ตัวอย่างรายงานการวิจัยในชั้นเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พร้อมไฟล์เวิร์ด ดาวน์โหลดไฟล์วิจัยได้จากลิ้งด้านล่างของบทความ
วิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง รายงานผลการใช้กระบวนการร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ผักสวนครัวรั้วกินได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ความสำคัญและที่มาของปัญหา
การจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในยุคปฏิรูปการศึกษาแตกต่างไปจากการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมานั่นคือนักเรียนได้เรียนแต่ทฤษฎีในห้อง แต่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ปฏิบัติงานเนื่องจากความจำกัดของสถานที่และเวลา ตลอดจนการปฏิบัติงานแต่ละครั้งนักเรียนปฏิบัติงานรายบุคคล กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนจึงไม่เกิดขึ้น มีผลให้ผู้เรียนขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีความสามารถเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ขาดทักษะในการทำงาน ขาดทักษะการจัดการ เป็นต้น ผู้วิจัยเป็นครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสอนหลายปีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้เรียนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรในการเรียนรู้บางเนื้อหา โดยเฉพาะเรื่อง ผักสวนครัวรั้วกินได้ จากการประเมินผลพบว่านักเรียนไม่สามารถบอกประเภทของผักสวนครัวได้ และที่สำคัญนักเรียนไม่สามารถบอกวิธีปลูกผักสวนครัว ยกเว้นผักสวนครัวที่มีวิธีปลูกอยู่ในตำราเรียนหรือใบความรู้ที่ครูแจกให้เท่านั้น แต่ในสภาพจริงของการดำเนินชีวิตนักเรียนอาจจะต้องปลูกผักสวนครัวชนิดอื่นๆ ด้วย นอกจากนั้นเมื่อครูให้ทำข้อสอบที่ถามความรู้นอกตำราเรียน นักเรียนจึงไม่สามารถตอบคำถามได้ ผู้วิจัยจึงได้คิดวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะในการทำงานอย่างจริงจัง จึงคิดหาวิธีการที่จะให้นักเรียนปฏิบัติงานจริงๆ คือ สามารถปลูกผักสวนครัวได้จนเจริญเติบโตแล้วนำมารับประทานหรือมาจำหน่ายได้ แต่การปฏิบัติงานเพียงลำพังคนเดียวนั้นเมื่อเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานนักเรียนอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ผู้วิจัยจึงนำกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพฯ ดังกล่าว
แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย
แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
- ความหมาย
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
- องค์ประกอบสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
- การมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในทางบวก (Positive Interdependence) หมายถึง การที่สมาชิกในกลุ่มมีการทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีการแข่งขัน มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน มีบทบาทหน้าที่และประสบความสำเร็จร่วมกัน
- การปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างการทำงานกลุ่ม (Face to Face Promotion Interaction) เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
- การตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability) เป็นกิจกรรมที่ตรวจเช็คหรือทดสอบให้มั่นใจว่าสมาชิกมีความรับผิดชอบต่องานกลุ่มหรือไม่ เพียงใด
- การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and Small Group Skills) เพื่อให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ ผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่ม
- กระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน ซึ่งสมาชิกทุกคนจะต้องทำความเข้าใจเป้าหมายในการทำงาน มีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน ประเมินผลงานและปรับปรุงงานร่วมกัน
- ลักษณะเฉพาะของกระบวนการเรียนแบบร่วมเรียน – ร่วมรู้ (Learning Together)
เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนที่มีลำดับขั้นตอนแน่นอน ผู้เรียนทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างเด่นชัด เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานกลุ่ม
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
เพื่อทราบผลการพัฒนาการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องผักสวนครัวรั้วกินได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน________________________ภาคเรียนที่_______ปีการศึกษา_________
สมมุติฐานการวิจัย
เมื่อนำกระบวนการร่วมมือแบบ Group Process มาพัฒนาการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีแล้ว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน________________________ภาคเรียนที่_______ปีการศึกษา_________ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
วิธีดำเนินการวิจัย
- วิเคราะห์ปัญหาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
- คัดเลือกปัญหาที่สำคัญที่สุด คือปัญหาในเนื้อหาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ หาแนวทางแก้ปัญหาโดยการนำกระบวนการร่วมมือมาใช้ในการแก้ปัญหา
- จัดทำเค้าโครงวิจัยในชั้นเรียนเพื่อที่จะได้ทราบผลการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
- ดำเนินการวิจัยหรือดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
- แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มๆละ 4-6 คน คละความสามารถ คละเพศ กำหนดบทบาทสมาชิกของทุกคน
- แจกใบความรู้และใบงานตัวอย่างเนื้อหาเรื่องผักสวนครัวรั้วกินได้ ซึ่งประกอบด้วยประเภทของผักสวนครัว วิธีการปลูกผักสวนครัว และคุณประโยชน์ของผักสวนครัว
- มอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ปลูกผักสวนครัวที่นักเรียนชอบ และบันทึกผลการปฏิบัติงานตั้งแต่การทำแปลง การปลูก การดูแลรักษา จนกระทั่งสามารถนำมารับประทานหรือมาขายได้
- นำเสนอในรูปแบบรายงาน
- ครูและเพื่อนกลุ่มอื่นให้คะแนน และแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกความเหมือนและความแตกต่างในการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ
- ให้นักเรียนทดสอบความรู้
- นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบและการรายงานมาสรุปผลการพัฒนาการเรียนรู้
- ประเมินผลและรายงานวิจัยที่ได้จัดทำ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน_____________________ภาคเรียนที่_______ ปีการศึกษา_________ จำนวน________คน
เครื่องมือในการวิจัย
- แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
- แบบให้คะแนนความรับผิดชอบ
- แบบให้คะแนนการรายงาน/การนำเสนองาน
- แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
การรวบรวมข้อมูล
- รวบรวมข้อมูลจากผลการปฏิบัติงาน ความรับผิดชอบ การนำเสนองาน/รายงาน
- การทดสอบก่อนและหลังเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีความรับผิดชอบตั้งใจปฏิบัติงานและนำเสนอรายงานได้ดีมีถึงร้อยละ_______สำหรับค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ_______และคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ________มีค่าความต่างเท่ากับ_________ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการนำกระบวนการร่วมมือมาใช้จัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องผักสวนครัวรั้วกินได้นี้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีได้ถึงร้อยละ______ ของจำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
อภิปรายผล
จากการนำกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือมาจัดการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องผักสวนครัวรั้วกินได้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาการเรียนรู้ดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือนั้นมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเป็นวิธีการหนึ่งที่พัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการและทักษะทางสังคมและเป็นการเตรียมผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือยังเป็นกระบวนการที่ทำให้บุคคลมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในทางบวก (Positive Interdependence) หมายถึงการที่สมาชิกในกลุ่มมีการทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ร่วมกัน ประสบความสำเร็จร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งการเกี่ยวข้องกันในทางบวกเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งทำให้กระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนในชั้นเรียนหรือแม้แต่นอกชั้นเรียน มีชีวิตชีวาและทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
- ควรนำกระบวนการร่วมมือไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่เหมาะสม
- ควรนำกระบวนการร่วมมือไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
- ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
- กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งต่อไปควรจะเป็นกลุ่มอื่น
- ก่อนที่จะรายงานการวิจัยต้องมั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะสรุปว่านักเรียนมีพัฒนาการจริงหรือไม่
ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างรายงานการวิจัยในชั้นเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เนื้อหาวิจัยในชั้นเรียน ใกล้เคียงกันสนใจอ่านเพิ่มเติมกดที่ลิ้งได้เลยครับ