ตำแหน่งข้าราชการครู เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง ของครูไทย
พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
มาตรา 3 อัตราเงินดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีใบอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งบัญชีอัตราเงินวิทยฐานะของข้าราชการครู มีดังนี้
วิทยฐานะ อัตรา (บาท/เดือน)
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ 13,000
ครูเชี่ยวชาญ 9,900
ครูชำนาญการพิเศษ 5,600
ครูชำนาญการ 3,500
ตำแหน่งข้าราชการครู
ความหมาย
– ครูผู้ช่วย หมายถึง ข้าราชการครูที่อยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติราชการ
– ครู หมายถึง ข้าราชการครู คศ.1 และ ครู คศ.2 ที่ยังไม่ได้รับการประเมินวิทยฐานะ
– ครูชำนาญการ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ.2
– ครูชำนาญการพิเศษ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ.3
– ครูเชี่ยวชาญ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ.4
– ครูเชี่ยวชาญพิเศษ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ. 5
– ครูอัตราจ้างชั่วคราว หมายถึง ครูที่จ้างชั่วคราวด้วยงบประมาณในโครงการต่าง ๆ จากส่วนราชการที่
มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครู โดยที่มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้ ก.ค.ศ. จัดทำมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูไว้เป็นบรรทัด ฐานทุกตำแหน่ง ทุกวิทยฐานะ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ก.ค.ศ. จึงได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา 42 โดยใน การจัดทำมาตรฐานตำแหน่ง ก.ค.ศ. ได้จำแนกตำแหน่งข้าราชการครู ตามมาตรา 38 ออกเป็น 3 ประเภท 4 สายงาน ตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทและสายงานที่มีลักษณะงาน อย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันให้อยู่ในตำแหน่งประเภทหรือสายงานเดียวกัน รวมทั้งได้จัดทำ มาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครู ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ในมาตรา 39 ดังนี้ (สุวิทย์ มูลคำ, 2549, หน้า1-7)
อ้างอิง (สุวิทย์ มูลคำ, 2549, หน้า1-7)