สำหรับผู้ที่เตรียมตัวสอบ ครูผู้ช่วย ปี 2568 การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ภาค ข วิชาการศึกษา ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่ใช้วัดความรู้ความสามารถเกี่ยวกับ หลักสูตร, การสอน, การจัดการเรียนรู้, จิตวิทยาการศึกษา, การบริหารจัดการห้องเรียน และการวัดและประเมินผล
ในบทความนี้เราได้รวบรวม แนวข้อสอบครูผู้ช่วย ภาค ข จำนวน 50 ข้อ พร้อมเฉลย ที่อ้างอิงจากแนวทางการออกข้อสอบจริง ครอบคลุมทุกหัวข้อสำคัญ ที่ออกสอบบ่อย เพื่อให้ผู้สอบสามารถฝึกฝนและทบทวนความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากคุณกำลังมองหาแนวข้อสอบที่อัปเดต พร้อมเฉลยละเอียด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบ ครูผู้ช่วย 2568 ห้ามพลาดบทความนี้
ภาค ข: วิชาการศึกษา
(ข้อ 1 – 10 พร้อมตัวเลือกและเฉลย)
1. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่องค์ประกอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ก. โครงสร้างเวลาเรียน
- ข. คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
- ค. มาตรฐานการเรียนรู้
- ง. เกณฑ์การจบหลักสูตร
เฉลย: ข. คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
2. ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ก. หลักการของหลักสูตร
- ข. สาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
- ค. มาตรฐานการเรียนรู้
- ง. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เฉลย: ง. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจุดมุ่งหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
- ก. เพื่อเน้นการปฏิบัติ
- ข. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
- ค. เพื่อตัดสินผลการเรียน
- ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และตัดสินผลการเรียน
เฉลย: ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และตัดสินผลการเรียน
4. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ก. ความสามารถในการสื่อสาร
- ข. ความสามารถในการคิด
- ค. ความสามารถในการใช้ชีวิต
- ง. ความสามารถในการแก้ปัญหา
เฉลย: ค. ความสามารถในการใช้ชีวิต
5. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ก. รักชาติ ศาสนา กษัตริย์
- ข. มุ่งมั่นในการเรียน
- ค. มีวินัย
- ง. รักความเป็นไทย
เฉลย: ข. มุ่งมั่นในการเรียน
6. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คาดหวังสิ่งใดให้เกิดกับผู้เรียนมากที่สุด
- ก. คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
- ข. การบูรณาการการเรียนรู้
- ค. การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- ง. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
เฉลย: ก. คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
7. มาตรฐานการเรียนรู้มีองค์ประกอบทั้งหมดกี่ส่วน
- ก. 1 ส่วน (K) ความรู้
- ข. 2 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม
- ค. 3 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม, (A) กระบวนการ
- ง. 4 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม, (A) กระบวนการ, (N) ความรู้
เฉลย: ค. 3 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม, (A) กระบวนการ
8. ข้อใดคือความหมายของการเรียนรู้แบบ BBL (Brain Based Learning)
- ก. การเรียนรู้ที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลางเพื่อกระตุ้นสมอง
- ข. การเรียนรู้โดยใช้สมองซีกซ้ายเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสมอง
- ค. การเรียนรู้โดยใช้สมองซีกขวาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสมอง
- ง. การเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
เฉลย: ง. การเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
9. สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ ตรงกับข้อใด
- ก. สาระการเรียนรู้
- ข. มาตรฐานการเรียนรู้
- ค. ตัวชี้วัด
- ง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
เฉลย: ค. ตัวชี้วัด
10. ระดับการศึกษาภาคบังคับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้ตัวชี้วัดใดเป็นเป้าหมาย
- ก. ตัวชี้วัดชั้นปี
- ข. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
- ค. ตัวชี้วัดช่วงชั้นปี
- ง. ตัวชี้วัดชั้นปีช่วงชั้น
เฉลย: ข. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
11. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้ตัวชี้วัดใดเป็นเป้าหมาย
- ก. ตัวชี้วัดชั้นปี
- ข. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
- ค. ตัวชี้วัดช่วงชั้นปี
- ง. ตัวชี้วัดชั้นปีช่วงชั้น
เฉลย: ก. ตัวชี้วัดชั้นปี
12. สาระการเรียนรู้มีองค์ประกอบทั้งหมดกี่ส่วน
- ก. 1 ส่วน (K) ความรู้
