แนวทางการสาธิตการสอน สอบครูผู้ช่วย ภาค ค แนวทางการสาธิตการสอน สอบครูผู้ช่วย ภาค ค

แนวทางการสาธิตการสอน สอบครูผู้ช่วย ภาค ค

การแข่งขันคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ. 2564 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในภาค ค คือสอบสัมภาษณ์ และการสาธิตการสอน ซึ่งผู้ที่ผ่านในภาค ก และ ข ได้นำอุปกรณ์การเรียนการสอน มาสาธิตการสอนให้แก่คณะกรรมการได้ดู จากหลากหลายวิธีการสอน ซึ่งต่างก็นำกลยุทธมาดึงความสนใจแก่นักเรียน ให้เข้าใจในบทเรียนที่สอน นับเป็นการสาธิตการสอนในมิติใหม่ ตั้งแต่มีการสอบครูผู้ช่วย อาทิ ผู้สอบสอนวิชาเอกประถมศึกษา ก็จะนำกิจกรรม ครูแต่งตัวเป็นนางงาม ดึงให้เด็ก ๆ สนใจในการเรียนมากขึ้น ผู้สอบสอนวิชาเอกชีววิทยา ก็นำสื่ออุปกรณ์พวกใบไม้ ต้นไม้ ขนมาสาธิตให้ชม เป็นต้น พร้อมมีการบันทึกการสาธิตการสอนของในแต่ละคน เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน โดยใช้เวลา 45 นาที ต่อคน

วิธีสอนการสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)

วิธีสอนการสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)

ความหมายของการสาธิต

การสาธิต หมายถึง การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือการแสดง หรือการกระทำสิ่งต่างๆให้ผู้เรียนดู

วิธีการสอนแบบสาธิต  หมายถึง  วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำหรือการแสดง

แนวทางในการสาธิตการสอน สอบครูผู้ช่วย ภาค ค

  1. การสาธิตแบบบอกความรู้  เป็นการสาธิตที่แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนการสาธิตว่าจะทำอะไร อย่างไรและจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วให้ผู้เรียนสังเกตการณ์สาธิต  พร้อมอธิบายตามไปด้วย
  2. การสาธิตแบบค้นพบความรู้ เป็นการสาธิตที่ผู้สาธิตหรือครูตั้งคำถามให้ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจแล้วจึงให้ผู้เรียนคอยสังเกตจาการสาธิตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อย่างไร

ประเภทของการสาธิต

ซันด์และโทรบริดจ์ (Sund  and Throwbridge  1973 : 117-118) ได้แบ่งการสาธิตออกเป็น  6 ประเภทดังนี้

  1. ครูแสองการสาธิตคนเดียว
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันสาธิต
  3. กลุ่มนักเรียนเป็นผู้สาธิต
  4. นักเรียนคนเดียวเป็นผู้สาธิต
  5. วิทยากรเป็นผู้สาธิต
  6. การสาธิตเงียบ

เทคนิคการสาธิต

การสาธิตในเรื่องที่แปลกใหม่ น่าสนใจ จะเน้นให้นักเรียนเห็นกระบวนการอย่างชัดเจน โดยมีส่วนร่วมในการสาธิต ตั้งคำถาม ซึ่งช่วยในการสอนแบบสาธิตได้ผลดียิ่งขึ้นเทคนิคการสาธิตมีดังนี้

  1. เลือกสาธิตเรื่องที่สนใจและเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับนักเรียน
  2. ไม่ควรบอกผลการสาธิตให้นักเรียนทราบล่วงหน้า
  3. พยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสังเกตซักถามและตอบคำถาม
  4. ในระหว่างสาธิต ไม่ควรบรรยายมากเกินไป
  5. ไม่ควรเร่งการสาธิต อาจทำให้นักเรียนตามไม่ทัน และไม่เข้าใจ
  6. ควรให้เด็กทุกคนมองเห็นได้ทั่วถึง และครูควรเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคน
  7. การสรุปผล ควรให้นักเรียนเป็นผู้สรุป
  8. ต้องประเมินผลการสาธิตทุกครั้งว่าเด็กเข้าใจหรือไม่

จุดประสงค์ของวิธีการสอนแบบสาธิต

  1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนมีความสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
  2. เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาที่ยาก
  3. เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตและการสรุปทำความเข้าใจ
  4. เพื่อแสดงวิธีการหรือกลวิธีในการปฏิบัติงาน
  5. เพื่อสรุปประเมินผลความเข้าใจฝนบทเรียน และทบทวนบทเรียน

ขั้นตอนการสอนแบบสาธิต

วิธีการสอนแบบสาธิตมีขั้นตอนการสอนดั้งนี้

1.ขั้นเตรียมการสาธิต เป็นขั้นตอนการทำการสาธิต ซึ่งครูควรเตรียมตัวดังนี้

1.1 ศึกษาบทเรียนที่จะสาธิตให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
1.2 เตรียมอุปกรณ์ที่จะสาธิตให้พร้อม
1.3 ทดลองการสาธิตดูก่อน
1.4 จัดชั้นเรียนให้เหมาะสมกับการสาธิตบทเรียน
1.5 เขียนแผนภูมิแสดงขั้นตอนของการสาธิตไว้

2.ขั้นสาธิต เมื่อครูเข้าสู่ชั้นเรียนแล้ว จึงดำเนินการสอนตามลำดับดังนี้

2.1 เร้าความสนใจของนักเรียน
2.2 ทำการสาธิตให้นักเรียนดู โดยยึดหลักในการสาธิตดังนี้
2.2.1 สาธิตตามลำดับขั้น
2.2.2 สาธิตช้าๆพร้อมกับบรรยายเพื่อให้นักเรียนติดตามทัน
2.2.3 สาธิตเฉพาะเรื่องบทเรียนนั้นๆ
2.2.4 ให้นักเรียนเห็นทั่วถึง  หรืออาจให้นักเรียนออกมาสังเกตสาธิตที่ละกลุ่ม
2.2.5 ครูคอยสังเกตความสนใจและความตั้งใจของนักเรียน
2.2.6 ครูให้นักเรียนมาร่วมทำการสาธิตด้วยได้
2.2.7 เน้นขั้นตอนสำคัญๆของการสาธิตและเขียนสรุปบนกระดานดำ

3.ขั้นสรุปและวัดผล

3.1 ให้นักเรียนร่วมกันเล่าสรุปเป็นตอนๆ
3.2. ให้นักเรียนทุกคนเขียนข้อสรุปส่งครูเพื่อให้คะแนน
3.3 ให้นักเรียนสาธิต เพื่อสังเกตดูว่านักเรียนทำได้และเข้าใจหรือยัง
3.4 ทดสอบ

ข้อดีของการสอนแบบสาธิต

  1. นักเรียนมองเห็นตัวอย่าง แบบอย่าง ขั้นตอน ของการปฏิบัติทำให้เข้าใจลึกซึ้งมีเหตุผล
  2. ประหยัดเวลาของครูและนักเรียน เพราะเห็นตัวอย่างชัดเจน
  3. ประหยัดวัสดุ
  4. การสาธิตให้ดูแล้วปฏิบัติย่อมปลอดภัย

ข้อจำกัด

  1. การควบคุมชั้นเรียนอาจมีปัญหาเรื่องความสงบเรียบร้อยในชั้นเรียน
  2. หากการเตรียมตัวไม่ดีพออาจเกิดอุบัติเหตุหรือผิดพลาด
  3. หากการสาธิตไม่เป็นไปตามขั้นตอนอาจทำให้เสียเวลามาก

ชูศรี  สนิทประชากร.  หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร :ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะวิชาครุศาสตร์

วิทยาลัยครูจันทรเกษม, 2534.

ดวงเดือน   เทศวานิช. หลักการสอนทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนคร,2533.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *