ความหมาย
จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะ ของวิชาชีพนั้นก็ได้ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้
ความสำคัญ
จรรยาบรรณในวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจำแนกอาชีพว่าเป็นวิชาชีพหรือไม่ อาชีพที่เป็น “วิชาชีพ” นั้นกำหนดให้มีองค์กรรองรับ และมีการกำหนดมาตรฐานของความประพฤติของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพซึ่งเรียกว่า “จรรยาบรรณ“ ส่วนลักษณะ “วิชาชีพ ” ที่ สำคัญคือ เป็นอาชีพที่มีศาสตร์ชั้นสูงรองรับ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการสอนศาสตร์ดังกล่าวในระดับ อุดมศึกษาทั้งการสอนด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติจนผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ในศาสตร์นั้น นอกจากนี้จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนมี “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เพื่อ ให้สมาชิกในวิชาชีพดำเนินชีวิตตามหลักมาตรฐานดังกล่าวหลักที่กำหนดใน จรรยาบรรณวิชาชีพทั่วไป คือ แนวความประพฤติปฏิบัติที่มีต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน ต่อตนเอง และต่อสังคม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ 3 ประการ คือ
- ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
- รักษามาตรฐานวิชาชีพ
- พัฒนาวิชาชีพ
ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
- เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitment to the employment practice)
จรรยาบรรณวิชาชีพครู ล่าสุด พ.ศ. 2556
ขณะนี้คุรุสภาได้จัดทำแบบแผนพฤติกรรมจรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 ด้าน
พร้อมพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ในแต่ละด้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ประกอบด้วย
1.จรรยาบรรณต่อตนเอง
ครูต้องมีวินัยในตัวเอง ต้องพัฒนาวิชาชีพ บุคลิกภาพ
และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
2.จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจ
โดยไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญของศิษย์และผู้รับบริการ
หรือเรียกรับ ยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์
5.จรรยาบรรณต่อสังคม
ครูพึงปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำถามทบทวน
- ความหมายของจรรยาบรรณวิชาชีพครูคืออะไร
- จรรยาบรรณวิชาชีพครูมีความสำคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างไร
- จรรยาบรรณสำหรับครู ฉบับ พ.ศ. 2539 มีแบบแผนความประพฤติสำหรับครูอย่างไร
- ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556 กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพครูต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และต่อสังคม อย่างไร
- ให้เปรียบเทียบจรรยาบรรณอาจารย์และจรรยาบรรณครูแตกต่างกันอย่างไร
- แนวปฏิบัติเพื่อการรักษาวินัยของครูเป็นอย่างไร
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 หมวด 6 มาตรา 96 ว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยครูด้านใด
- แบบแผนพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ ในจรรยาบรรณวิชาชีพครูต่อตนเองมีลักษณะอย่างไร
- วินัยครูมีความสำคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูอย่างไร
- ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาใดที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 จะมีบทลงโทษจากการตรวจสอบอย่างไร
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์คุรุสภา
ดาวน์โหลด สรุปจรรยาบรรณวิชาชีพครู ล่าสุด พ.ศ. 2556