วันอังคาร, 5 ธันวาคม 2566

การเตรียมตัวสอบครูผู้ช่วย เทคนิคการเตรียมตัวสอบครูผู้ช่วย

การเตรียมตัวสอบครูผู้ช่วย เทคนิคการเตรียมตัวสอบครูผู้ช่วย

วิธีการอ่านหนังสืออย่างไรให้จำได้เร็ว มีเอกสารหรือหนังสือสำหรับใช้เตรียมสอบที่มีคุณภาพและจำนวนมาก จะไม่ก่อประโยชน์อะไรในการสอบเลยหากไม่อ่านหนังสือนั้น ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ คือ การอ่าน การเขียน การฟังการพูดหรือการฝึกทำ เพราะคนเราจะจำหรือเข้าใจในเนื้อหาต้องใช้เรียนรู้หลายๆ วิธี เทคนิคการอ่านหนังสือมีดังนี้    

1) ศึกษาหลักสูตรการสอบแข่งขันฯ ให้เข้าใจและจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา หนังสือ และวิธีการศึกษา          

2) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรศึกษาโดยวิธีฝึกทำข้อสอบ ดูเฉลยและทำความเข้าใจ เรื่องไหนที่ยากควรทำจุดสังเกตไว้ในหนังสือหรือบันทึกสรุปวิธีการหรือหลักการหาคำตอบไว้ในสมุดบันทึกใช้ทบทวนในคราวต่อไป         

3) วิชาการศึกษา ควรศึกษาเป็นเรื่องๆ ตามกรอบหลักสูตรสอบฯโดยใช้หนังสือหรือเอกสารหลายๆเล่มประกอบกัน(ไม่ควรอ่านหนังสือที่ละเล่มแต่ควรอ่านที่ละเรื่อง) ทำจุดสังเกต (เน้นความสำคัญ)ไว้ในหนังสือหรือสรุปเนื้อหาไว้ในสมุดบันทึก ใช้ทบทวนในคราวต่อไป          

4) วิชากฎหมายการศึกษา ควรศึกษาเฉพาะกฎหมายที่ระบุในหลักสูตรฯ ในประเด็นสำคัญและเรื่องที่ใช้ในการปฏิบัติงาน บันทึกเรื่องหรือประเด็นสำคัญเอาไว้ทบทวนในคราวต่อไป ควรฝึกทำข้อสอบจะทำให้จดจำได้ (แต่อย่าท่องข้อสอบ)        

5) วิชาเอกหรือวิชาเฉพาะวุฒิ ควรศึกษาในสองลักษณะ คือ ลักษณะการจัดการเรียนการสอนวิชานั้นและเนื้อหาสาระของวิชานั้นๆ ในประเด็นสำคัญ สรุปและบันทึกสาระสำคัญเอาไว้ ฝึกทำข้อสอบวิชานั้นๆ         

6) ควรวางแผนในการศึกษาหรืออ่านหนังสือทั้งในเรื่องสถานที่ เวลา เนื้อหาวิชาตามความถนัดและความสะดวกของตนเอง เช่น สถานที่เหมาะหากเป็นเวลากลางวัน ควรเป็นที่ห้องสมุดสถาบันการศึกษา เพราะเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ไม่ทำให้เสียสมาธิ มีหนังสือให้ค้นคว้า มีบริการอินเตอร์เน็ตหรือสื่ออย่างอื่น เวลาที่เหมาะสำหรับอ่านหนังสือที่บ้านควรจะเป็นตอนเช้าประมาณ 04.00 -06.00นาฬิกา เพราะเป็นเวลาที่สงบเงียบ สมองได้พักผ่อนมาแล้ว ความจดจำและความเข้าใจจะมีสูงการแบ่งเนื้อหาในการศึกษาก็เป็นเรื่องที่สำคัญและคนส่วนมากมักละเลยและให้ความสำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกินไป จนพบปัญหาว่าดูหนังสือไม่ทัน ไม่ครอบคลุมหลักสูตรฯ          

7) นอกจากการศึกษาเอกสารแล้วสื่อเอกสารอย่างอื่นก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การสอบถามหรือปรึกษากับครู อาจารย์ หรือผู้รู้ฯ การเข้ารับการอบรมสัมมนา(ติวสอบฯ) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการสอบเพราะจะได้รู้ความเคลื่อนไหวเทคนิควิธีการต่างๆ หรือการศึกษาโดยสื่อวีดีทัศน์ เทปคำบรรยาย เป็นต้น          

8) การติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากเพราะเนื้อหาเหล่านี้จะกำหนดในหลักสูตรสอบฯ และออกข้อสอบทุกครั้ง เรื่องเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือแน่นอนเพราะเป็นเรื่องใหม่ เหตุการณ์ปัจจุบัน วิธีการศึกษาที่ดีที่สุด คือ ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุหรือตามอินเตอร์เน็ต

หลักสูตรการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยนั้น โดยการสอบครูผู้ช่วยนั้น ก็จะพอสรุปได้ดังนี้ (หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลง)

เรื่องของความรอบรู้ ความสามารถทั่วไปให้ท่านที่เตรียมสอบครู  อ่านศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องของสังคม เศษฐกิจ การเมือง และเหตุการณ์ปัจจุบัน กฏหมายและนโยบายของรัฐบาล วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย และที่ขาดไม่ได้ก็คือกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ยังไม่หมดนะครับ ท่านที่จะสอบครู ต้องไปทำความเข้าใจกับ ตัวเลข ภาษาไทย ด้านเหตุผลต่างๆ ด้วยครับ เรียกว่าความสามารถทั่วไปครับ 

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู ผู้ที่จะสอบครูผู้ช่วยต้องไปศึกษาและอ่านทบทวนทำความเข้าใจในเรื่องของ วินัยและการรักษาวินัย คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ สมรรถนะวิชาชีพ 

ความถนัดและเจตคติต่อวิชาชีพครู ก็จะออกไปทางแนวให้เราวิเคราะห์จำลอง สถานการณ์ขึ้นมาให้เราได้คิดและแก้ปัญหา ในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงเทคนิคต่างๆในการสอน ไหวพริบ และข้อสังเกตต่างๆ ท่านที่จะสอบครูต้องเป็นคนที่มีจิตวิทยาการศึกษา

ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งก็จะเป็น วิชาการศึกษา นั่นเอง ให้ผู้ที่จะสอบครูผู้ช่วยได้ไปศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร หลักการสอน การพัฒนาต่างๆ จิตวิทยาการแนะแนวต่างๆ การพัฒนาผู้เรียน การบริหารจัดการชั้นเรียน สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และการวัดผลประเมินผลการศึกษา

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 1 เฉลี่ย: 5]

สมาชิกแสดงความคิดเห็น