ลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้สินครู
https://td.moe.go.th/app/main/index.php
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู”สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”
กระทรวงศึกษาธิการและสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบ จำนวน 12 แห่ง ร่วมกันพัฒนาระบบบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับพื้นที่นำร่อง โดยมีเป้าหมายหลักดังนี้
1) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้ต่ำลงไม่เกิน 3%
1.1) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 เดือนของธนาคารพาณิชย์ ณ ปัจจุบัน เฉลี่ย 0.45 – 1.30%
1.2) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์อยู่ในระดับ 3.5 – 4.5% ถือว่าสูงผิดปกติ จำเป็นต้องกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ต่ำลงเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อเงินกู้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 0.5% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงเป็นต้นทุนส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่สูง สร้างภาระให้ “ครูผู้กู้” และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ที่มีความแตกต่างจากในระบบมาก สร้างความเสี่ยงที่จะทำให้มี “สมาชิกแฝง” เพราะ search for yield ปัจจุบันบางสหกรณ์จำกัดวงเงินที่สมาชิกแต่ละคนจะฝากได้
2) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ 4.5 – 5.0%
2.1) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ โดยเฉลี่ย 6 – 9%
2.2) อัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงิน โดยเฉลี่ย 4 – 11%
2.3) สินเชื่อที่มีการหักชำระหนี้จากเงินเดือนของข้าราชการ ถือเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ (default risk) ต่ำมาก และเป็นสินเชื่อที่หน่วยงานต้นสังกัดทำหน้าที่จัดเก็บและนำส่งให้ (collection) ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับสินเชื่อที่มีการหักเงินเดือนของข้าราชการครู จำเป็นต้องอยู่ในระดับต่ำไม่เกินกว่า 4.5% ต่อปีสำหรับสินเชื่อทั่วไป และไม่เกินกว่า 3.5% ต่อปีสำหรับสินเชื่อบ้าน
2.4) การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1% กรณีเงินกู้ 1 ล้านบาท ลดดอกเบี้ยได้ปีละ 10,000 บาท ถ้าเงินกู้ 3 ล้านบาท ลดดอกเบี้ยได้ปีละ 30,000 บาท ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้เดือนละ 2,500 บาท
3) จัดสรรผลกำไรมาเพิ่มเงินเฉลี่ยคืนเงินกู้ให้มากขึ้น ไม่น้อยกว่า 30% ของผลกำไร
3.1) การจัดสรรผลกำไรมาเพิ่มเงินเฉลี่ยคืนเงินกู้ให้มากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น เช่น ลดเงินปันผลหุ้น งบบริหารจัดการ เงินโบนัสและค่าตอบแทนกรรมการ สวัสดิการที่ไม่จำเป็น และงบลงทุน
3.2) ดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยคืน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
3.3) สมาชิกสามารถนำเงินเฉลี่ยคืนเงินกู้มายุบยอดหนี้ให้ลด
4) การบริหารความเสี่ยง การสร้างหลักประกันเงินกู้ การปรับลดบุคคลค้ำประกัน และปรับลดการซื้อประกันในส่วนที่ไม่จำเป็นลง
การบริหารความเสี่ยงของสินเชื่อสำหรับสินเชื่อที่ตัดเงินเดือนข้าราชการต้องไม่สร้างภาระให้กับข้าราชการมากเกินความเสี่ยงที่แท้จริง โดยผู้ให้บริการจำเป็นต้องคำนึงถึงภาระที่ครูจะต้องจ่ายเพิ่มเติมให้เป็นไปอย่างเหมาะสม กระทรวงศึกษาธิการสามารถต่อรองให้เบี้ยประกันภัยถูกลง เช่น การจัดสวัสดิการจัดทำประกันชีวิตหมู่ ล้านละ 2,400 บาท/ปี ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ อนึ่ง เมื่อความเสี่ยงที่กล่าวมา ถูก cover หมดแล้ว ผู้ให้บริการไม่สามารถที่จะเรียกให้มีการค้ำประกันโดยบุคคลเพิ่มเติม
