วันนี้ครูเชียงราย ขอนำเรื่องราวของสิทธิข้าราชการ มีอะไรบ้าง 2567 ที่บางครั้งครูเราบรรจุใหม่ หรือเพิ่งเข้ารับราชการครั้งแรก หรือแม้กระทั่งเป็นข้าราชการอยู่พักใหญ่แล้ว แต่ก็ยังอาจไม่แน่ใจว่าสิทธิประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับมีอะไรบ้าง ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสิทธิ์ข้าราชการที่ควรรู้ไว้อย่างละเอียด เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วน
1. สิทธิการลา
สิทธิการลาของข้าราชการมีทั้งหมด 11 ประเภท ได้แก่
- ลาป่วย ไม่เกิน 60 วัน/ปี (กรณีลาติดต่อเกิน 30 วันต้องมีใบรับรองแพทย์)
- ลาคลอดบุตร 90 วัน
- ลากิจส่วนตัว ไม่เกิน 45 วัน/ปี
- ลาพักผ่อน 10 วัน/ปี สะสมได้ไม่เกิน 20 วัน
- ลาไปช่วยภริยาคลอดบุตร ครั้งนึงไม่เกิน 15 วัน ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่คลอดบุตร
- ลาอุปสมบท ไม่เกิน 120 วัน
- ลาไปศึกษาต่อ วิจัย หรือดูงาน ได้รับเงินเดือนระหว่างการลาไม่เกิน 4 ปี ลาได้ทั้งหมดไม่เกิน 6 ปี
- ลาติดตามคู่สมรส ไม่เกิน 2 ปี
- ลาเพื่อรับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
2. สิทธิค่ารักษาพยาบาล
ข้าราชการสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้สำหรับ – ตนเอง – บิดาและมารดา – คู่สมรส – บุตรของตนเอง ไม่เกิน 3 คน ค่ารักษาพยาบาลที่สามารถเบิกได้ ได้แก่ ค่ายา ค่าเลือด ค่าอวัยวะเทียม ค่าอุปกรณ์ในการบำบัดโรค ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าตรวจสุขภาพประจำปี (ไม่รวมรายการที่ไม่อยู่ในบัญชีของกรมบัญชีกลาง)
3. สิทธิค่าเล่าเรียนของบุตร
ข้าราชการสามารถเบิกค่าเล่าเรียนของบุตรที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี หรือตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับปริญญาตรี
4. เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญ
– เงินบำเหน็จ คือ เงินก้อนที่ได้รับหลังเกษียณ โดยต้องรับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี – บำนาญ คือ เงินเดือนรายเดือนที่ได้รับหลังเกษียณ โดยต้องรับราชการไม่น้อยกว่า 25 ปี
5. สิทธิประโยชน์เกื้อกูล
ข้าราชการยังมีสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นๆ เช่น
– ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
– ค่าเช่าบ้าน
– เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
– รถราชการ
– โทรศัพท์ของทางราชการที่อนุมัติให้ใช้เป็นรายบุคคล
สิทธิเหล่านี้จะช่วยให้ข้าราชการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ข้าราชการทุกคนควรรู้และเข้าใจสิทธิประโยชน์ของตนเองเป็นอย่างดี
ระบบตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล – กรมบัญชีกลาง