แนวข้อสอบ ก.พ. กฎหมาย ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี แนวข้อสอบ ก.พ. กฎหมาย ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

แนวข้อสอบ ก.พ. กฎหมาย ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

แนวข้อสอบ ก.พ. กฎหมาย วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

รายละเอียดวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี สำหรับการสอบ ก.พ.

แนวข้อสอบ ก.พ. กฎหมายวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี คะแนนเต็ม 50 คะแนน ในการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ (ว12-2562) มีรายละเอียด ดังนี้

  – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  – พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  – พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่ม
  – ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  – พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
  – พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562


ข้อสอบ ก.พ. กฎหมาย (ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี)

1.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
1.การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
2.การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
3.ลดการกระจายภารกิจแก่ท้องถิ่น
4.มุ่งให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ


2.ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
1.ระเบียบบริหารราชการส่วนรวม
2.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
3.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
4.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น


3.สำนักนายกรัฐมนตรีมีสถานะเทียบเท่ากับหน่วยงานใด
1.หน่วยงานอิสระ
2.กระทรวง
3.สำนักงานรัฐมนตรี
4.กรม


4.การยุบ ตั้ง และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด จะต้องตราเป็นกฎหมายประเภทใด
1.พระราชบัญญัติ
2.พระราชกำหนด
3.พระราชกฤษฎีกา
4.ประกาศกระทรวงมหาดไทย


5.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1.กรุงเทพมหานคร
2.พัทยา
3.องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
4.จังหวัดภูเก็ต


6.แผนปฏิบัติการของส่วนราชการนั้น จะต้องจัดทำขึ้นในระยะกี่ปี
1.1 ปี
2.3 ปี
3.5 ปี
4.10 ปี


7.ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือบางส่วนไปแล้ว จะสามารถกลับมาจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นใหม่ได้หรือไม่
1.สามารถดำเนินการจัดตั้งได้ตามขั้นตอนปกติ
2.สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลปกครองก่อน
3.ไม่สามารถดำเนินการได้ในทุกกรณี
4.ไม่สามารถดำเนินการได้ เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็นต่อความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ


8.การบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน จะต้องกระทำการในลักษณะใด
1.ให้กระทำการโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่สำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
2.ให้กระทำการโดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด
3.ให้กระทำการตามกรอบข้อกำหนดที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศตามแผนงานแต่ละปี
4.ให้กระทำการผ่านเครือข่ายดิจิทัลตามประกาศกระทรวงของกระทรวงต่างๆ ได้กำหนดไว้


9.ส่วนราชการจะมีการทบทวนภารกิจของตนว่ามีความจำเป็น หรือสมควรที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงแผนงานตามข้อใด
1.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.แนวโน้มอัตราการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
3.นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
4.แผนแม่บท


10.แผนการบริหารราชการแผ่นดินเป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด
1.คณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.รัฐสภา
3.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
4.คณะรัฐมนตรี


11.พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่บังคับใช้แก่ข้อใดต่อไปนี้
1.คณะรัฐมนตรี
2.ปลัดกระทรวง
3.อธิบดีกรม
4.ข้าราชการระดับวิชาการ


12.“การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่าอย่างไร
1.การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
2.การสอบสวนข้อความผิดทางการปกครอง
3.การพิจารณาโทษความผิดทางการปกครอง
4.การปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางการปกครอง


13.ข้อใดไม่ใช่ “คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง”
1.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
2.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3.ปลัดกระทรวงกลาโหม
4.เลขาธิการคณะรัฐมนตรี


14.“คำสั่งทางปกครอง” จะต้องจัดทำขึ้นในรูปแบบใดจึงจะสมบูรณ์
1.จัดทำเป็นหนังสือ
2.บอกกล่าวด้วยวาจา
3.การสื่อสารโดยรูปแบบอื่นที่มีข้อความชัดเจน
4.ถูกทุกข้อ


15.คำสั่งทางปกครองจะมีผลบังคับใช้เมื่อใด
1.เมื่อมีการลงนามสั่งการของเจ้าหน้าที่
2.เมื่อบุคคลได้รับแจ้ง
3.เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4.เมื่อบุคคลได้ลงนามยอมรับคำสั่ง


16.ข้าราชการที่มีหน้าที่จัดซื้อ หรือรักษาในทรัพย์สินราชการใดๆ แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน จะต้องโทษอย่างไรบ้าง
1.จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
2.จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
4.จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


17.ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น จะต้องโทษอย่างไรบ้าง
1.จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
2.จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
4.จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


18.ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น จะต้องโทษอย่างไรบ้าง
1.จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
2.จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
4.จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


19.ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จะต้องโทษอย่างไรบ้าง
1.จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
2.จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
4.จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


20.ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน รู้หรืออาจรู้ความลับในราชการ กระทำโดยประการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับนั้น จะต้องโทษอย่างไรบ้าง
1.จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
2.จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
4.จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


21.กรณีการละเมิดอันเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้เสียหายในผลแห่งการละเมิดนั้น
1.สำนักนายกรัฐมนตรี
2.กระทรวงมหาดไทย
3.กระทรวงการคลัง
4.สำนักงานข้าราชการพลเรือน


22.เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวเมื่อความผิดนั้นเกิดขึ้นในลักษณะใด
1.เป็นความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเวลางาน
2.เป็นความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือคำสั่ง
3.เป็นความผิดนอกเหนือการปฏิบัติหน้าที่
4.เป็นความผิดที่เกิดจากการจงใจกระทำความผิด


23.ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้หรือไม่
1.สามารถเรียกได้ในทุกกรณี
2.สามารถเรียกได้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นกระทำการด้วยความจงใจ
3.สามารถเรียกได้ในกรณีที่มีอัตราความเสียหายรุนแรง
4.เจ้าหน้าที่ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี


24.ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความเท่าไร
1.90 วัน
2.6 เดือน
3.2 ปี
4.1 ปี


25.สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ให้มีกำหนดอายุความเท่าไร
1.90 วัน
2.6 เดือน
3.1 ปี
4.2 ปี


26.ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานจริยธรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานจริยธรรม พ.ศ. 2562
1.กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
2.มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
3.ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี
4.ประหยัด มัธยัสถ์ อดออม


27.สำหรับข้าราชการการเมือง องค์กรใดจะเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม
1.รัฐสภา
2.คณะรัฐมนตรี
3.สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
4.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน


28.ประธานคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) คือใคร
1.ประธานรัฐสภา
2.นายกรัฐมนตรี
3.รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
4.ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ


29.คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐต่อข้อใด
1.รัฐสภา
2.สภาผู้แทนราษฎร
3.คณะรัฐมนตรี
4.ศาลปกครอง


30.ข้อใดไม่ใช่หลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐที่จะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1.รักษาภาพลักษณ์ของราชการ
2.มีจิตสำนึกที่ดี
3.ไม่เลือกปฏิบัติ
4.สำนึกรักบ้านเกิดและสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง
รายละเอียดคลิกที่นี่
หนังสือเวียน ว12/2562
www.trueplookpanya.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *