คุณสมบัติการขอมีหรือเลื่อน วิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ ว21/2560
1. ระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งครู โดยกำหนดให้แต่ละช่วงเป็นระยะเวลา 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
2. ชั่วโมงการปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ซึ่งมีการกำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ 12 ชม./สัปดาห์ รวมแล้วปีละ 800 ชม./ปี และในระยะ 5 ปี ต้องได้ 4000 ชม. สำหรับการขอมีวิทยฐานะชำนาญการและชำนาญการพิเศษ และ 900 ชม/ปี รวมระยะเวลา 5 ปี ต้องได้ 4500 ช.ม. สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โดยต้องมีชม. PLC ไม่น้อยกว่าปีละ 50 ชม.
3. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย หรือจรรยาบรรณวิชาชีพ
4. ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์และวิธีการตามที่กคศ.กำหนด (คูปองครู) ขั้นต่ำปีละ 12 ชม. แต่ในระยะเวลา 5 ปี ต้องได้ 100 ชม.หากในปีใดมีชมการพัฒนาไม่ครบ 20 ชม.ให้นำชม.ส่วนที่เกินจาก PLC 50ชม.มารวมได้
5. ผ่านการประเมิน ผลการปฏิบัติงานในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษา
เอกสารประกอบการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประกอบการพิจารณาขอเลื่อนวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ / ครูเชี่ยวชาญ (สำหรับการประเมินวิทยฐานะ ว21)
1. ด้านการจัดการเรียนการสอน
1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร
1.2 การจัดการเรียนรู้
1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์
1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้
1.2.4 คุณภาพผู้เรียน
1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้
1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน
2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน
2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
3. ด้านการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ
3.1 การพัฒนาตนเอง
3.2 การพัฒนาวิชาชีพ
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน มี 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร เช่น
1) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาที่สอน
2) หน่วยการเรียนรู้ของรายวิชาที่สอน
3) หลักฐานการประเมินผล การใช้หลักสูตรกลุ่มสาระ การเรียนรู้/รายวิชาที่สอน
4) วุฒิบัตร เกียติบัตร โล่รางวัล คำสั่ง หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารหลักสูตรโรงเรียน รวมถึงรายวิชาที่สอน
– เอกสารคำสั่งพัฒนาโรงเรียน และเอกสารการวิเคราะห์หลักสูตร
– เอกสารแบบประเมินหลักสูตร
– เอกสารแผนการสอน
– เอกสารการนิเทศการสอน รวมถึงนิเทศแผนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 1.2 การจัดการเรียนรู้ มี 4 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
- ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
1) ใบรับรองการผ่านการทดสอบความรู้จากสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
2) วุฒิบัตร, เกียรติบัตร, ใบรับรอง, โล่, รางวัล หรือหลักฐานการศึกษาต่อ
3) หนังสือเชิญ คำสั่ง หนังสือขอบคุณ ฯลฯ
4) เอกสารทางวิชาการที่ศึกษา
5) ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ
6) เอกสาร หลักฐาน อื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
ตัวชี้วัดที่ 1.2 การจัดการเรียนรู้ มี 4 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
– เอกสารแบบวิเคราะห์หลักสูตร
– เอกสารหน่วยการเรียนรู้วิชาที่สอน
– เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน
– เอกสารนิเทศการสอน และนิเทศแผน
– เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา - ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์
จัดทำแผนการสอนรายบุคคล (IIP) คือ การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ หรือการบำบัดฟื้นฟู เป็นการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้หรือการบำบัดฟื้นฟูไว้ล่วงหน้าอย่าง เป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ คือ การกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริม พัฒนาการที่สมดุลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการ เล่นที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
1) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้ กระบวนการวิจัย หรือการดำเนินการวิจัย
2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือการให้คำแนะนำ
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารแบบวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
– เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน
– เอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
– เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา - ตัวชี้วัดที่ 1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้
ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
1) แผนการจัดการเรียนรู้
2) สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้
3) หลักฐานหรือร่องรอยการประเมินผลการใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้
4) คำสั่ง และร่องรอยการเป็นพี่เลี้ยง และให้คำแนะนำ
5) หลักฐานและร่องรอยอื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารแผนการสอน และบันทึกหลังสอน
– เอกสารทะเบียนการผลิต หรือการใช้สื่อ
– เอกสารร่องรอยการใช้สื่อการสอน
– เอกสารนิเทศการสอน วิธีการสอน
– เอกสารบันทึกแนะแนวชั้นเรียน หรือการโฮมรูม
– เอกสารรูปภาพประกอบกิจกรรม - ตัวชี้วัดที่ 1.2.4 คุณภาพผู้เรียน
เตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสาร ปพ.5,6,8 หรือที่เกี่ยวข้อง
– เอกสารตารางวิเคราะห์ผลการเรียน - ตัวชี้วัดที่ 1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้
ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
1) สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้
2) หลักฐาน ร่องรอยการประเมินผล และหรือปรับปรุงสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และ แหล่งเรียนรู้
3) หลักฐาน ร่องรอยการประเมินผล การนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่ง เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง
4) หลักฐานและร่องรอยอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารทะเบียนการผลิต หรือการใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้
– เอกสารเกียรติบัตร
– เอกสารแบบประเมินสื่อ
– เอกสารบันทึกเผยแพร่
– เอกสารแบบบันทึกการให้คำแนะนำ และแนวทางการให้คำปรึกษา
ตัวชี้วัดที่ 1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
1) แผนการจัดการเรียนรู้
2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการวิเคราะห์ ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เพื่อวัดและประเมินผลการเรียนรู้
