การศึกษาขั้นพื้นฐานมีกี่ปี ที่นี่มีคำตอบ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี (ป.1-ม.6)
การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (ป.1-ม.3)
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องเรียนจนครบ 12 ปี ตามระยะ เวลาที่หลักสูตรกำหนด หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะจัดอย่างต่อเนื่อง 12 ปี แต่โอกาสที่ผู้เรียนจะเรียน ไม่ครบ 12 ปี เนื่องจากความจำเป็นต่างๆก็สามารถทำได้ คือ เรียนครบ 9 ปี ก็ออกได้ คือ ป.1-ม.3
การศึกษาไทย ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (ป1-ป6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3
นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ การศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยก การศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Modes of learning” ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15 กล่าว ว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของ การศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัด การศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จ การศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของ บุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้สามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกัน หรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน การสอน และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ
การศึกษาของมนุษย์ยุคที่มีโทรศัพท์พกติดตามตัวเป็นเครื่องมือสามารถสื่อสารออนไลน์ได้ทันทีนี้นั้นไม่จำเป็นจะต้องไปกำหนดรูปแบบของหลักสูตรให้เหมือนกันทุกโรงเรียนตามที่กระทรวงกำหนดมา..คือ..
๑.ให้ทุกโรงเรียนสามารถกำหนดหลักสูตรที่คิดว่าเหมาะสมกับวัยเด็กและภูมิสังคมของชุมชนนั้นๆได้…ตามต้องการ
๒.ไม่ต้องไปกำหนดบังคับว่าเด็กๆต้องเรียนขั้นพื้นฐานกี่ปี…มนุษย์ที่เป็นผู้ปกครองย่อมมีวิจารณญาณและความจำเป็นหรือความต้องการที่แตกต่างกัน..จึงเป็นความหลากหบลายที่มีอิสระและเสรีภาพตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง…เพราะถ้าระบบการศึกษามันดีจริงพ่อแม่ย่อมต้องพยายามส่งให้ลูกได้เรียรเองอยุ่แล้ว..
๓.ที่มีการวิเคราะห์วิจารณ์ว่าการศึกษาไทยนั้นล้มเหลว..ก็เป็นเพราะสิ่งที่รัฐพยายามยัดเยียดให้เท่าเทียมกันนั่นแหละ.คือ ตัวการที่สำคัญที่ทำให้การศึกษาขาดความหลากหลายทำให้ทุกคนแข่งขันกันจนลืมไปว่า..แท้จริงแล้วจะให้เรียนไปเพื่ออะไรกันแน่..จนเป็นการปลูกฝังให้แก่งแย่งชิงดีกันให้เห็นตัวอน่างที่ชัดเจน.คือ การแก่งแย่งกันเป็น.ตี้งแต่ สส. สจ. อบต. ผญบ. มีทุกระดับที่เป็นผลมาจากการปลูกฝังให้แข่งขันกัน.เอาเป็นเอาตาย.เพื่อทำลายกันเพราะมองว่าผู้เห็นต่างคือศรัตรู..จนมาเป็นอย่างที่เห็น..ตีกันหน้ารัฐสภาในเวลานี้…