บทคัดย่อ (Abstract) คือ ข้อความที่สำคัญ สั้น และสมบูรณ์ในตัวเอง เพื่ออธิบายผลงานชิ้นหนึ่ง โดยอาจจะประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมา ขอบเขตของงาน วัตถุประสงค์ ข้อค้นพบของงาน บทสรุปของงาน และประโยชน์ของงาน ซึ่งบทคัดย่อจะไม่ใช่การตัดตอนข้อความมาจากงานเขียน
บทคัดย่อ คือ ข้อความที่สำคัญ สั้น และสมบูรณ์ในตัวเอง เพื่ออธิบายผลงานชิ้นหนึ่ง
วัตถุประสงค์ของบทคัดย่อ
- เพื่อให้รายละเอียดกว้าง ๆ ของบทความหรือรายงานการวิจัย
- เพื่อให้บริบทแก่ผู้อ่านที่ไม่ได้อ่านบทความหรือรายงานวิจัย
- เพื่อให้นักวารสารใช้สำหรับมอบหมายงานให้ผู้ปริทัศน์บทความหรืองานวิจัย
- เพื่อให้ผู้ให้บริการบทคัดย่อและสารสนเทศใช้จัดทำดัชนีและค้นหาบทความ
- เพื่อให้ผู้ให้บริการการแปลใช้สำหรับแปลให้แก่ผู้อ่านต่างชาติ
- เพื่อช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าควรจะอ่านบทความหรือรายงานการวิจัยหรือไม่
- เพื่อช่วยเตือนความจำแก่ผู้อ่านหลังจากที่อ่านบทความหรือรายงานการวิจัยแล้ว
- เพื่อให้ผู้อ่านเน้นความสนใจไปยังสาระที่สำคัญของบทความหรือรายงานการวิจัยได้
หลักการเขียนบทคัดย่อที่ดี หลักการเขียนบทคัดย่อที่ดี จะเหมือนกับหลักการเขียนรายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ และ งานเขียนอื่น ๆ ที่เรียกว่า 4 C ดังนี้
- Complete (สมบูรณ์) ครอบคลุมส่วนสำคัญต่าง ๆ ของบทคัดย่อ และหลีกเลี่ยงการอ้างอิง เรื่องส่วนบุคคล
- Concise (กะทัดรัด) ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น และไม่กล่าวถึงสารสนเทศที่ไม่สำคัญ
- Clear (ชัดเจน) เขียนให้อ่านง่าย มีโครงเรื่องที่ดี หลีกเลี่ยงคำเฉพาะ หรือคำย่อ หรือสัญลักษณ์ ใช้ภาษาอังกฤษง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจแต่เป็นภาษาทางการ และใช้ประโยคง่าย ๆ แต่มีหลายรูปแบบเพื่อไม่ให้อ่านแล้วขาดเป็นห้วง ๆ
- Cohesive (ร้อยเรียง) เขียนให้ส่วนต่าง ๆ ร้อยเรียงกันเป็นอย่างดี
ชนิดของบทคัดย่อ บทคัดย่อ จะสามารถแบ่งได้เป็น 6 ชนิด คือ
- บทคัดย่อเชิงบรรยาย (Descriptive Abstracts)
- บทคัดย่อเชิงปริทัศน์ (Indicative Abstracts)
- บทคัดย่อเชิงสารสนเทศ (Informative Abstracts)
- บทคัดย่อเชิงโครงสร้าง (Structured Abstracts)
- บทคัดย่อเพื่อนำเสนอและประชุม (Presentation and Meeting Abstracts)
- บทคัดย่อเพื่อนิเทศ (Poster Abstracts)
เนื้อหาของบทคัดย่อ บทคัดย่อที่ใช้สำหรับรายงานการวิจัยและบทความวิชาการทั่วไป จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ส่วน (บางครั้งเรียกว่า 5 Moves) ดังนี้
- Motivation / Importance (แรงจูงใจ หรือ ความสำคัญ : ทำไมจึงทำการวิจัยเรื่องนี้)
- Statement of Purposes (วัตถุประสงค์)
- Methodology (วิธีการวิจัย : ทำวิจัยเรื่องนี้อย่างไร)
- Major Results (ผลการวิจัยที่สำคัญ)
- Conclusion / Implications (สรุป /นัยสำคัญ)
ศึกษาเอกสารเพิ่มเติม http://graduate.psru.ac.th/service/guideabstract.pdf
อ้างอิง https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=344