วินัยและการรักษาวินัย
คำว่า“วินัย”ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 หมายถึง ระเบียบแบบแผนข้อบังคับ , ข้อปฏิบัติ
“วินัย” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Discipline หมายถึง เครื่องควบคุมพฤติกรรมของคน
ความหมายของการรักษาวินัย
การรักษาวินัย หมายถึง การที่ข้าราชการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางวินัย ตามที่กฏหมายบัญญัติอย่างเคร่งครัด ระมัดระวัง ดูแลป้องกัน ไม่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยง หากพบว่ามีการกระทำผิดผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยทันที เพื่อมิให้เป็นเยื่องอย่างแก่ผู้อื่น
จุดมุ่งหมายของวินัย
ครูเป็นบุคคลที่สำคัญมากในการพัฒนางาน ตลอดจนถึงพัฒนาประเทศ ถ้าครูมีวินัยมีความรู้ความสามารถ เชื่อว่าประเทศชาติจะต้องเจริญ
วัตถุประสงค์ของวินัย
1. เพื่อส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพของข้าราชการและรักษาประโยชน์ของทางราชการ
2. และมีจุดมุ่งหมายเพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของข้าราชการ
ลักษณะของวินัย
วินัยมีลักษณะเป็นข้อบัญญัติ เพื่อควบคุมและส่งเสริมให้ข้าราชการอยู่ในกรอบแห่งความประพฤติอันดีงาม ลักษณะของวินัยเป็นแบบแผนยึดถือปฏิบัติ (Norm) , ต้องปฏิบัติ (Do) , ห้ามปฏิบัติ (Don’t)
ลักษณะความผิดที่เกี่ยวข้องกับวินัยข้าราชการครู
หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าการกระทำอย่างใด ถือเป็นความผิดวินัย
- การกระทำนั้นมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของทางราชการหรือไม่
- มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือไม่
- มีผลกระทบต่อความผาสุกของประชาชนหรือไม่
- มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของทางราชการหรือไม่
วินัยแบ่งออกเป็น 7 ประเภท
1. วินัยต่อประเทศชาติ สนับสนุนและวางรากฐานการปกครองในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. วินัยต่อหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งในหน้าที่โดยชอบด้วยกฏหมาย
4. วินัยต่อผู้เรียน การอุทิศเวลา ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลเคารพสิทธิ ไม่ข่มเหง ไม่ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียน
5. วินัยต่อประชาชน ให้การต้อนรับอำนวยความสะดวก ให้ความเป็นธรรม ไม่กลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยามประชาชน
6. วินัยต่อผู้ร่วมงาน การรักษาความสามัคคี สุภาพเรียบร้อย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
7. วินัยต่อตนเอง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รักษาชื่อเสียง ไม่กระทำการใดๆให้เสื่อมเสียชื่อเสียง