คู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
ความหมายและความสำคัญของการเรียนการสอนแบบ “ACTIVE LEARNING ” Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิด เกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป ตลอดจนเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมตฐานพื้นฐาน 2 ประการ คือ
1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ ที่แตกต่างกัน โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ (receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ (co-creators)
Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติ หรือการลงมือทำซึ่ง “ความรู้” ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์กระบวนการใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้ กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ , การสังเคราะห์ , และการประเมินค่าดังกล่าวนั่นเองหากเปรียบ ความรู้เป็น “กับชาว” อย่างหนึ่งแล้ว Active learing ก็คือ”วิธีการปรุง” กับข้าวชนิดนั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้ กับข้าวดังกล่าว เราก็ต้องใช้วิธีการปรุง ซึ่งรสชาติจะออกมาอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความชำนาญ ของผู้ปรุง
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือ ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ผู้สอนจึงต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนกิดความกระตือรือล้นในการจะทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน และการอภิปรายกับ เพื่อน ๆ
กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Leaning เป็นกระบวนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษา ผลการเรียนรู้ได้คงทนมากกว่าและนานกว่ากระบวนการสอนแบบ Passive Learning เพราะกระบวนการสอน แบบ Acive Learin จะสอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและ จำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่งมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ยังคงอยู่ได้ใน ปริมาณที่มากกว่า ระยะยาว
ดาวน์โหลดคู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
อ้างอิง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร