การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
หมวด 9 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
เมื่อข้าราชการผู้ใดถูกลงโทษทางวินัย กฎหมายได้ให้สิทธิข้าราชการผู้นั้นสามารอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้
การอุทธรณ์ หมายถึง การที่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยขอร้องให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้หยิบยกเรื่องของตนขึ้นพิจารณาใหม่ให้เป็นไปในทางที่เป็นคุณแก่ตน
การอุทธรณ์โทษไม่ร้ายแรง และโทษร้ายแรง
การอุทธรณ์ (โทษไม่ร้ายแรง)
โทษภาคทัณฑ์ , ตัดเงินเดือน , ลดขั้นเงินเดือน
– ให้มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
– ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
การอุทธรณ์(โทษร้ายแรง)
โทษปลดออก , ไล่ออก
– ให้มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ.(ผู้มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ อุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. เท่านั้น)
– ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
– ก.ค.ศ. พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
การร้องทุกข์ต้องทำเป็นหนังสือยื่น อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี สามารถทำได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะร้องทุกข์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนไม่ได้
เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจ เนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา หรือการแต่งตั้งคณะกรรการสอบสวนทางวินัย
– ให้มีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
– ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบเรื่อง
เมื่อถูกสั่งออกจากราชการ
– ให้มีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ.
– ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
กรณีได้รับการวินิจฉัย
กรณีได้รับการวินิจฉัยร้องทุกข์ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (ไม่ใช่สั่งให้ออกจากราชการ)
– เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ. – มติ ก.ค.ศ. เป็นที่สิ้นสุด
กรณีได้วินิจฉัยอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ (กรณีสั่งให้ออกจากราชการ)
– เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมให้ผู้นั้นย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครอง
– การพิจารณาคดีศาลปกครอง ถือเป็นที่สิ้นสุด