คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
จุดมุ่งหมายและหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ตามความในมาตรา 6 ที่ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในกระบวนการเรียนรู้มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข รู้จักสิทธิ หน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับแนวการจัดการศึกษากำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ ให้ผู้เรียนได้รู้จักพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้อง จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมาตราที่ 24 ได้กล่าวถึงจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคลฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการการแก้ปัญหาจัดการเรียนรู้ จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติอ่านทำได้ คิดเป็น ผสมผสานความรู้สาระต่าง ๆ อย่างสมุดล ปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการเรียนรู้ แต่จากการนิเทศติดตามฯการขับเคลื่อนคุณภาพ การศึกษา ครั้งที่ 2/2561พบว่าโรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมนักเรียนในการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ยังไม่ครอบคลุมและหลากหลายในรายวิชาและกลมสาระที่จะสอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้แบบ Active Learning “เปิดกรุลายแทง O-NET ครั้งที่ 2” โดยมีกลุ่มีเป้าหมายคือครูผู้สอนชั้น ป.6 เพื่อให้โรงเรียนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ต่อไป
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้น พัฒนาผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง มากขึ้น จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 พบว่า คะแนนเฉลี่ยกลมสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลมสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรม พัฒนาครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ Science Active Learning เพื่อพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ สามารถพัฒนา คุณภาพการศึกษาด้วยการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติเป็นปีที่ 7
เอกสารฝึกอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลมสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการพัฒนาศักยภาพครูโดยมีเนื้อหา สาระ กิจกรรม ให้ครูได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็น Active Learning ที่สอดคล้องกับการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกรอบแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รวมถึง ผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอนให้มีความรู้ เกิดแนวความคิดและความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดี่ยวกัน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพต่อไป