สอบ ก.พ. เพื่ออะไร
การสอบ ก.พ. จึงเป็นการสอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่างกัน เพื่อบรรจุเข้ารับราชการทำงานในอาชีพราชการ โดยให้คนเข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ การสอบ ก.พ. จึงเปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ที่ต้องการทำงานราชการกับหน่วยงานราชการที่ขาดแคลนคนนั่นเอง
ข้อสอบ ก.พ. ย่อมาจากอะไร
คำว่า ก.พ. ย่อมาจาก คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “สอบ ก.พ.” อยู่บ่อยๆ ซึ่งเป็นรูปแบบในการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการของไทยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องสอบวิชาต่อไปนี้
สอบ ก.พ. คืออะไร?
1. วิชาความรู้สามารถทั่วไป ซึ่งจะประกอบไปด้วยคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาไทย
- มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
- เกณฑ์ผ่าน: สำหรับ ปวช. ปวท. ปวส. และปริญญาตรี ต้องผ่าน 60%
- สำหรับปริญญาโท ต้องผ่าน 65%
วิชานี้จะแบ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่วัดเรื่องการคำนวณพื้นฐานรวมทั้งความเข้าใจด้านตรรกศาสตร์ เงื่อนไขสัญลักษณ์ และเงื่อนไขทางภาษาด้วย ส่วนภาษาไทยนั้นจะเน้นเป็นด้านความเข้าใจเนื้อความ การสรุปใจความ รวมถึงอุปมาอุปไมยด้วย
2. วิชาภาษาอังกฤษ
- คะแนนเต็ม 50 คะแนน
- มีการแยกระดับการสอบเป็น ปวช. ปวท. ปวส. และปริญญาตรีปริญญาโท
- ต้องผ่าน 50% ขึ้นไป
- ปี 2563 จะเป็นปีสุดท้ายที่สามารถใช้คะแนนภาษาอังกฤษอื่นๆ ยื่นแทนได้
เนื้อหาที่ออกสอบ จะเน้นไปที่การใช้ภาษาอังกฤษทั่วไป บวกกับคำศัพท์ และไวยากรณ์เล็กน้อย
3. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นการข้าราชการที่ดี
- รู้จักกันในชื่อวิชากฎหมาย
- คะแนนเต็ม 50 คะแนน
- ต้องผ่าน 60% ขึ้นไป
เนื้อหาจาก พรบ. พรก. ต่างๆ สำหรับการเป็นข้าราชการที่ดี
การสอบ ก.พ. ภาค ข.
สำหรับการสอบ “ภาค ข.” หรือ “ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง” จะเป็นการสอบข้อเขียนทั้งแบบปรนัยหรืออัตนัย หรือสอบสัมภาษณ์ หรือทดสอบทักษะทางคอมพิวเตอร์ หรือทดสอบสมรรถนะร่างกาย ขึ้นอยู่กับความต้องการของส่วนราชการ
การสอบ ก.พ. ภาค ค.
การสอบ “ภาค ค.” หรือ “ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง” ส่วนใหญ่จะเป็นการสัมภาษณ์ ซึ่งทั้ง ภาค ข. และภาค ค สำนักงาน ก.พ. ให้ส่วนราชการจัดสอบเอง