วันเสาร์, 23 กันยายน 2566

จรรยาบรรณวิชาชีพครู จากข้อบังคับ คุรุสภา

จรรยาบรรณวิชาชีพครู จากข้อบังคับ คุรุสภา ว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 (สำนักงานเลขาธิการของคุรุสภา. 2549 : 73-79) ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับจรรยาบรรณ วิชาชีพครู สามารถสรุปได้ดังนี้ ความหมายของ จรรยาบรรณวิชาชีพครู หมายถึง มาตรฐานการปฏิบัติตน ที่กำหนด เป็นแบบแผนในการประพฤติตน ที่ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องปฏิบัติตาม จุดประสงค์ของจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะ ของผู้ประกอบวิชาชีพครู ให้เป็น ที่เชื่อถือศรัทธา แก่ผู้รับบริการ แก่สังคม อันจะนำมาซึ่ง เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ลักษณะสำคัญ ของจรรยาบรรณวิชาชีพครู ถือเป็นคำมั่นสัญญา ที่กำหนดเป็นข้อบังคับ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องปฏิบัติกับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง 5 ส่วน ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และต่อสังคม โดย สาระสำคัญ ของจรรยาบรรณ วิชาชีพครู ตามข้อบังคับ ของคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2548 ที่เกี่ยวกับมาตรฐาน การปฏิบัติงาน และจรรยาบรรณ วิชาชีพ สรุปได้ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การเรียนการสอน และการส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียน

1) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการ เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ

2) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผล ที่จะเกิดแก่ผู้เรียน

3) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ

4) พัฒนาแผนการสอน ให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง

5) พัฒนาสื่อการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

6) จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวร ที่เกิดแก่ผู้เรียน

7) รายงานผลการพัฒนาคุณภาพ ของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ

8) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ผู้เรียน

9) ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษา อย่างสร้างสรรค์

10) ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชน อย่างสร้างสรรค์

11) แสวงหา และใช้ข้อมูลข่าวสาร ในการพัฒนา

12) สร้างโอกาสให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

ด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพครู แบ่งเป็น 5 ด้าน

1) จรรยาบรรณต่อตนเอง

ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้าน วิชาชีพบุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ให้ทัน ต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์กรวิชาชีพ

3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

3.1) ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่ โดยเสมอหน้า

3.2) ครูต้องส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์ และผู้รับบริการ

3.3) ครูต้องประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และใจ

3.4) ครูต้องไม่กระทำตน เป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ ทางกายสติปัญญา จิตใจอารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ

3.5) ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจ และเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์ จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่ โดยมิชอบ

4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นใน ระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคี ในหมู่คณะ

5) จรรยาบรรณต่อสังคม

ครูพึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวม และยึดมั่นใน การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]

สมาชิกแสดงความคิดเห็น


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ที่ครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องจำขึ้นใจ
อัพเดท จรรยาบรรณวิชาชีพครู มี 5 ด้าน 9 ข้อ 2566
จรรยาบรรณวิชาชีพครู ล่าสุด พ.ศ. 2556
แนวข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2565 พร้อมเฉลย
ประวัติจรรยาบรรณครูไทย พ.ศ. 2506 ม.ล.ปิ่น มาลากุล
สรุปจรรยาบรรณครู 5 หมวด 9 ข้อ ใหม่ล่าสุด