วันอาทิตย์, 1 ตุลาคม 2566

หมวด 8 การออกจากราชการ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

หมวด 8 การออกจากราชการ

การออกจากราชการ หมายถึง การพ้นจากสภาพการเป็นข้าราชการ

การออกจากราชการ

         ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 107 ได้บัญญัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการเมื่อ

1. ตาย

2. พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ

3. ลาออกจากราชการ และได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือการลาออกมีผลตามมาตรา 108

         – การลาออกต้องทำเป็นหนังสือ

         – ต้องยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน

         – การลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมัครับเลือกตั้ง ให้การลามีผลตั้งแต่วันที่ขอลาออก ต้องยื่นก่อนอย่างช้าในวันที่ลาออก

         – ผู้บังคับบัญชาสามารถยับยั้งการลาออกได้ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันขอลาออก

         – ผู้ขอลาออก สามารถถอนใบลาออกได้ แต่ต้องทำเป็นหนังสือยื่นให้ผู้มีอำนาจพิจารณา

4. สั่งให้ออกตามมาตรา 49 มาตรา 56 วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคห้า มาตรา 103 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 มาตรา 114 หรือมาตรา 118

         – ขาดคุณสมบัติทั่วไป

         – ถูกสั่งให้ออกเพราะไม่ผ่านการประเมินเตรียมความพร้อมพัฒนาอย่างเข้ม

         – อยู่ในระหว่างการสอบสวนทางวินัย

         – เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน

         – เพราะถูกกล่าวหา

         – เพราะหย่อนความสามารถ

         – เพราะมีมลทินมัวหมอง

         – เพราะต้องไปรับโทษจำคุก

         – เพราะต้องไปรับราชการทหาร

5. ถูกสั่งลงโทษ ปลดออก หรือ ไล่ออก

         – ปลดออก (มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญ เสมือนว่า เป็นผู้ลาออกจากราชการ)

         – ไล่ออก (ไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญ)

6. ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

         – พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา43 บัญญัติให้ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น  ตามมาตรา38 ค. (1) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษจําคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท

การลาออกจากราชการ

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ สามารถทำได้ดังนี้

1. ยื่นหนังสือลาออกต่อผู้บังคับบัญชา

2. ผู้มีอำนาจตามมารตรา 53 พิจารณาอนุญาต

         – ถ้าผู้มีอำนาจยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกสามารถยับยั้งได้ไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันขอลาออก

         – เมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้ว ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง

         – ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่ได้ยับยั้งการลาออก ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันขอลาออก

3. การลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]