รายงานโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจรด้วยระบบออนไลน์ หลักสูตร “การสอนเพศวิถีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ปีการศึกษา 2562
โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เกิดขึ้นจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพสูงสุด มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
จากนโยบายดังกล่าว สพฐ. จึงได้ดำเนินการ โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเชิญชวนสถาบันอุดมศึกษาหรือบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น นำเสนอหลักสูตรอบรมพัฒนาครูให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเสนอหลักสูตรให้สถาบันคุรุพัฒนา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ทำการรับรอง และประชาสัมพันธ์ให้ครูได้เลือกหลักสูตรเพื่อพัฒนาตนเองตามความต้องการ ความจำเป็น รายบุคคล โดยจะดำเนินการจัดทำระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา เพื่อให้ครูสามารถเลือกอบรมตามความต้องการ และหน่วยงานส่วนกลางสามารถบริหารจัดการจัดสรรงบประมาณไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเป็นค่าลงทะเบียนให้กับครูที่แจ้งความประสงค์เข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ และสามารถทราบความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูในภาพรวมได้
จากความสำคัญดังกล่าว ผู้รายงานได้เลือกอบรมหลักสูตร “การสอนเพศวิถีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ปีการศึกษา 2563 ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ เมื่อผ่านการอบรมเรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอผลการประชุม อบรมเพื่อขยายผลการเรียนรู้ต่อไป
สรุปจุดประสงค์ของการอบรม
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 1 ท่านจะสามารถ
1. อธิบายความหมายของ “เพศวิถี” และบอกขอบเขตเนื้อหาของ “เพศวิถีศึกษา”
2. วิเคราะห์แนวคิดต่างขั้วของการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและผลกระทบ
3. กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาที่คำนึงถึงความสำคัญและผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 2 ท่านจะสามารถ
1. วิเคราะห์การเรียนรู้-รับรู้เรื่องราวของตนเอง
2. แยกแยะข้อเท็จจริง ความเชื่อ และมายาคติในเรื่องเพศของตน
3. วิเคราะห์ผลกระทบของความเชื่อ และอคติในเรื่องเพศ (เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ความรุนแรงทางเพศ ความรื่นรมย์ทางเพศ)
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 3 ท่านจะสามารถ
1. อธิบายอิทธิพลทางสังคม วัฒนธรรม กระบวนการเลี้ยงดู และความคาดหวังที่ส่งผลต่อความเป็นหญิงความเป็นชาย
2. เปรียบเทียบค่านิยมเรื่องเพศในสังคมไทยที่ส่งผลด้านบวก และด้านลบต่อพฤติกรรมทางเพศ และสุขภาพทางเพศ
3. ระบุแนวทางการสร้างการเรียนรู้ในเรื่องคุณค่า คุณลักษณะ ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางเพศของบุคคลและสังคม และการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 4 ท่านจะสามารถ
1. ทบทวนให้รู้ทัศนะของตนเอง ที่สร้างความรู้สึก ไม่สะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศ
2. เลือกคำพูดและท่าทีในการสื่อสาร ที่สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา ทั้งในห้องเรียนและบริบทอื่นๆ
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 5 ท่านจะสามารถ
1. อธิบายรูปแบบการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์
2. วิเคราะห์รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา
3. ระบุทัศนคติและทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการเรียนรู้จากประสบการณ์
4. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 6 ท่านจะสามารถ
1. อธิบายวิธีการสร้างความรู้สึกที่ปลอดภัย
2. บอกวิธีสร้างการมีส่วนร่วมและการใช้คำถามและการตอบรับ
3. แยกแยะลักษณะคำถามที่ท่านใช้ประจำ และคำถามที่ไม่คุ้นเคย
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 7 ท่านจะสามารถ
1. วิเคราะห์ความกังวลใจของวัยรุ่นที่เผชิญปัญหาเมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ
2. อธิบายหลักการและทักษะพื้นฐานการให้ความช่วยเหลือรายบุคคล รวมทั้งแหล่งข้อมูล เครื่องมือเพิ่มเติม
3. สามารถเชื่อมต่อการช่วยเหลือรายบุคคลในกรณีเรื่องเพศ และการตั้งครรภ์ในวัยเรียนกับการสร้างระบบสนับสนุนในโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลได้
เมื่อจบการเรียนรู้หน่วยที่ 8 ท่านจะสามารถ
1. วางแผนการทำงานเรื่องเพศในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
2. ระบุบทบาทผู้เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเรื่องเพศในสถานศึกษา
3. วิเคราะห์และวางแผนการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาภายใต้บริบทของโรงเรียนตนเองได้ ครบทั้ง 6 มิติของเพศวิถีศึกษา
4. มีแนวทางดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาทางเพศได้อย่างเหมาะสมกับเงื่อนไขของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงสิทธิทางการศึกษาและสิทธิด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน
5. มีแนวทางสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนในการทำงานเรื่องเพศ
การเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ และอื่น ๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ
1. การนำความรู้จาก หลักสูตร “การสอนเพศวิถีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ปีการศึกษา 2563 ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้คณะครูระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกท่านนำไปใช้ในการพัฒนานักเรียนในชั้นเรียนของตนเองตามกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในระดับชั้นเรียนที่รับผิดชอบ
2. ให้ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาทำการประเมินนักเรียนในชั้นเรียนตามเทคนิคและวิธีการตามความรู้ที่ได้รับจากคลิปวิดีโอ หลักสูตร “การสอนเพศวิถีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ปีการศึกษา 2563 ” ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ เพื่อฝ่ายวิชาการจะนำผลที่ได้จากการประเมินไปสู่การเรียนรู้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อกำหนดแนวทางแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่ใช้ความรู้จาก หลักสูตร “การสอนเพศวิถีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ปีการศึกษา 2563 ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
3. ให้ครูทุกท่านจัดเก็บร่อยรอยหลักฐานการจัดกิจกรรมต่างๆ ตามกลวิธีและเทคนิค หลักสูตร “การสอนเพศวิถีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ปีการศึกษา 2563 ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ ระดับชั้นเรียน เพื่อเตรียมรองรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะต่อไป
4. การประชาสัมพันธ์คณะครูในโรงเรียนให้พัฒนาผลงานทางวิชาการตาม หลักสูตร “การสอนเพศวิถีศึกษา : การพัฒนาการเรียนรู้รูปแบบ E-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ปีการศึกษา 2562 ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนของตนเอง เมื่อใช้แล้วเกิดผลดีสามารถพัฒนา เรื่องของ “เพศวิถีศึกษา” ในระดับชั้นเรียนต่อไป
ทางฝ่ายบริหารควรกระตุ้นให้ครูทุกคนในโรงเรียนคิดค้น พัฒนานวัตกรรมพัฒนากิจกรรมตามหลักสูตร หลักสูตร “เพศวิถีศึกษา” ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ เพื่อช่วยพัฒนานักเรียนในโรงเรียน และเพื่อจัดทำเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง และโรงเรียน
ขอความอนุเคราะหิรายงานอบรมเพศวิถีค่ะ
ครับผม
ขอความอนุเคราะห์รายงานอบรมเพศวิถีค่ะ
ขอความอนุเคราะห์รายงานอบรมเพศวิถีค่ะ
ดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งค์เลยครับผม