วันอังคาร, 28 มีนาคม 2566

ข้อสอบวิชาโครงงาน Project พร้อมเฉลย 10 ข้อ

09 ต.ค. 2021
2466

ข้อสอบวิชาโครงงาน Project พร้อมเฉลย 10 ข้อ สามารถนำไปใช้สอบกับนักเรียนได้เลย โดยนำไปประยุกต์ได้ครับในวิชาโครงงาน

1. โครงงาน (Project) หมายถึงอะไร

โครงงาน (Project) หมายถึงการประดิษฐ์คิดค้นการสร้างผลงานการจัดการหรือการบริการทางวิชาชีพซึ่งผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่จะทำโดยนำเทคโนโลยีความรู้และประสบการณ์มาบูรณาการในการปฏิบัติงานด้วยตนเองหรือหมู่คณะโดยมีกระบวนการที่เป็นระบบชัดเจนและ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

2. การดำเนินงานของโครงงานมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

การดำเนินงานของโครงงานโดยทั่วไปจะมี 3 ระยะคือระยะเริ่มต้นในชั้นเรียนจากนั้นก็จะกระจายไปสู่ภายนอกชั้นเรียนและย้อนกลับเข้าสู่ชั้นเรียนโดยอาจารย์ประจำวิชาจะให้คำปรึกษา คำแนะนำโดยพยายามพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำโครงงานที่ตนคิด/พัฒนาออกไปทำจริงนอกชั้น เรียนได้กิจกรรมจูงใจต่างๆที่อาจารย์ประจำวิชาจัดจะช่วยเตรียมให้ผู้เรียนสามารถเตรียมโครงงานของตนเพื่อขยายไปนอกชั้นเรียนได้เต็มรูปแบบประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ
1. การวางแผนในชั้นเรียน
2. ดำเนินงานตามโครงงาน
3. การตรวจสอบและกำกับงาน

3.รายละเอียดของการเสนอโครงงานด้วยรายงาน มีรูปแบบอย่างไรบ้าง

รายละเอียดของการนำเสนอโครงงานด้วยรายงานมี  ดังนี้

1.ปกของรายงาน

ปกนอก

ปกใน

          2.  เนื้อหา

                บทคัดย่อ

                กิตติกรรมประกาศ

               สารบัญ

                     สารบัญตาราง

                     สารบัญรูปภาพ

              บทที่  1.

              บทที่  2.

              บทที่  3. 

              บทที่  4.

             บทที่  5.

             บรรณานุกรม

             ภาคผนวก

4.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาหมายถึงอะไร

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาหมายถึงภูมิหลังของการทำโครงงานเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาหรือความจำเป็นที่ทำโครงงานขึ้นโดยโครงงานมุ่งตอบคำถามของปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาต่อไปได้อย่างไร

5. ขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยมีดังนี้

1. เลือกหัวข้อที่จะทำการวิจัย
2. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย

4. ตั้งสมมติฐาน
5. การออกแบบการวิจัย
6. การรวบรวมข้อมูล
7.   การวิเคราะห์ข้อมูล
8.   การแปลความหมายหรือตีความข้อมูล
9.   การอภิปรายผล
10. สรุปผลการวิจัย

6. แหล่งที่มาของหัวข้อโครงงานได้จากแหล่งใดบ้าง

แหล่งที่มาของหัวข้อโครงงานอาจจะได้มาจากแหล่งต่างๆดังนี้

1. การอ่านผลงานทางวิชาการ
2. ข่าวสารที่ได้รับจากสื่อต่างๆ
3. อาชีพของครอบครัว
4. การเข้าชมนิทรรศการทางวิชาการ
5. การอ่านรายงานของโครงงาน


7. การเขียนโครงงานมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

การเขียนโครงงานมี 12 ขั้นตอนดังนี้

(1) ชื่อโครงงาน

(2) หลักการและเหตุผลความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

(3) วัตถุประสงค์

(4) เป้าหมาย

(5) วิธีดำเนินงาน

(6) ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน

(7) ค่าใช้จ่าย/งบประมาณ

(8) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(9) การติดตามและประเมินผล

(10) ปัญหาหรืออุปสรรคที่คาดว่าอาจเกิดขึ้น

(11) ผู้รับผิดชอบโครงงานให้ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมกัน

(12) ที่ปรึกษาโครงงานให้ระบุชื่อที่ปรึกษาในการทำโครงงาน

8. การตัดสินใจเลือกโครงงานมีเกณฑ์ที่ควรพิจารณาอย่างไรบ้าง

การตัดสินใจเลือกโครงงานมีเกณฑ์ที่ควรพิจารณาดังนี้

1. มีความรู้ทักษะประสบการณ์ความถนัดและความสนใจในโครงงานที่เลือก

2. โครงงานมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรที่เรียนสามารถนำความรู้จากการเรียนมาบูรณาการในการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาในระหว่างการทำโครงงานได้

3. โครงงานมีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นหรือชุมชนของตนเองสามารถนำผลงานหรือพัฒนางานไปสู่การประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. โครงงานมีความเหมาะสมกับเพศวัยกำลังความสามารถและงบประมาณของตนเองหรือผู้ร่วมงานตลอดจนสถานที่ดำเนินการ

5. ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานโครงงานไม่ควรสั้นเกินไปและไม่เกิน 1 ภาคเรียน

6. ควรเป็นโครงงานที่สามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ทั้งจากแหล่งข้อมูลต่างๆในท้องถิ่นภูมิปัญญาชาวบ้านผู้รู้และผู้ชำนาญที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ

9. การจัดทำโครงงานมีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงงานมีดังนี้

1. เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้บูรณาการความรู้ความสามารถทักษะและประสบการณ์สามารถสร้างงานประดิษฐ์คิดค้นบริหารจัดการหรือให้บริการและปฏิบัติงานจริงได้

2. เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมอย่างมีระบบสามารถตรวจสอบได้

3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

10. จงบอกประโยชน์ของการจัดทำโครงงาน

ประโยชน์ของการจัดทำโครงงานมีดังนี้

1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ทักษะไปบูรณาการสร้างงานและปฏิบัติจริงได้

2. สามารถวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้

3. ฝึกกระบวนการทำงานด้วยตนเองหรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม

4. สร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

5. พัฒนาผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดจากการทำงานตลอดจนสามารถคิดป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]