- ข. 2 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม
- ค. 3 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม, (A) กระบวนการ
- ง. 4 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม, (A) กระบวนการ, (N) ความรู้
เฉลย: ค. 3 ส่วน (K) สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้, (P) คุณธรรม จริยธรรม, (A) กระบวนการ
13. ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ก. กิจกรรมแนะแนว
- ข. กิจกรรมนักเรียน
- ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
- ง. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
เฉลย: ข. กิจกรรมนักเรียน
14. ข้อใดไม่ใช่การจัดระดับการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ก. ระดับก่อนประถมศึกษา
- ข. ระดับประถมศึกษา
- ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เฉลย: ก. ระดับก่อนประถมศึกษา
15. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- ก. ระดับชั้นประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี
- ข. ระดับชั้นประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นเทอม
- ค. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค
- ง. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค
เฉลย: ข. ระดับชั้นประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นเทอม
16. ผู้เรียนอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่นำพาตนเองไปสู่เป้าหมาย เป็นการจัดการเรียนการสอนตรงกับข้อใด
- ก. เป็นการจัดการเรียนรู้โดยเน้นที่ครูเป็นศูนย์กลาง
- ข. เป็นการจัดการเรียนรู้โดยมีโรงเรียนเป็นฐาน
- ค. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
- ง. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เฉลย: ง. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
17. เครื่องมือสำคัญที่ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตรคือข้อใด
- ก. สื่อการเรียนรู้
- ข. ผู้ปกครองและชุมชน
- ค. การวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ
- ง. เทคนิคและวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้
เฉลย: ก. สื่อการเรียนรู้
18. “ผู้สอนศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้สื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้” ข้อความข้างต้นนี้ตรงกับข้อใด
- ก. กระบวนการออกแบบสื่อการเรียนรู้
- ข. กระบวนการเรียนรู้
- ค. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
- ง. การออกแบบการจัดการเรียนรู้
เฉลย: ง. การออกแบบการจัดการเรียนรู้
19. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบ่งออกเป็นกี่ระดับ
- ก. 2 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน, ระดับสถานศึกษา
- ข. 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน, ระดับกลุ่มสาระ, ระดับสถานศึกษา
- ค. 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน, ระดับสถานศึกษา, ระดับเขตพื้นที่การศึกษา, ระดับชาติ
- ง. 5 ระดับ ได้แก่ ระดับอำเภอ, ระดับจังหวัด, ระดับชาติ, ระดับโลก
เฉลย: ค. 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน, ระดับสถานศึกษา, ระดับเขตพื้นที่การศึกษา, ระดับชาติ
20. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่บนหลักการพื้นฐานใด
- ก. ประเมินเพื่อประกอบพิจารณาความดีความชอบของครู
- ข. ประเมินเพื่อการตัดเกรด
- ค. ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และตัดสินผลการเรียน
- ง. ประเมินเพื่อวางแผนทำวิจัยในชั้นเรียน
เฉลย: ค. ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และตัดสินผลการเรียน
21. การประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดเป็นการประเมินในระดับใด
- ก. ระดับชั้นเรียน
- ข. ระดับสถานศึกษา
- ค. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- ง. ระดับชาติ
เฉลย: ก. ระดับชั้นเรียน
22. เครื่องมือวัดผลที่ดีจะต้องเขียนขึ้นโดยอาศัยสิ่งใด
- ก. กิจกรรมการเรียนการสอน
- ข. เนื้อหา
- ค. จุดประสงค์
- ง. เนื้อหาของบทเรียน
เฉลย: ค. จุดประสงค์
23. ระดับผลการเรียน “2” มีความหมายตรงกับข้อใด
- ก. ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
- ข. ผลการเรียนต้องปรับปรุง
- ค. ผลการเรียนพอใช้
- ง. ผลการเรียนปานกลาง
เฉลย: ข. ผลการเรียนต้องปรับปรุง
24. การวัดประเมินผลระดับใดดำเนินการเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายปีและรายภาค
- ก. ระดับชั้นเรียน
- ข. ระดับสถานศึกษา
- ค. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
- ง. ระดับชาติ
เฉลย: ข. ระดับสถานศึกษา
25. ข้อใดไม่ถูกต้องในการตัดสินผลการเรียน
- ก. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินทุกรายวิชา
- ข. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด
- ค. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินเฉพาะด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
- ง. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
เฉลย: ค. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินเฉพาะด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
26. คุณภาพของแบบทดสอบข้อใดสำคัญที่สุด
- ก. ความยากง่าย
- ข. ค่าอำนาจจำแนก
- ค. จำนวนข้อสอบ
- ง. ความตรงและความเที่ยง
เฉลย: ง. ความตรงและความเที่ยง
27. เอกสารใดไม่ใช่เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
- ก. ระเบียนแสดงผลการเรียน
- ข. ประกาศนียบัตร
- ค. แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา
- ง. แบบรายงานประจำตัวนักเรียน
เฉลย: ง. แบบรายงานประจำตัวนักเรียน
28. เอกสารใดไม่ใช่เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด
- ก. ประกาศนียบัตร
- ข. แบบรายงานประจำตัวนักเรียน
- ค. แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา
- ง. ระเบียนสะสมใบรับรองผลการเรียน
เฉลย: ก. ประกาศนียบัตร
29. ง22103 ตรงกับข้อใด
- ก. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
- ข. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
- ค. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- ง. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เฉลย: ง. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
30. หมายเลขรหัสวิชา ง22103 เลขลำดับแรกที่ขีดเส้นใต้มีความหมายตรงกับข้อใด
- ก. กลุ่มสาระการเรียนรู้
- ข. ระดับการศึกษา
- ค. ปีในระดับการศึกษา
- ง. ประเภทรายวิชา
เฉลย: ก. กลุ่มสาระการเรียนรู้
31. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต
- ก. การศึกษาในระบบ
- ข. การศึกษานอกระบบ
- ค. การศึกษาตามอัธยาศัย
- ง. การศึกษาตลอดชีวิต
เฉลย: ง. การศึกษาตลอดชีวิต
32. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักในข้อใด
- ก. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
- ข. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนเพียงชิ้นเดียวได้อย่างมีความสุข
- ค. ผู้สอนเป็นศูนย์กลางให้ข้อมูลผู้เรียนจัดการเรียนรู้ได้หลากหลาย
- ง. ผู้สอนสามารถใช้สื่อการสอนเพียงชิ้นเดียวจัดการเรียนรู้ได้หลากหลาย
เฉลย: ก. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
33. ข้อใดไม่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน
- ก. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสอนของครูเป็นสำคัญ
- ข. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ค. การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องต่อการพัฒนาการทางสมอง
- ง. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นด้านจริยธรรม คุณธรรม
เฉลย: ก. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสอนของครูเป็นสำคัญ
34. เหตุใดครูต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ก. เพื่อความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ของครู
- ข. เพื่อตัดเกรด
- ค. เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
- ง. เพื่อการตัดสินผลการเรียน
เฉลย: ค. เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
35. ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ตรงกับข้อใด
- ก. การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบทเรียน
- ข. การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแบบฝึกหัด
- ค. การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้เรียนด้วยกัน
- ง. การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
เฉลย: ง. การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
36. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยการผสมผสานหลักสูตรความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันมีความหมายตรงกับข้อใด
- ก. กระบวนการเรียนรู้แบบรวมมิตร
- ข. กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
- ค. กระบวนการเรียนรู้แบบคู่ขนาน
- ง. กระบวนการเรียนรู้แบบสอดแทรก
เฉลย: ข. กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
37. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของการบูรณาการ
- ก. บูรณาการแบบสอดแทรก
- ข. บูรณาการแบบคู่ขนาน
- ค. บูรณาการแบบสหวิทยาการ
- ง. บูรณาการแบบเดี่ยว
เฉลย: ง. บูรณาการแบบเดี่ยว
38. ครูวิชาภาษาไทยสอนเรื่องการเขียนเรียงความ ครูวิชาคอมพิวเตอร์สอนเรื่องการพิมพ์เอกสาร ครูทั้งสองท่านสามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในแบบใดให้ผู้เรียนได้
- ก. บูรณาการแบบสอดแทรก
- ข. บูรณาการแบบคู่ขนาน
- ค. บูรณาการแบบสหวิทยาการ
