มารู้จัก กรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อการศึกษากัน
ความหมายของ กรอบแนวคิดในการวิจัย และวิธีการเขียนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
กรอบแนวคิดการวิจัย คือ กรอบของการวิจัยที่เป็นผลสรุปจากการศึกษาและทดลองทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งผู้เสนอจะสรุปเป้นแนวคิดของตำเองสำหรับการดำเนินการวิจัยของตน ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยข้องกับปัญหา และมีมโนภาพ (Concept) ในเรื่องเหล่านั้น เพื่อนำมาประมวลเป็นกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนาการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
สำหรับการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กรอบแนวคิดในการวิจัยจะกำหนดขอบเขตทางด้านเนื้อหาสาระของการวิจัยโดยการระบุดเฉพาะตัวแปรว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่จะนำมาศึกษาภายใต้แบบจำลองทางความคิดของการวิจัยดังกล่าว ส่วนการวิจัยประเภทอธิบาย (Explanatory research) กรอบแนวคิดของการวิจัยจะมีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เข้าด้วยกันภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าวเพื่อประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัย ว่างานวิจัยที่กำลังทำนี้ มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกัน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้ศึกษาเป็นอย่างไร
มารู้จัก กรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อการศึกษากันมารู้จัก กรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อการศึกษากันกรอ
การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ชัดเจน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยและผู้ที่อ่านงานวิจัย ดังนี้
1. สร้างความชัดเจนในงานวิจัยว่าจะสามารถตอบคำถามที่ศึกษาได้
2. สามารถเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดกรอบทิศทางการทำวิจัยได้เหมาะสม ถูกต้อง โดยเฉพาะวิเคราะห์ข้อมูล
3. เป็นแนวทางในการกำหนดความหมายตัวแปร การสร้างเครื่องมือ และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย
4. เป็นตัวชี้นำทำให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจว่างานวิจัยเป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. สามารถเข้าใจแนวคิดสำคัญที่แสดงถึงแก่นของปัญหาการศึกษาในระยะเวลาอันสั้น
แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย
1. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้วิจัยควรอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาผลการวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำลังศึกษาอยู่ ทั้งนี้ เพราะไม่เพียงแต่จะได้ตัวแปรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการกำหนดกรอบเท่านั้น แต่จะเข้าใจถึงแนวคิด ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับปรากฏการที่ศึกษาอย่างมีเนื้อหาสาระ หรือได้รับทราบถึงคำอธิบายหรือข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้มีการสรุปไว้แล้วจากการวิจัยที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มความหนักแน่นในเชิงทฤษฎี ทำให้กรอบแนวคิดในการวิจัยมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเหตุผล
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ผู้วิจัยควรได้ทำการศึกษาทฤษฎีหรือแนวคิดที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังศึกษา แม้จะไม่ได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่ก็จะทำให้มองเห็นภาพรวมของความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น หรืออาจทราบว่าตัวแปรบางตัวอาจไม่เกี่ยวข้องและควรตัดทิ้ง หรืออาจไม่เกี่ยวข้องแต่ก็ไม่ควรตัดทิ้ง เพราะสามารถนำมาศึกษาเพื่อยืนยันได้ว่ามีความสำคัญหรือไม่กับสิ่งที่เรากำลังศึกษาอยู่
3. กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเอง
นอกจากการศึกษาผลงานวิจัยและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว กรอบแนวคิดยังจะได้มาจากความคิดและประสบการณ์การทำงานของผู้วิจัยเองอีกด้วย