1. การประเมินตามแนวทางนี้ใช้แบบประเมินสมรรถนะสำหรับครูผู้สอนทำการประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามสภาพจริง เพื่อจะได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะของครูผู้สอน และนำผลการประเมินไปใช้ในการกำหนดกรอบการพัฒนาสมรรถนะครูให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาและวิชาชีพ ผู้ใช้แบบประเมินสมรรถนะครู ดังนี้
1. ครูผู้สอน : ประเมินตนเอง
2. เพื่อนครูผู้สอนในสถานศึกษาเดียวกัน : ประเมินครูผู้สอน
3. ผู้บริหารสถานศึกษา : ประเมินครูผู้สอน
2. การให้คะแนนการประเมินสมรรถนะครู
2.1 การให้คะแนนในแต่ละข้อรายการจะมีระดับคุณภาพของสภาพการปฏิบัติงาน 5 ระดับ
ได้แก่ ปฏิบัติน้อยที่สุด ปฏิบัติน้อย ปฏิบัติปานกลาง ปฏิบัติมาก และปฏิบัติมากที่สุด โดยกำหนดค่าคะแนน เป็น 1, 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ
2.2 การตัดสินผลในแต่ละสมรรถนะ ให้ทำการคำนวณหาคะแนนเฉลี่ยรายสมรรถนะ และทั้งฉบับของครูเป็นรายบุคคล โดยนับจำนวนความถี่ของระดับการปฏิบัติ แล้วนำจำนวนความถี่ที่ได้นับได้ทั้งหมดมาคำนวณหาคะแนนรวม โดยการนำจำนวนความถี่ในแต่ละระดับการปฏิบัติมาคูณคะแนนในแต่ละระดับคุณภาพการปฏิบัติงานดังนี้ คือ ปฏิบัติน้อยที่สุด คุณด้วย 1 ปฏิบัติน้อย คูณด้วย 2 ปานกลาง คูณด้วย 3 ปฏิบัติมาก คูณด้วย 4 และปฏิบัติมากที่สุด คูณด้วย 5 แล้วนำคะแนนมารวมกัน จากนั้นนำคะแนนรวมที่ได้คำนวณหาคะแนนเฉลี่ย
3. การแปลผลการประเมินสมรรถนะครู เป็นการนำคะแนนเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลผล
ที่กำหนดไว้ โดยกำหนดเกณฑ์จากผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมดดังนี้
4. การนำเสนอผลการประเมินสมรรถนะครู
การนำเสนอผลการประเมินให้นำคะแนนเฉลี่ย และระดับคุณภาพในแต่ละสมรรถนะมากรอกลงในแบบสรุปผลการประเมินสมรรถนะของครูผู้สอนในตอนท้ายของแบบประเมิน แล้วจึงรายงานผลการประเมิน
ให้ผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะครูต่อไป