- ง. บูรณาการแบบเดี่ยว
เฉลย: ข. บูรณาการแบบคู่ขนาน
39. ครูวิชาสังคมสอนเรื่องธรรมชาติ ครูวิชาภาษาไทยสอนเรื่องคำศัพท์ธรรมชาติ ครูวิชาคอมพิวเตอร์นำคลิปวีดีโอวิธีการรักษาธรรมชาติมาให้นักเรียนดู ครูทั้งสามท่านสามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในแบบใดให้ผู้เรียนได้
- ก. บูรณาการแบบสอดแทรก
- ข. บูรณาการแบบคู่ขนาน
- ค. บูรณาการแบบสหวิทยาการ
- ง. บูรณาการแบบเดี่ยว
เฉลย: ค. บูรณาการแบบสหวิทยาการ
40. ผู้ที่คิดค้นวิธีสอนแบบแก้ปัญหาคือ
- ก. จอห์น ดิวอี้
- ข. รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี
- ค. ซิกมันด์ ฟรอยด์
- ง. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
เฉลย: ก. จอห์น ดิวอี้
41. Learning by Doing เป็นวาทะของนักจิตวิทยาคนใด
- ก. จอห์น ดิวอี้
- ข. รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี
- ค. ซิกมันด์ ฟรอยด์
- ง. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
เฉลย: ก. จอห์น ดิวอี้
42. ผู้ที่คิดค้นวิธีสอนแบบ CIPPA Model คือใคร
- ก. จอห์น ดิวอี้
- ข. รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี
- ค. ซิกมันด์ ฟรอยด์
- ง. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
เฉลย: ข. รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี
43. วิธีสอนแบบ CIPPA Model อักษร C หมายถึงข้อใด
- ก. C = ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ข. C = ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
- ค. C = ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
- ง. C = ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในกิจกรรม
เฉลย: ข. C = ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
44. ข้อใดไม่ใช่การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์
- ก. การเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมุติ
- ข. การเรียนรู้แบบแสดงละคร
- ค. การเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง
- ง. การเรียนรู้แบบใช้ครูเป็นฐาน
เฉลย: ง. การเรียนรู้แบบใช้ครูเป็นฐาน
45. ครูสมพงษ์ให้นักเรียนชั้น ป.6 เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อฝึกการแก้ปัญหาและตัดสินใจตามสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ครูสมพงษ์ได้จัดการเรียนรู้แบบใด
- ก. การเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมุติ
- ข. การเรียนรู้แบบแสดงละคร
- ค. การเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง
- ง. การเรียนรู้แบบใช้เกม
เฉลย: ค. การเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง
46. ข้อใดไม่เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี
- ก. ศูนย์การเรียน
- ข. ชุดการสอน
- ค. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- ง. E-Commerce
เฉลย: ง. E-Commerce
47. ครูสมหญิงใช้สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Instruction) จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ครูสมหญิงได้จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีแบบใด
- ก. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- ข. E-Learning
- ค. ศูนย์การเรียน
- ง. ชุดการสอน
เฉลย: ก. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
48. ผู้ใดที่คิดค้นวิธีสอนแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats)
- ก. จอห์น ดิวอี้
- ข. รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี
- ค. ซิกมันด์ ฟรอยด์
- ง. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
เฉลย: ง. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
49. หมวกสีใดไม่อยู่ในวิธีสอนแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats)
- ก. หมวกสีชมพู
- ข. หมวกสีขาว
- ค. หมวกสีแดง
- ง. หมวกสีเขียว
เฉลย: ก. หมวกสีชมพู
50. ครูธวัชชัยจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์โดยตรง ได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทำการทดลองและพิสูจน์ ฝึกคิดวิเคราะห์เป็นผู้นำผู้ตาม ครูธวัชชัยได้จัดการเรียนรู้แบบใด
- ก. จัดการเรียนรู้แบบครูเป็นฐาน
- ข. จัดการเรียนรู้แบบเทคโนโลยี
- ค. จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
- ง. จัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญา
เฉลย: ค. จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
สรุป
- ข้อสอบ 1 – 50 ครอบคลุมหัวข้อสำคัญของ แนวคิดการเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น CIPPA Model, Six Thinking Hats และ Learning by Doing
- เน้น การเรียนรู้แบบประสบการณ์, การใช้เทคโนโลยี และแนวคิดทางจิตวิทยาในการสอน
- เหมาะสำหรับการเตรียมสอบ ครูผู้ช่วย ปี 2568