วันศุกร์, 22 กันยายน 2566

ความหมายของหลักสูตร Curiculum

ความสำคัญของหลักสูตร

  1. ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ = การศึกษาเป็นเครื่องมือใน
    การพัฒนาคนในสังคม ตัวชี้วัดที่สำคัญประการหนึ่งคือ “คุณภาพการจัดการศึกษา”
  2. ความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ = หลักสูตรเปรียบเสมือนเข็มทิศ
    สำหรับครูที่กำหนดทิศทางในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน หากเปรียบการศึกษา เป็นรถยนต์ หลักสูตร เปรียบเสมือน พวงมาลัยี หากเปรียบการศึกษา เป็นเรือยนต์ หลักสูตร เปรียบเสมือน หางเสือ

ความหมายของหลักสูตรหลักสูตร Curiculum มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Currere ซึ่งหมายถึงช่องทางสำหรับวิ่ง ถ้าในด้านการศึกษา หมายถึง แนวทางสำหรับการเรียนรู้นักพัฒนาหลักสูตรกับความหมาย

พจนานุกรม = ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

กรมวิชาการ = ข้อกำหนดที่ประกอบด้วยหลักการจุดหมายโครงสร้าง แนวทางวิธีการเนื้อหา วัสดุอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน

นิรมล = ประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมดที่ผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา

สงัด = ข้อผูกผันระหว่างนักเรียน ครูและสิ่งแวดล้อมงการเรียน

ทำบา = วิธีเตรียมเยาวชนให้มีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นสมาชิกที่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคมของเรา

กู๊ด = โครงสร้างของเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สถานศึกษากำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

ไทเลอร์ = เป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมาย

หลักสูตรที่ดีจะต้อง

  1. สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสังคม
  2. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  3. ใช้ประโยชน์ได้และเป็นจริง
  4. ยืดหยุ่นได้
  5. มีวัตถุประสงค์
  6. ส่งเสริมประชาธิปไตย
  7. ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน
  8. ร่วมจัดทำหลายฝ่าย

การพัฒนาหลักสูตร ( มี 5 ประการ)

  1. ปรัชญาการศึกษา
  2. จิตวิทยา
  3. สังคมและวัฒนธรรม
  4. เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง
  5. วิทยาการและเทคโนโลยี

ประเภทของหลักสูตร

1. หลักสูตรรายวิชา Subject Curriculum เป็นหลักสูตรที่ใช้มานานสุด ได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม “สารัตถ นิยม” ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ จุดหมายของหลักสูตรต้องการ “พัฒนาการด้านสติปัญญา ความรู้ความจำ”

2. หลักสูตรสัมพันธวิชา Correlated Curriculum เป็นหลักสูตรที่ให้รายวิชาต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น จุดเด่นคือช่วยให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนมากขึ้น เพราะ สามารถเชื่อมโยงความรู้จากอีกวิชาหนึ่งไปอีกวิชาหนึ่งได้

3. หลักสูตรสหสัมพันธ์ Broad Field Curriculum เป็นการเอารายวิชาที่มีลักษณะเนื้อหาคล้าย ๆ กัน หรือ ใกล้เคียงกันมารวมกันไว้ในหมวดวิชาเดี่ยวกัน เช่น สังคมศึกษาฯ

4. หลักสูตรกิจกรรมหรือหลักสูตรประสบการณ์ เน้นประสบการณ์ตรง , ได้รับอิทธิพลจาก” พิพัฒนาการ นิยม” นักการศึกษาที่สำคัญคือจอห์น ดิวอี้ เป็นการแก้ไขหลักสูตรเดิมที่เอาเนื้อหารายวิชา เป็นตัวตั้งโดย ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน

5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL จุดเด่น คือการส่งเสริมพัฒนาการแก้ปัญหา ความต้องการ ของผู้เรียน ตามสภาพสังคม

6. หลักสูตรแกน Core Curriculum เอาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน แล้วนาเอาวิชาอื่น ๆ มาสัมพันธ์กัน

7. หลักสูตรบูรณาการIntegrated Curriculum เป็นหลักสูตรที่หลอมรวมความรู้และประสบการณ์จาก รายวิชาต่าง ๆ มาจัดเป็นกลุ่ม เริ่มนำมาใช้จากโครงสร้างประถมศึกษา 2551

ระดับของการพัฒนาหลักสูตร

  • ระดับนานาชาติ
  • ระดับชาติ
  • ระดับภาค
  • ระดับรัฐ
  • ระดับเขตพื้นที่
  • ระดับสถานศึกษา
  • ระดับชั้นเรียน

สรุป การพัฒนาหลักสูตร มีความหมาย 2 นัย คือ

  1. จัดทำหลักสูตรใหม่
  2. ปรับปรุงหลักสูตรเดิม

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]

สมาชิกแสดงความคิดเห็น