3) เครื่องมือที่ใช้ในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ และเกณฑ์การให้คะแนน
4) ภาระงาน ชิ้นงานของผู้เรียน
5) คำสั่ง และร่องรอยการเป็นพี่เลี้ยง และให้คำแนะนำด้านการวัดและประเมินผล
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– ข้อสอบ แบบทดสอบ การประเมินสภาพจริง
– เครื่องมือที่ใช้วัดผลต่าง ๆ เช่น เอกสารแผนการสอน บันทึกหลังสอน เอกสารการประเมินสภาพจริง เอกสารแบบวิเคราะห์ตัวชี้วัด เอกสารแสดงชิ้นงานนักเรียน และเอกสารแสดงแบบวิเคราะห์ข้อสอบ
ตัวชี้วัดที่ 1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ตรวจสอบจากเอกสาร หลักฐาน แหล่งข้อมูล ดังนี้
1) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือการดำเนินการวิจัย
2) หลักฐาน ร่องรอย ที่แสดงถึงการเป็นผู้นำ หรือการให้คำแนะนำตรวจสอบจากแฟูมเอกสารหลักฐาน การบริหารจัดการชั้นเรียน
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารวิจัยในชั้นเรียน
– เอกสารวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
– เอกสารการสอนเสริม
– เอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน มีจำนวน 3 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
- ตัวชี้วัดที่ 2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารแสดงการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน มุมสื่อต่าง ๆ
– เอกสารทะเบียนสื่อ
– เอกสารแสดงรูปภาพที่เด็กมีส่วนร่วม
– เอกสารแสดงผลงาน ชิ้นงานนักเรียน หรือแฟูมสะสมงานนักเรียน
– สารสนเทศชั้นเรียน เช่น การโฮมรูม, การทำความดี, การจัดบอร์ด, ข้อตกลงในห้องเรียน,บอร์ดผลงานเด็ก - ตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัตินักเรียน
– เอกสารการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
เอกสารเกี่ยวกับทุนต่างๆ, การเยี่ยมบ้าน, กรณีศึกษา, การคัดกรองนักเรียน,การแนะแนว, การวิจัย, รวมถึงภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารชั้นเรียนต่างๆ
– เอกสารประจำวิชา
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ มีจำนวน 2 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้
- ตัวชี้วัดที่ 3.1 การพัฒนาตนเอง
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารแผนพัฒนาตนเอง (Id plan)
– เอกสารรวบรวมเกียรติบัตร
– เอกสารบันทึกการศึกษาเอกสารวิชาการ
– เอกสารบันทึกการค้นคว้า
– เอกสารการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR)
– เอกสารชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC)
– เอกสารการเผยแพร่ผลงาน และหนังสือขอบคุณต่างๆ - ตัวชี้วัดที่ 3.2 การพัฒนาวิชาชีพ
ตัวอย่างแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสาร เช่น
– เอกสารแบบบันทึก PLC
– เอกสารแบบฝึกต่างๆ หรือใบงาน และอื่น ๆ
เกณฑ์การประเมิน
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน
1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำและหรือพัฒนาหลักสูตรรายวิชา หรือ สาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ โดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชาหน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งมีการประเมินความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือ ผลการเรียนรู้
1. วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและหรือผลการเรียนรู้ และนำไปจัดทำรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด และหรือผลการเรียนรู้
2. ปรับประยุกต์หลักสูตรรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียนท้องถิ่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
3. ประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบและนำผลการประเมิน การใช้หลักสูตร มาปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้น
4. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ เป็นพี่เลี้ยง และ เป็นที่ปรึกษาด้านหลักสูตร
1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ หมายถึงการจัดทำและหรือพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติ (Active learning) โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ และประเมินผลหน่วยการเรียนรู้
1. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษาท้องถิ่นและเหมาะสมกับผู้เรียน
2. มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้อย่างหลากหลายและสามารถนำไปปฏิบัติจริง
3. ประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น
4. เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นผู้นำ เป็นพี่เลี้ยงและเป็นปรึกษา ด้านการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) / แผนการสอนรายบุคคล (IIP) แผนการจัดประสบการณ์
• การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) หมายถึง การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา หรือ การบำบัดฟื้นฟูของแต่ละบุคคล โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร และสหวิชาชีพ เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล ตลอดจนกำหนดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้เฉพาะบุคคลอย่างเป็นระบบ และ เป็นลายลักษณ์อักษร
• การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ เป็นการเตรียมการสอน หรือ การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้า อย่างเป็นระบบ และ เป็นลายลักษณ์อักษร
• การจัดทำแผนการสอนรายบุคคล (IIP) หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้หรือการบำบัดฟื้นฟู เป็นการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้หรือการบำบัดฟื้นฟูไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
• การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ หมายถึงการกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่สมดุลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล
1. วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
2. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ธรรมชาติของผู้เรียน และบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามรูปแบบที่หน่วยการศึกษาหรือต้นสังกัดกำหนดและสามารถนำไปปฏิบัติจริง
3. มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน
4. มีบันทึกหลังการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนำผลมาปรับประยุกต์แผนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพสูงขึ้น
5. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ เป็นพี่เลี้ยง และ เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการจัดการเรียนรู้ที่แยบยล โดยใช้เครื่องมือ รูปแบบ เทคนิค และวิธีการอย่างหลากหลาย ที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
