อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566) อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)

สรุปอัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)

อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)
อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)

วันนี้ครูเชียงราย มีข่าวอัพเดทเกี่ยวกับ ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งในวันที่ 22 เม.ย.66 วิษณุ ผอ.สวก. ได้นำเสนอผ่านทางเพจของท่านเอง

“ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551”

สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ “การจัดกลุ่มตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551”

1.สืบเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางฯ 2551 และจำแนกตัวชี้วัดเป็นตัวชี้วัดต้องรู้และตัวชี้วัดควรรู้ โดยใช้ตัวชี้วัดต้องรู้เป็นกรอบในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET)

ในปี พ.ศ. 2560 ได้ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทำให้มีจำนวนตัวชี้วัดใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด

2.จากการลงพื้นที่ติดตามผลการใช้หลักสูตรแกนกลางฯ 2551 และจากการประชุมร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่จัดการศึกษา พบว่า จำนวนตัวชี้วัดมีจำนวนมาก ซ้ำซ้อน ทำให้ครูผู้สอนต้องใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินที่มาก จึงจะบรรลุคุณภาพตามที่กำหนด

กอปรกับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะอนุกรรมการด้านคุณภาพและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ใน กพฐ. ได้กำหนดเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีแผนการดำเนินงานยกระดับและผลลัพธ์ ในมิติหลักสูตร การพัฒนาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต เพื่อส่งเสริมการนำหลักสูตรที่ใช้อยู่ไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอย่างยืดหยุ่นและคล่องตัว

รวมทั้ง การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการพิจารณาจัดกลุ่มตัวชี้วัดในหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 เพื่อลดภาระในการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพิ่มโอกาสให้ครูและผู้เรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเองที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

3.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาเพื่อหลอมรวม จัดกลุ่มตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อลดความซ้ำซ้อนของตัวชี้วัด สำหรับให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ 2551 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565- มีนาคม 2566 โดยได้นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการด้านคุณภาพและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

4.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้นำเสนอผลการดำเนินการจัดกลุ่มตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเรื่องสืบเนื่องเพื่อทราบ ในการประชุม กพฐ. ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 ที่ประชุมมีมติรับทราบ และมอบคณะอนุกรรมการด้านคุณภาพและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ใน กพฐ. ดำเนินการพิจารณาจำนวนตัวชี้วัดปลายทางให้ไม่เกิน 800 ตัวชี้วัด

5.คณะอนุกรรมการด้านคุณภาพและเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ใน กพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ดำเนินการตามมติ กพฐ. จัดกลุ่มตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6ได้ดังนี้

1) จำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด สามารถจำแนกเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง 1,285 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ จำนวนตัวชี้วัดยังคงครบถ้วน และผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด

2) ตัวชี้วัดปลายทางเป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ส่วนตัวชี้วัดระหว่างทางเป็นตัวชี้วัดระหว่างการจัดการเรียนรู้

3) จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

4) ตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถอธิบายภาพความสำเร็จของผู้เรียนได้ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวชี้วัด

5) กิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ

(1) จัดทำแนวปฏิบัติเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน

(2) จัดทำตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

(3) สื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ

การคัดสรรตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง

1. เป็นการคัดสรรตัวชี้วัดสำคัญซึ่งสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้หลักที่จะใช้ในการวัดและประเมินผลเพื่อลดภาระของครูและนักเรียนในการวัดและประเมิน โดยไม่เสียคุณภาพ

2. จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระไม่ได้สะท้อนความสำคัญของกลุ่มสาระ

3. จำนวนตัวชี้วัดจะขึ้นกับธรรมชาติของกลุ่มสาระนั้นๆ เป็นสำคัญ

4. จำนวนตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัดนี้ สามารถอธิบายความสำเร็จของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างเพียงพอ

แนวทางในการนำตัวชี้วัดปลายทางไปใช้

1. สพฐ. กำหนดแนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้ตัวชี้วัดปลายทางในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และแต่ละระดับชั้น

2. ครูประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ โดย ใช้ตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด

3. ตัวชี้วัดที่เหลือซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง ให้ครูใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยอาจมีการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก แต่ไม่ต้องนำไปรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้

4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้นจะใช้มโนทัศน์ของการประเมินเพื่อพัฒนา (Assessment for Learning) เป็นหลัก โดยเน้นการให้ผลป้อนกลับที่มีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผู้เรียนที่มากพอ (Constructive Feedback) โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ

อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)
อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)
อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)
อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)
อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)
อัพเดท หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2566)

ที่มา โพสต์ของ วิษณุ ผอ.สวก.

ชุดข้าราชการ หญิงแขนสั้น
ชุดกากี
สั่งซื้อได้เลยจาก Shopee

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *