การจัดกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา เป็นแนวทาง การจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะกระบวนการใน ๔ สหวิทยาการได้แก่วิทยาศาสตรวิศวกรรมฯ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนา กระบวนการหรือผู้ลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ในขณะที่ทำกิจกรรม เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและฝึก ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เด็กต้องมีโอกาส นำความรู้มาออกแบบวิธีการหรือกี่ระบวนการเพื่อตอบสนองความต้องการ หรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ๖ ขั้นตอน ดังนี้
(๑) ระบุปัญหา
(๒) รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
(๓) ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
(๔) วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา
(๕) ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหา หรือชิ้นงาน
(๖) นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน เช่น
ตัวอย่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active learning)
๑. สนทนากับเด็กเกี่ยวกับผลไม้ชนิดต่าง ๆ โดยนำผลไม้มาให้เด็กดูและสังเกต รูปร่าง ลักษณะ ขนาดของผลไม้และใช้คำถาม สำหรับเด็ก ๆ ว่าผลไม้ที่เด็ก ๆ ชอบ มีรูปร่างผลไม้แบบใด ให้เด็กออกมาหยิบผลไม้ที่ตนเองชอบ (สื่อและการใช้ประสาทสัมผัส)
๒. สนทนาซักถามเด็ก ๆเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของผลไม้ที่นำมาโดยให้เด็กเปรียบเทียบและถามสาเหตุว่า เพราะอะไรเด็กจึงชอบผลไม้ที่มีรูปร่างเช่นั้นน เด็กอาจจะตอบว่า มีขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ หรืออาจจะตอบว่าชอบสีของผลไม้ด้วย เช่น สีแดง ฯลฯ (ภาษาจากเด็ก)
๓. ให้เด็ก ๆ ออกมาหยิบผลไม้แต่ละชนิดมาจัดหมวดหมู่ตามเกณฑ์ของตนเอง และบอกว่าใช้เกณฑ์ใดในการจัดหมวดหมู่ (การเลือกและตัดสินใจ)
๔. ให้เด็เด็กเเต่ละคนกลุ่มน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่หยิบมาตอบคำถาม เรื่องรูปร่างลักษณะของผลไม่ต้าง ๆ โดยให้สังเกต เปรียบเทียบ ขนาดของผลไม้เล็ก-ใหญ่วงกลม-วงรียาว-สั้น สี โดยใช้คำถาม (ภาษาจากเด็ก) เช่น
- เด็ก ๆ คิดว่า ส้มกับแตงโม ต่างกันตรงไหนบ้าง
- เด็ก ๆ คิดว่า แอปเปิ้ลกับฝรั่งเหมือนกันตรงไหนบ้าง
๕. เด็กและครูร่วมกันสรุปว่า ถึงแม้ว่าผลไม้จะมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องของสี ขนาด แต่ผลไม้ให้ประโยชน์เหมือนกันคือช่วยทำให้ฟันไม่ผุ บำรุงผิวพรรณ ที่สำคัญช่วยในระบบขับถ่ายได้ดีโดยให้เด็กดูวีดิทัศน์ เรื่อง “ประโยชน์ของผลไม้” (การสนับสนุนจากผู้ใหญ่)