วันเสาร์, 23 กันยายน 2566

การพิมพ์บันทึกข้อความ แบบ 3 ย่อหน้า

แบบที่ 1 การพิมพ์บันทึกข้อความ แบบ ๓ ย่อหน้า

​​๑.  ตั้งหน้ากระดาษ   กั้นหน้า เซนติเมตร  กั้นหลัง  เซนติเมตร

​​๒.  ขนาดตัวครุฑ   ๑.๕  เซนติเมตร โดยวางตัวครุฑห่างจากขอบกระดาษประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร

​๓.  คำว่า “บันทึกข้อความ พิมพ์ด้วยอักษรตัวหนาขนาด ๒๙ พอยท์ แลปรับค่าระยะบรรทัดจาก 

๑ เท่าเป็นค่าแน่นอน (Exactly) ๓๕ พอยท์

๔. ชั้นความลับ (ถ้ามี) ให้ปั๊มตรงกึ่งกลางด้านบนและด้านล่างของบันทึกข้อความ โดยใช้หมึกสีแดง

. ชั้นความเร็ว (ถ้ามี)  ให้ปั๊มระหว่าง ครุฑ กับ บันทึกข้อความ โดยใช้หมึกสีแดง 

 ๖.  คำว่า “ส่วนราชการ พิมพ์อักษรตัวหนาขนาด ๒๐ พอยท์ สำหรับชื่อส่วนราชการให้ลงชื่อหน่วยงานเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ/ โทรศัพท์ พร้อมด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง โดยพิมพ์ด้วยอักษรขนาด ๑๖ พอยท์

 ๗. คำว่า “ที่ พิมพ์อักษรตัวหนาขนาด ๒๐ พอยท์  โดยลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง ด้วยอักษรขนาด ๑๖ พอยท์

๘. คำว่า “วันที่ พิมพ์อักษรตัวหนาขนาด ๒๐ พอยท์  โดยลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือด้วยอักษรขนาด ๑๖ พอยท์

๙. คำว่า “เรื่อง พิมพ์อักษรตัวหนาขนาด ๒๐ พอยท์ โดยลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น  ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่อง ให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม ด้วยอักษรขนาด ๑๖ พอยท์

๑๐. พิมพ์ “คำขึ้นต้น ให้มีระยะบรรทัดห่างจากเรื่องเท่ากับระยะบรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก ๖ พอยท์ (1Enter + Before 6 pt)การพิมพ์คำขึ้นต้นให้ใช้ตามฐานะของผู้รับหนังสือ 

​ ๑๑. พิมพ์ ข้อความภาคเหตุ ภาคความประสงค์ และภาคสรุป โดยพิมพ์สาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ให้มีระยะบรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก ๖ พอยต์ (1 Enter + Before 6pt) และมีระยะย่อหน้าตามค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร (2 Tab) 

๑๒. ลงชื่อ  พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ พร้อมกับตำแหน่งของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อโดยเว้นระยะบรรทัดการพิมพ์ ๓ บรรทัด (4 Enter)  

​​สำหรับจำนวนบรรทัดในการพิมพ์หนังสือราชการในแต่ละหน้าให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับจำนวนข้อความ และความสวยงาม

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]

สมาชิกแสดงความคิดเห็น