วันเสาร์, 23 กันยายน 2566

การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ

การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ

การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ  หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา มาตรา 31-46

1. กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท

2. การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือรูปของคณะกรรมการ

3. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดเขตพื้นที่การศึกษา

4. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสม เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฏหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา

5. ผู้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา

6. จำนวนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

7. จำนวนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

8. ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ กำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม เลิก สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาฯ

9. ให้กระทรวงกระจายอำนวจและการบริหารและการจัดการศึกษา

10. มีการตั้งคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

11.  มีการตั้งคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


คําจํากัดความ เกี่ยวกับความผิดทางวินัย

คําจํากัดความ เกี่ยวกับความผิดทางวินัย

ความผิดลหุโทษ หมายถึง ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทอดทิ้งหน้าที่ราชการ หมายถึง มาอยู่ในสถานที่ราชการแต่ไม่สนใจเป็นธุระไม่ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ปล่อยให้งานคั่งค้าง

กลั่นแกล้ง หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกทรมานทางจิตใจ หรือ ร่างกาย ชั่วคราว หรือต่อเนื่อง หากปล่อยให้กลายเป็นพฤติกรรมที่เลวร้าย

ดูหมิ่น หมายถึง ดูถูกว่าไม่ดี สบประมาท

เหยียดหยาม หมายถึง ดูถูกหรือรังเกียจโดยเหยียดให้ต่ำลง

กดขี่ หมายถึง ข่มให้อยู่ในอำนาจของตน โดยใช้อำนาจบังคับ

ข่มเหง หมายถึง ใช้กำลังรังแก


ความหมายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ข้าราชการครูตาม (จ.18) หมายถึง ข้าราชการครูที่กำหนดไว้ตาม จ.18 ของโรงเรียน ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนข้าราชการครูที่สอนในโรงเรียนจริง เนื่องจากมีข้าราชการครูบางส่วนไปช่วยราชการที่โรงเรียนอื่นหรือศึกษาต่อ หรือข้าราชการครูจากโรงเรียนอื่นมาช่วย

ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา หมายถึง ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษานั้น ๆ จริง ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนข้าราชการครูตามกรอบอัตรากำลัง เนื่องจากมีข้าราชการครูบางส่วนไปช่วยราชการที่โรงเรียนอื่นหรือลาศึกษาต่อ หรือข้าราชการครูจากโรงเรียนอื่นมาช่วยราชการ

ครูผู้ช่วย หมายถึง ข้าราชการครูที่อยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติราชการ

ครู หมายถึง ข้าราชการครู คศ.1 และ ครู คศ.2 ที่ยังไม่ได้รับการประเมินวิทยฐานะ

ครูชำนาญการ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ.2

ครูชำนาญการพิเศษ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ.3

ครูเชี่ยวชาญ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ.4

ครูเชี่ยวชาญพิเศษ หมายถึง ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือน คศ.5

ครูอัตราจ้างชั่วคราว หมายถึง ครูที่จ้างชั่วคราวด้วยงบประมาณในโครงการต่าง ๆ จากส่วนราชการที่
จัดสรรให้ และจากงบประมาณอื่น

ลูกจ้างประจำ หมายถึง ลูกจ้างประจำที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณของทางราชการหมวดลูกจ้างประจำ

ลูกจ้างชั่วคราว หมายถึง ลูกจ้างที่จ้างชั่วคราวด้วยเงินงบประมาณของทางราชการ และจากงบประมาณอื่น

พนักงานราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้าง โดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]

สมาชิกแสดงความคิดเห็น