ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
- อธิบายสรุปขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
- คิดและเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
- ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะทำโครงงานได้
- จัดทำเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
- ลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามที่วางแผนไว้ได้
ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2543 : 301) เสนอขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
- สำรวจและตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
- ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำจากเอกสาร แหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- วางแผนการทดลอง การใช้วัสดุ อุปกรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน
- เขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์
- ลงมือศึกษาทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
- เขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
- เสนอผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์
บูรชัย ศิริมหาสาคร (2548 : 105 – 114) ได้เสนอขั้นตอน การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
- การคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน
- การวางแผนโครงงาน
- การปฏิบัติการโครงงาน
- การเขียนรายงานโครงงาน
- การนำเสนอโครงงาน
- การพัฒนาโครงงาน
สำหรับผู้จัดทำได้พัฒนาขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2543 : 301) และ บูรชัย ศิริมหาสาคร (2548 : 105 – 114) จึงขอเสนอขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 6 ขั้นตอน ดังนี้
แนวทางการเรียนรู้ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
- สังเกตปัญหาต่าง ๆ รอบตัว เลือกปัญหาที่ตนเองสนใจ และพิจารณาความเป็นไปได้ เพื่อกำหนดหัวข้อที่จะทำโครงงาน
- ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบโครงงาน
- นำแนวทางในการออกแบบโครงงานมาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรที่เรียกว่า “ เค้าโครง ” ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของโครงงาน สมมติฐาน วิธีดำเนินงาน ประโยชน์ที่ได้รับ เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
- ดำเนินการตามที่เขียนเค้าโครงไว้ โดยใช้ทักษะต่อไปนี้ วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ – ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการบันทึกข้อมูล ทักษะการปฏิบัติงาน
- ประมวลผลการทำโครงงานแล้วสรุปเป็นเอกสารรายงาน ซึ่งมี 5 บท ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 บทเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการ บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
- ประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงงานต่อสาธารณะชน ด้วยการบรรยายประกอบแผงโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือนำผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ไปจัดนิทรรศการ
การคิดและเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์
การคิดและเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นจากปัญหา หรือความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนซึ่งจะต้องสำรวจตนเองว่ามีความสงสัย และอยากค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใด แล้วนำปัญหานั้นมากำหนดเป็นหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 เรื่องก็ได้
การได้มาของปัญหาที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือ ความสนใจในเรื่อง ต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
แหล่งปัญหาที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
แหล่งปัญหาที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
- การอ่านค้นคว้าหนังสือเอกสารหนังสือพิมพ์วารสารต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น ต้องเป็นเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์
- การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น วนอุทยาน สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่เพาะเลี้ยงพืช และสัตว์ หน่วยงานวิจัย ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
- การฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการทางวิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นระหว่างเพื่อน หรือ กับบุคคลอื่น
- กิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น สมบัติของแม่เหล็ก
- งานอดิเรกของผู้เรียนเอง เช่น การเลี้ยงปลา
- การเข้าชมนิทรรศการหรือการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ
- จากการสงสัยของผู้เรียนเอง เช่น เห็นแม่ลวกผักกวางตุ้งโดยการเติมเกลือ ลงไปด้วยทำให้ผักลวกมีสีเขียวน่ารับประทาน จึงสงสัยว่าเกลือมีผลทำให้ผักมีสีเขียวได้อย่างไร
- ปัญหาใกล้ตัว
- ปัญหาในท้องถิ่น
- การตั้งคำถามของครู
หลังจากได้ปัญหาหรือข้อสงสัยที่สนใจจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาคิดตั้งปัญหาซึ่งมีขั้นตอนการคิดตั้งปัญหาดังนี้
ขั้นตอนการคิดตั้งปัญหา
- ต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น ๆ ให้ได้ข้อมูลมากที่สุดเพื่อจะนำมาตั้งปัญหา และมีข้อมูลเพียงพอที่จะตั้งสมมติฐานเพื่อคาดคะเนหาคำตอบล่วงหน้า
- หลังจากได้หัวข้อแล้ว ให้หาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ๆ หรือที่เป็นสาเหตุให้เกิดหัวข้อนั้น ๆ
- เลือกจับคู่หัวข้อที่เกี่ยวข้องหรือสาเหตุที่เกี่ยวข้องที่สนใจที่สุดเพื่อนำมาตั้งปัญหาโดยให้เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น
หัวข้อ | ตั้งคำถาม | |
อากาศเสีย | – การเผาขยะ – ควันจากรถยนต์ | – การเผาขยะทำให้อากาศเสียจริงหรือไม่ – ควันจากรถยนต์มีผลทำให้อากาศเสียจริง หรือไม่ |
การเจริญ เติบโต ของพืช | – ปุ๋ย – การให้น้ำ | – ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชจริง หรือไม่ – ปุ๋ยคอกกับปุ๋ยเคมีชนิดใดพืชเติบโต ได้ดีกว่ากันจริงหรือไม่ – น้ำทำให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดีใช่หรือไม่ |
หัวข้อ
- อากาศเสีย
- การเจริญ เติบโต ของพืช
สิ่งที่เกี่ยวข้อง/สาเหตุ
- การเผาขยะ – ควันจากรถยนต์
- ปุ๋ย – การให้น้ำ
ตั้งคำถาม
- การเผาขยะทำให้อากาศเสียจริงหรือไม่ – ควันจากรถยนต์มีผลทำให้อากาศเสียจริง หรือไม่
- – ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชจริง หรือไม่ – ปุ๋ยคอกกับปุ๋ยเคมีชนิดใดพืชเติบโต ได้ดีกว่ากันจริงหรือไม่ – น้ำทำให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดีใช่หรือไม่
[…] ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ tags: ประเภทของโครงงานโครงงานวิทยาศาสตร์ […]