มารู้จักการทำ PA กันดีกว่า
ช่วงนี้ใครหลายคนคงปวดหัวกับการทำ PA หรือที่เรียกเต็มๆว่า Performance Agreement ภาษาที่เข้าใจง่ายก็คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน(ไม่แน่ใจว่าจะง่ายหรือจะงง) หลายคนอาจไม่เข้าใจในวิธีการและขั้นตอนการทำ เลยขอเอาข้อสรุปเล็กๆน้อยมาให้อ่านเล่นๆเผื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และขอหยิบยกบางตอนมาจาก อาจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการทำ PA ต่อไปเผื่อการทำ PA จะเป็นเรื่องกล้วยๆ ที่ถึงเวลาก็ทำได้แบบไม่ต้องกลุ้มนั่งคิ้วขมวดอีกต่อไปและสามารถทำได้ด้วยความเข้าใจใน Concept ของ PA ค่ะ
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจใน PA กันก่อนค่ะว่าคืออะไร Performance Agreement ก็คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งตรงสู่การบรรลุซึ่ง วิสัยทัศน์และพันธกิจ หรือความสำเร็จขององค์กร มีการทำข้อตกลงล่วงหน้าถึงกิจกรรม ตัวชี้วัดที่จะประเมิน ตลอดจนเกณฑ์ผ่าน โดยผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินสามารถร่วมกันกำหนด และข้อตกลงต่างๆ ต้องสอดคล้องกับคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ของตำแหน่งงานนั้น และ สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน/องค์กร
ขั้นตอนการทำ Performance Agreement
• ผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมินทำข้อตกลงประเมินผลการปฏิบัติงานตั้งแต่ก่อนเริ่มรอบการประเมิน
• เมื่อผ่านพ้นระยะการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินและ ผู้ถูกประเมิน ร่วมรับรู้ผลการประเมินพร้อมกัน รวมทั้งร่วมกัน วางแผนการพัฒนา/ฝึกอบรมผู้ถูกประเมินเมื่อมีข้อควรพัฒนา
• ผู้ประเมินกำหนดข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติงานรอบต่อไปกับผู้ถูกประเมิน โดยควรครอบคลุมจุดที่ควรพัฒนา
ประโยชน์การทำPerformance Agreement
ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถทบทวนลักษณะการปฏิบัติงาน ของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งการจัดสรรปันส่วนงาน เพื่อให้การ ปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งหน่วยงานสอดคล้องกับพันธกิจของ หน่วยงาน/องค์กร
• การทำข้อตกลงการประเมินผลก่อนการประเมินผลจริง โดย ข้อตกลงเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน รวมทั้ง ข้อตกลงเป็นที่รับรู้ของบุคลากรในหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดการ ยอมรับและสร้างความยุติธรรมในหน่วยงาน ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถใช้การทำข้อตกลงการ ประเมินผลในการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการสรรสร้าง งานใหม่ หรือคุณภาพงานที่เพิ่มขึ้นในหน่วยงาน
• ในกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงาน 2 หน้าที่ (Dual Position) การทำข้อตกลงการประเมินผลจะทำให้สามารถแบ่งเวลาการ ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงาน รวมทั้งมีความแม่นยำมากขึ้นใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ประโยชน์ทางอ้อมก็คือ เป็นการสร้างโอกาสการสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ที่สำคัญการประเมินหัวหน้างานระดับต่างๆ ในด้านคุณสมบัติภาวะผู้นำ (Leadership)เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำข้อตกลงกับ ผู้ใต้บังคับบัญชา (เพื่อประโยชน์ในการจัดทำ Succession Plan ในอนาคต)
สรุปง่ายๆก็รู้ว่า การทำ PA มีประโยชน์แต่จะไร้ประโยชน์อย่างยิ่งหากผู้ใช้ประโยชน์ขาดความรู้ความเข้าใจ จะมัวปวดหัวกันอยู่ใย ทำ PA กันเสร็จและถูกต้องหรือยังคะ