หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖0 กำหนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยที่สะท้อนให้เห็น ความเชื่อพื้นฐานในการพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่อายุแรกเกิด-๖ปีบริบูรณ์โดยเห็นความสำคัญของการพัฒนา เด็กโดยองค์รวม การคำนึงถึงความสมดุลและครอบคลุมพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านในการอบรมเลี้ยงดู พัฒนาและส่งเสริมกระบวนการเรียนเของเด็ก ที่ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องต้องยอมรับความแตกต่างของเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กแต่ละคนอย่างเหมาะสม โดยผู้สอนให้ความรัก ความเอื้ออาทร มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปิญญา คุณธรรม จริยธรรม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข ดังนี้
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน ให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และ ความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
วิสัยทัศน์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖0 กำหนดวิสัยทัศน์ที่สะท้อนให้เห็นความคาดหวังที่เป็น จริงได้ในอนาคต ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพผ่านประสบการณ์ที่เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทักษะชีวิต ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสำนึกความเป็นไทย และทุกฝ่ายทั้งครอบครัว สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชนร่วมมือกันพัฒนาเด็ก ดังนี้
วิสัยทัศน์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนเอย่างมีความสุขและเหมาะสม ตามวัย มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และ สำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาเด็ก
หลักการ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖0 กำหนดหลักการสำคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย ชีงผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ ๓-๖ ปี จะต้องยึดหลักการ อบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคน ทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพีเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้ หรือเด็กที่มีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองไต้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือต้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกต้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างสมดุล โดยจัดกิจกรรมที่หลากหลาย บูรณาการผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่าน ประสาทสัมผัสทั้งห้า เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็ก แต่ละคนไต้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไต้อย่างมีความสุข เป็นคนดีของสังคม และสอดคล้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ฃนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ทางศาสนา สภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิทธิเด็ก โดยความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกซน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ดังนี้
หลักการ
๑. ล่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน
๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็ก ตามบริบทของชุมชน ลังคม และวัฒนธรรมไทย
๓. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย และมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนเพียงพอ
๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข
๔. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก ระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
จุดหมาย
จุดหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖0 เป็นความคาดหวังเพื่อให้เกิดกับเด็ก เมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัยแล้วโดยจุดหมายอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง ๔ด้านคือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปิญญาที่นำไปสู่การกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และ สภาพที่พึงประสงค์ ดังนี้
จุดหมาย
๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุฃนิสัยที่ดี ๒. สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่คืงาม ๓. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
๔. มีทักษะการดีด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๔๖0 กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จำนวน ๑๒ ข้อ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวเด็กเมื่อจบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กำหนดตัวบ่งซี้ซึ่งเป็นเป็าหมายในการพัฒนาเด็ก ที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมีการกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ซึ่งเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่จำเป็นสำหรับเด็กพุกคน บนพื้นฐานพัฒนาการหรือความสามารถในแต่ละระดับอายุ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป็นจุดประสงค์ในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก ซึ่งนอกจากสภาพที่พึงประสงค์ ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กอายุ ๓-๖ ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็ก แต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและ ศักยภาพหรือช่วยเหลือเด็กได้ทันห่วงที ในกรณีที่สภาพที่พึงประสงค์ของเด็กไม่เป็นไปตามวัย ผู้สอนจำเป็นต้องหาจุดบกพร่องและรีบแกํใขโดยจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็ก ถ้าเด็กมีสภาพที่พึงประสงค์ สูงกว่าวัย ผู้สอนควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ สภาพที่พึงประสงค์เกิดขึ้น ตามวัยมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู และ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
ที่มา สาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธคักราช ๒๕๖๐ (สำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี)