การปฏิรูปการศึกษาไทยตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และร่างกาย เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างมั่นคง ปรัชญาการศึกษาที่สำคัญ อาทิ สารัตถนิยม นิรันตรนิยม พิพัฒนาการนิยม ปฏิรูปนิยม และอัตถิภาวนิยม ต่างก็มีจุดเน้นและเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่ล้วนมุ่งหวังให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ปรัชญาการศึกษาแนวพุทธก็เป็นอีกแนวคิดที่เน้นการพัฒนาปัญญาและความสุขในการดำเนินชีวิต สอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาไทย
ศัพท์คำว่า ปรัชญา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Philosophy ผู้นำมาใช้คือ ไพทากอรัส เป็นผู้เริ่มใช้คำนี้เป็นคำแรกมาจากภาษากรีก ว่า Philosophia ซึ่งประกอบมาจากคำศัพท์ว่า
Philos ( loving or dear ) แปลว่า ความรัก, ความเลื่อมใส, ความสนใจ
Sophia ( wisdom or knowledge) แปลว่า ปัญญา, ความรู้, วิชาการ
รวมความทั้ง 2 คำแล้ว ได้ความหมายว่า ความรักในปัญญา, ความรักในความรู้, ความรักในวิชาการ
ประโยชน์ของปรัชญาการศึกษา
1. เป็นแกนกลางในการจัดดำเนินการศึกษา
2. กำหนดบทบาทหน้าที่ของสังคม
3. กำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
4. ชี้ให้เห็นแนวโน้มระบบการศึกษา
5. เป็นดรรชนีชี้ให้เห็นความสำเร็จและล้มเหลวการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาสาขาต่างๆ
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) เน้นครู
1. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perenialism) เน้นครู
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivesm) เน้นผู้เรียน