สรุป วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี กฎหมาย ก.พ.
1. ข้อใดคือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้า
2. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น*
3. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
4. กำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ
2. ข้อใดเป็น การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
1. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้*
2. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
3. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
4. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
3. ข้อใดไม่ใช่ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
1. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด
2. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
3. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น*
4. ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น
4. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการต้องดำเนินการ ยกเว้นข้อใด
1. กำหนดเป้าหมาย
2. แผนการทำงาน
3. จัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ*
4. ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ
5. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่่ต้องคำนึงถึง ในการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่
1. ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน
2. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน*
3. กำลังเงินงบประมาณของประเทศ
4. ยุทธศาสตร์ชาติ
6. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการด้านต่างๆ ยกเว้นข้อใด
1. ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
2. ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
3. คุณภาพการให้บริการ
4. การจัดทำแผนงานตามกฎหมาย*
7. ข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1. กระทรวง
2. ทบวง
3. กรม
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น*
8. ที่มาของ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาจากมาตราใดของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
1. มาตรา 3/1*
2. มาตรา 3/2
3. มาตรา 3/3
4. มาตรา 3/4
9. ใครต้องจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
1. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. สำนักงบประมาณ
4. คณะรัฐมนตรี*
10. หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
1. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงบประมาณ
3. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา*
4. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
11. แผนปฏิบัติราชการประจำปี ต้องเสนอผู้ใดให้ความเห็นชอบ
1. คณะรัฐมนตรี*
2. นายกรัฐมนตรี
3. รัฐมนตรี
4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
12. แผนการบริหารราชการแผ่นดินเป็นแผ่น……ปี และแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นแผน…..ปี
1. 1 ปี, 2 ปี
2. 1 ปี, 4 ปี
3. 4 ปี, 4 ปี
4. 4 ปี, 5 ปี*
13. ใครมีหน้าที่กำหนดให้จัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ
1. กรมบัญชีกลาง*
2. สำนักงบประมาณ
3. ก.พ.ร.
4. สำนักนายกรัฐมนตรี
14. ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะแล้วรายงานให้ส่วนราชการใดทราบ
1. ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ และ คณะรัฐมนตรี
2. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก.พ.ร. และกรมบัญชีกลาง
3. กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และ ก.พ.ร.*
4. สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ สำนักเลขาธิการ
15. หน่วยงานใดต้องร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่
1. สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร
2. สำนักงบประมาณ และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ*
3. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และกรมบัญชีกลาง
4. ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ
16. เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
1. 7 วัน
2. 15 วัน*
3. 30 วัน
4. 45 วัน
17. หน่วยงานใดมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
1. ก.พ.ร*
2. สำนักนายกรัฐมนตรี
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ
18. ตอนท้ายของพระราชกฤษฎีกา ได้บอกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์ใดบ้าง
1. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
2. การอำนวยความสะดวก
3. การตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7
4. ทั้ง 3 ข้อ*
19. หน่วยงานใดเป็นผู้ดำหนดให้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางใสการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน
1. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
4. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)*
20. ใครเป็นผู้รักษาการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 บังคับใช้วันที่
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / 10 ตุลาคม 2546
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / 16 กันยายน 2546
3. นายกรัฐมนตรี / 10 ตุลาคม 2546*
4. นายกรัฐมนตรี / 16 กันยายน 2546
อ้างอิงขอขอบคุณ
https://www.thaisc.com/5279/
เรื่องล่าสุด
สมาชิกแสดงความคิดเห็น
สนใจนวัตกรรม
13. ขณะขับรถตรวจพบแอ…
ทางรร.ไทรัฐวิทยา95จ.…
กลุ่มเรื่องฮิตที่น่าสนใจ
cover excel PA pdf powerpoint SAR ก.พ. กพ ข้อสอบ ข้อสอบคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ครูผู้ช่วย คอมพิวเตอร์ จรรยาบรรณ ดาวน์โหลด ปก ย้าย ว21 วิจัย วิจัยในชั้นเรียน วิชาชีพครู วิทยฐานะ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบ แผนการสอน
สวยงามค่ะ