5) การปรับโครงสร้างหนี้
5.1) แก้ไขระเบียบและมติที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5.2) การชะลอฟ้อง การชะลอบังคับคดี และไกล่เกลี่ย
5.3) รวมหนี้จากทุกสถาบันการเงินมาไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาในอัตราร้อยละ 2.5%
5.4) การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ให้แก่สมาชิกที่เตรียมเกษียณอายุราชการ
5.5) กลุ่มที่ผิดนัดชำระหนี้ดำเนินการปรับยอดการชำระขั้นต่ำมากกว่า 1% ต่อปีของยอดกู้ขึ้นไป โดยให้ชำระภายใน 240 งวด ทั้งนี้ให้ตัดจ่ายเงินต้นก่อน
5.6) ปรับลดการส่งค่าหุ้นรายเดือน
6) จัดทำฐานข้อมูลสมาชิกและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับสถาบันการเงิน และต้นสังกัด
6.1) การจัดทำฐานข้อมูลหนี้สมาชิกของสหกรณ์
6.2) เชื่อมโยงฐานข้อมูลกับสถาบันการเงิน หรือเป็นสมาชิกของเครดิตบูโร
6.3) เชื่อมโยงฐานข้อมูลกับส่วนราชการต้นสังกัด
7) ร่วมกับส่วนราชการต้นสังกัดหัก ณ ที่จ่าย ควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ ให้มีเงินเดือนเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
7.1) การควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ จะต้องมีเงินเดือนสุทธิหลังจากหักชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 30
7.2) การประสานงานกับส่วนราชการต้นสังกัดหัก ณ ที่จ่าย ด้านข้อมูลและหลักฐานประกอบการพิจารณาหัก ณ ที่จ่าย จะต้องมีเงินเดือนสุทธิหลังจากหักชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 30
8) สร้างระบบพัฒนาและดูแลสมาชิก ให้ความรู้เสริมสร้างวินัยและการวางแผนทางด้านการเงิน การสร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เพิ่มการออม และไม่ก่อหนี้เพิ่ม
8.1) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความรู้ด้านการเงินจัดทำหลักสูตรพัฒนาข้าราชการครู เพื่อให้มีความรู้ทางด้านการวางแผนทางการเงิน การบริหารจัดการ และการสร้างวินัยทางการเงินและการออม จัดอบรมแบบออนไลน์
8.2) สร้างอาชีพเสริม สร้างรายได้เพิ่ม
8.3) กระทรวงศึกษาธิการกำหนดแนวปฏิบัติให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 อย่างเคร่งครัด
อ้างอิง
https://sites.google.com/view/teachersdebt
https://td.moe.go.th/app/main/index.php
เรื่องล่าสุด
- แนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ และจิตวิทยาที่สำคัญต่อครู
- สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ / CGD iHealthCare (Mobile App.)
- เงินเดือน ครูผู้ช่วย 2566 และคุณสมบัติผู้สอบแข่งขันได้
- ประกาศรายชื่อสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษฯ สังกัด สพฐ. 2566
- การขึ้นบัญชี ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. 2566 สพม.เชียงราย
สมาชิกแสดงความคิดเห็น
ขอบคุณผู้จัดทำโปรแกร…
ขอของ ป.2 วิเคราะห์ห…
เฉลยไม่ถูกอยู่หลายข้…
กลุ่มเรื่องฮิตที่น่าสนใจ
cover excel PA powerpoint SAR ก.พ. กพ ข้อสอบ ข้อสอบคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ครูผู้ช่วย คอมพิวเตอร์ จรรยาบรรณ ดาวน์โหลด ปก ย้าย ว21 วิจัย วิจัยในชั้นเรียน วิชาชีพครู วิทยฐานะ สอบครู สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบ แผนการสอน
ดำรงตำแหน่งครู ค.ศ.1…