บทสวดไหว้ครู
(ผู้นำสวด) ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา…..
(สวดทำนองสรภัญญะสวดพร้อมกัน)
ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพาคณาจารย์
ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสาเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทยเทอญฯ
(ผู้นำสวด) ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง
ความหมายบทสวดไหว้ครู ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา
ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา แปลว่า ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้พร่าสอนศิลปวิทยากร
ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทาให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครู อาจารย์เหล่านั้น ด้วยความเคารพ
เพลงพระคุณที่สาม
ครูบาอาจารย์ ที่ท่านประทานความรู้มาให้
อบรมจิตใจ ให้รู้ผิดชอบ ชั่วดี
ก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกที
ขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น
ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูลเอาไว้เหนือเกล้า
ท่านสั่งสอนเรา อบรมให้เราไม่เว้น
ท่านอุทิศ ไม่คิดถึงความยากเย็น
สอนให้รู้จัดเจน เฝ้าแนะ เฝ้าเน้น มิได้อาพราง
* พระคุณที่สาม งดงามแจ่มใส
แต่ว่าใครหนอใคร เปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง
ถ้าหากจะคิด ยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง
มีใครไหนบ้างแนะนาแนวทางอย่างครู
บุญเคยทามาตั้งแต่ปางใด เรายกให้ท่าน
ตั้งใจกราบกราน เคารพคุณท่าน กตัญญู
โรคและภัย อย่ามาแผ้วพานคุณครู
ขอกุศลผลบุญค้าชู ให้ครูมีสุขชั่วนิรันดร…
ร้องซ้า * ให้ครูมีสุขชั่วนิรันดร…
การไหว้ครู คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือเป็นครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่าท่านเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการจึงพร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ มานะ อดทน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางของการศึกษาตามที่ตั้งใจไว้ (สุมิตร เทพวงษ์, 2548 : 2) จากความหมายดังกล่าว การไหว้ครู จึงเป็นเสมือนการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณ ต่อครูผู้มีพระคุณ ซึ่งในวัฒนธรรมไทยได้ให้ความสา คัญกับคุณธรรมข้อนี้เป็นอย่างสูงเนื่องจากเป็นการแสดงถึงการรู้จักบุญคุณของผู้ให้ความรู้ และผู้ที่รู้จักการตอบแทนบุญคุณนั้นจะเป็นผู้ที่เจริญรุ่งเรืองในชีวิต หากเปรียบเสมือนการอ้างอิงทางวิชาการ การไหว้ครูจึงเป็นเสมือนการอ้างอิงถึงบุคคลที่เราได้รับความรู้มาเพื่อแสดงถึงความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนไทยได้ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นเวลาช้านาน