1.จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ เทคนิค และ วิธีการที่เน้นวิธีการปฏิบัติ มีความหลากหลาย ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี การจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือ ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ และสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนและสาระการเรียนรู้
2. ประเมินผลการใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้และนำผลการประเมินมาปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้น
3.นิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา
4. กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง
5.เป็นแบบอย่างที่ดี และ เป็นผู้นำ
1.2.4 คุณภาพผู้เรียน หมายถึง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของสาระการเรียนรู้ มีสมรรถนะที่สำคัญ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรจำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีผลการพัฒนาคุณภาพเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ หมายถึง การเลือก คัดสรร ใช้ สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้
1. สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เหมาะสมกับผู้เรียน สอดคล้องกับเนื้อหาสาระมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้
2. ประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น
3. สามารถนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ไปปรับประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง
4. เป็นแบบอย่างที่ดี และ เป็นผู้นำ
1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ ที่เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุง พัฒนา ตัดสินผลการเรียนรู้ ความก้าวหน้า และพัฒนาการของผู้เรียน ที่สะท้อนระดับคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้
1. สร้างและพัฒนา เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และหรือผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้
2. มีการประเมินตามสภาพจริงมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
3. มีการประเมินคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และนำผลการประเมินคุณภาพของเครื่องมือวัด และประเมินผลการเรียนรู้ ไปปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น
4. เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ เป็นพี่เลี้ยง และให้คำปรึกษา ด้านการวัดและประเมินผล
1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหา หรือ พัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
1.ใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหาและหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้วิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น
2. นำผลการแก้ปัญหา หรือ การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการวิจัยหรือการดำเนินการวิจัยไปใช้
3. เป็นผู้นำ และ ให้คำแนะนำในการใช้กระบวนการวิจัย หรือดำเนินการวิจัยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อแก้ปัญหา และหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน
2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพ บรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา อบรมบ่มนิสัย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสร้างแรงบันดาลใจ และเสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีความปลอดภัยและมีความสุข
1. ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ในการจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความปลอดภัยและมีความสุข
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดมีทักษะชีวิต และทักษะการทำงาน
3. อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.เสริมแรงให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ เกิดแรงบันดาลใจ
5. เป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน
2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน หมายถึง การดำเนินการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำและให้สารสนเทศของผู้เรียนจัดทำโครงการและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาของผู้เรียนรายบุคคล
1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์จัดทำและใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2.มีโครงการและจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
4.นำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง
5.เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้นำ
2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือ ประจำวิชา หมายถึง การดำเนินการรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนในทุกด้าน ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นสารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนประจำชั้น หรือ ประจำวิชาที่รับผิดชอบ
1.จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือ ประจำวิชา อย่างเป็นระบบ ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
2. ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน
3. ให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษาด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
4. เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้นำ
ด้านที่ 3 ด้าานการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
3.1 การพัฒนาตนเอง หมายถึง กระบวนการ พัฒนาสมรรถนะของครูรายบุคคล โดยมีแผนการพัฒนาตนเอง และดำเนินการตามแผน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็น องค์ความรู้ใหม่ หรือตามนโยบาย หรือแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัดโดยการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
1.จัดทำแผนพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานความต้องการจำเป็น หรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัด
2. พัฒนาตนเองตามแผน
3. นำความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง มาพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
4. สร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่ได้จากการพัฒนาตนเอง
5. เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นผู้นำ
3.2 การพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู โดยการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระดับสถานศึกษาหรือ ระดับเครือข่าย หรือ ระดับชาติ และแสดงบทบาทในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ด้วยความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร ที่มีวิสัยทัศน์ คุณค่าเป้าหมายและภารกิจร่วมกัน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรและสร้างนวัตกรรมจากการเข้าร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาวิชาชีพมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน