ลักษณะสําคัญของเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา
แบบทดสอบ แบบวัด หรือเครื่องมือสําหรับในการวัดและประเมินผลทางการศึกษาที่ดี ควรมี
1. ความเที่ยงตรงสูง นั่นคือ สามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือสิ่งที่ต้องการวัด
2. มีความเชื่อมั่นดี หมายถึง ผลที่วัดคงที่แน่นอนไม่เปลี่ยนไปมา วัดซ้ํากี่ครั้งกับกลุ่มตัวอย่างเดิมได้ผลเท่าเดิม หรือใกล้เคียงกัน สอดคล้องกัน
3. มีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากหรือง่ายเกินไป
4. มีอํานาจจําแนกได้ สามารถแบ่งแยกผู้สอบออกตามระดับความสามารถเก่งและอ่อนได้ โดยคนเก่งจะตอบข้อสอบได้ถูกมากกว่าคนอ่อน
5. มีประสิทธิภาพ หมายถึงทําให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ลงทุนน้อย
6. มีความยุติธรรม ไม่เปิดโอกาสให้ได้เปรียบเสียบเปรียบ
7. มีความจําเพาะเจาะจง
8. ใช้คําถามที่ลึก
9. มีคําถามยั่วยุ
1.ความเที่ยงตรง(validity)
ในการสร้างแบบทดสอบหรือเครื่องมือวิจัยสําหรับเก็บข้อมูล มักจะกล่าวถึงความเที่ยงตรง ซึ่งมักจะมีความหมายและรายละเอียดดังนี้
1.1 ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity) หมายถึง การวัดนั้นสามารถวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาและวัดได้ครบถ้วนตามจุดประสงค์ของการวัด ในทางปฏิบัติมักจะต้องทําตารางจําแนกเนื้อหา จุดประสงค์ ตามที่ต้องการก่อนจะทําการออกข้อสอบหรือแบบวัด
1.2 ความเที่ยงตรงเชิงสัมพันธ์ (criterion-related validity) แบ่งการออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) คือคาคะแนนจากแบบสอบสามารถทํานายถึงผลการเรียนในวิชานั้นๆ ได้อย่างเที่ยงตรง
2. ความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) หมายถึงค่าคะแนนที่ได้จากแบบสอบสะท้อนผลตรงตามสภาพเป็นจริง กล่าวคือ เด็กเก่งจะได้คะแนนสอบสูง ส่วนเด็กอ่อนจะได้คะแนนต่ำจริง
1.3 ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง(construct validity) หมายถึงคะแนนจากแบบวัดมีความสอดคล้องกับลักษณะและพฤติรรมจริงของเด็ก เช่น สอดคล้องกับความรู้ ความีเหตุผล ความเป็นผู้นํา เชาว์ปัญญา เป็นต้น
2. ความเชื่อมั่น (reliability)
แบบทดสอบที่ดีต้องมีความเชื่อมั่นได้ว่าผลจากการวัดคงที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนไปมา การวัดครั้งแรกเป็นอย่างไร เมื่อวัดซ้ำอีกโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมผู้ถูกทดสอบกลุ่มเดิม จะวัดกี่ครั้งก็ได้ตามผลการวัดควรจะเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงเดิม สอดคล้องกัน
3. ความเป็นปรนัย (objectivity)
ความเป็นปรนัยหมายถึง ความชัดเจน ความถูกต้อง ความเข้าใจตรงกัน โดยยึดถือความถูกต้องทางวิชาการเป็นเกณฑ์ การสร้างแบบทดสอบใดๆ จำเป็นต้องมีความชัดเจนเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ออกข้อสอบและผู้ทำข้อสอบ ความเป็นปรนัยพิจารณาได้ 3 ประการ คือ
1 ผู้อ่านข้อสอบทุกคนเข้าใจตรงกัน
2 ผู้ตรวจทุกคนให้คะแนนได้ตรงกัน
3 แปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน
4. ความยากง่าย (Difficulty)
ความยากง่าย ของข้อสอบพิจารณาได้จากผลการสอบของผู้สอบเป็นสำคัญ ข้อสอบใดที่ผู้สอบส่วนมากตอบถูก ค่าคะแนนเฉลี่ยของข้อสอบสูงกว่า 50% ของคะแนนเต็มอาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อสอบที่ง่ายหรือค่อนข้างง่ายข้อสอบที่มีความยากง่ายพอเหมาะ คะแนนเฉลี่ยของข้อสอบควรมีประมาณ 50% ของคะแนนเต็มค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 50% แสดงว่าเป็นข้อสอบค่อนข้างยาก ข้อสอบที่ดีควรมีความยากง่ายพอเหมาะ ไม่ยากหรือง่ายเกินไป ข้อสอบฉบับหนึ่ง ควรมีผู้ตอบถูกไม่ต่ำกว่า 20 คนและไม่เกิน 80 คนจากผู้สอบ 100 คน นั่นคือค่า P อยู่ระหว่าง.20-.80 จึงถือว่าเป็นข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายพอเหมาะ
5. อำนาจจำแนก (Discrimination)
อำนาจจำแนก คือลักษณะของแบบทดสอบที่สามารถแบ่งเด็กออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ทุกระดับตั้งแต่อ่อนสุดจนถึงเก่งสุด แม้ว่าจะเก่งอ่อนกว่ากันเพียงเล็กน้อยก็สามารถชี้จำแนกให้เห็นได้ข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกสูงนั้น เด็กเก่งมักตอบถูกมากกว่าเด็กอ่อนเสมอ ข้อสอบที่ทุกคนทำถูกหมดจะไม่สามารถบอกอะไรเราได้เลย หรือผิดหมดไม่สามารถบอกได้ว่าใครเก่งหรืออ่อน
6. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
เครื่องมือวัดผลที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงเครื่องมือที่ทำให้ได้ข้อมูลได้ ถูกต้องเชื่อถือได้โดยลงทุนน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในแง่เวลา แรงงาน และทุนทรัพย์รวมทั้งความสะดวกสบายคล่องตัวในการรวบรวมข้อมูล ข้อสอบที่มีประสิทธภาพสามารถให้คะแนนได้เที่ยงตรงและเชื่อถือมากที่สุดโดยใช้เวลาแรงงานและเงินน้อยที่สุด แต่ประโยชน์ ที่ได้จากการสอบคุ้มค่า ข้อสอบที่พิมพ์ผิดตกหล่นมาก จำนวนหน้าไม่ครบ รูปแบบของแบบทดสอบเรียงไม่เป็นระเบียบทำให้ผู้สอนเกิดความสับสน มีผลต่อคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบทั้งสิ้น การจัดรูปแบบของข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบเพื่อให้ดูง่ายมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยนิยมพิมพ์แบ่งครึ่งหน้ากระดาษ
7. ความยุติธรรม (Fair)
ความยุติธรรม ข้อสอบทีดีต้องไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ข้อสอบบางฉบับครูไปเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งตรงกับเรื่องที่เด็กทำรายงานในบางกลุ่ม ทำให้กลุ่มนั้นได้เปรียบคนอื่นๆ ข้อสอบบางข้อใช้คำถามหรือข้อความที่แนะคำตอบ ทำให้นักเรียนใช้ไหวพริบเดาได้การใช้ข้อสอบแบบอัตนัยเพียง 5 หรือ 10 ข้อมาทดสอบเด็กนั้น ไม่อาจสร้างความยุติธรรมในการสอนให้แก่เด็กได้ เพราะผู้สอบมีโอกาสเก็งข้อสอบได้ถูกมากกว่าแบบปรนัยที่ถามถึง 100 ข้อ
8. คำถามถามลึก (Searching)
ข้อสอบที่ถามลึกไม่ถามแต่เพียงความรู้ความจำเท่านั้น แต่จะถามวัดความเข้าใจการนำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วมาแก้ปัญหา วิเคราะห์ ตลอดจนสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ขึ้นมาจนท้ายที่สุดคือ การประเมินผลคำถามที่ถามลึกนั้นผู้ตอบต้องคิดค้นก่อนจึงจะสามารถหาคำตอบได้ มิใช่เพียงแต่ระลึกถึงประสบการณ์ต่างๆ เพียงตื้น ๆ ก็ตอบปัญหาได้ แต่เป็นแบบทดสอบที่วัดความลึกซึ้งทางวิชาการตามแนวดิ่งมากกว่าจะวัดตามแนวกว้าง
9. คำถามยั่วยุ (Exemplary)
คำถามยั่วยุ ได้แก่คำถามที่มีลักษณะท้าทายให้เด็กอยากคิดอยากทำ มีลีลาการถามที่น่าสนใจ ไม่ถามวนเวียนซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย การใช้รูปภาพประกอบก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่ทำให้ข้อสอบน่าสนใจ ข้อสอบที่ยากเกินไปทำให้ผู้สอบหมดกำลังใจที่จะทำ ส่วนข้อสอบที่ง่ายเกินไป ก็ไม่ท้าทายให้อยากทำ การเรียงคำถามจากข้อง่ายไปหายากเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ข้อสอบมีลักษณะท้าทายน่าทำ
10. จำเพาะเจาะจง (Definite)
คำถามที่ดีต้องไม่ถามกว้างเกินไป ไม่ถามคลุมเครือหรือเล่นสำนวนให้เด็กงง เด็กอ่านแล้วต้องเข้าใจชัดเจนว่าครูถามอะไร ส่วนจะตอบได้หรือไม่อยู่ที่ความสามารถของผู้ตอบเป็นสำคัญ
เรื่องล่าสุด
- ความสําคัญของ วันที่ 5 ธันวาคม ประวัติวันพ่อแห่งชาติในประเทศไทย
- เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA 2566 ใหม่ล่าสุด
- ดาวน์โหลดติดตั้ง Power BI ใช้งานเบื้องต้นง่ายๆ เครื่องมือ วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล
- ข้อสอบเก่า ก.พ. สอบผ่านแล้ว เลยอยากแบ่งปันไฟล์ให้เพื่อนๆ
- เฉลยข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ 2566 จำนวน 50 ข้อ ครบทุกหมวด
สมาชิกแสดงความคิดเห็น
ทางรร.ไทรัฐวิทยา95จ.…
อยากเข้าใช้ระบบของปี…
เข้าไม่ได้เลยย!!!!!!…
กลุ่มเรื่องฮิตที่น่าสนใจ
cover excel PA pdf powerpoint SAR ก.พ. กพ ข้อสอบ ข้อสอบคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ครูผู้ช่วย คอมพิวเตอร์ จรรยาบรรณ ดาวน์โหลด ปก ย้าย ว21 วิจัย วิจัยในชั้นเรียน วิชาชีพครู วิทยฐานะ สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบ แผนการสอน
13. ขณะขับรถตรวจพบแอ…