช่การสร้างหรือทดสอบความแกร่งของทฤษฎีดังนั้นเพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการเขียนรายงานการวิจัยของครู

ซึ่งไม่ยากเกินไปจนทำไม่ได้  แต่ก็ไม่ง่ายเกินไปจนเชื่อถือหรือยอมรับไม่ได้  ภายใต้แนวคิดที่ว่า   ถ้ารายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูเป็นรายงานที่ให้ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหา  และครูใช้กระบวนการวิจัยที่เชื่อถือได้  รายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูก็เป็นรายงานการวิจัยที่ควรยอมรับได้  การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียนจึงควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. ชื่อเรื่องการวิจัย
  2. ปัญหาและความสำคัญของปัญหา
  3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  4. วิธีการวิจัย

4.1  กลุ่มเป้าหมาย

4.2  วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้

4.3  วิธีการรวบรวมข้อมูล

4.4  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

4.5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  1. สรุปและสะท้อนผล

รายละเอียดการดำเนินงานตามองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้  ครูได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติมาเป็นอย่างดีแล้วจากบทที่ 2  ดังนั้น  จึงไม่อยู่นอกเหนือศักยภาพของครูที่จะนำมาเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูได้  อย่างไรก็ตาม หากคณะครูได้ร่วมกันปลดปล่อยศักยภาพของตนในฐานะคนในให้ออกมาอย่างเต็มที่  และเป็นอิสระจากคนนอกในการตัดสินใจแล้ว  งานวิจัยของครูก็จะมีคุณค่ามากขึ้น

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 1 เฉลี่ย: 5]

สมาชิกแสดงความคิดเห็น