สรุปองค์ความรู้ เรื่อง Active Learning

สรุปองค์ความรู้ เรื่อง Active Learning

สรุปองค์ความรู้ เรื่อง Active Learning สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ในศตวรษที่ 21 ว่า ผู้สอน ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทตนเองจากการผู้บรรยายเป็น คณะผู้สอนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันออกแบบกิจกรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ (Pedagogy) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสามารถสร้างองค์ ความรู้ด้วยตนเองโดยผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก และแนะนำการเข้าถึงองค์ความรู้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ และน้ำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในห้องเรียน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นั้นเรียกว่า Active Learning การสอนรูปแบบเก่าผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และแนวคิด ส่วนผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้จึงเป็น วิธีการที่นเบื่อ ผู้เรียนเป็นผู้รอรับความรู้ฝ่ายเดียว ทำให้ผู้เรียนมีการจดจำสั้น ขาดทักษะการอ่าน การคิด

การสอนด้วยวิธีการ Active Learning จะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้มากขึ้น โดยผู้สอน เป็นผู้อำนวยความสะดวก แนะนำช่วยเหลือสนับสนุนการเรียนรู้ ส่งผลทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนการสอน ที่ดีขึ้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จึงช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน ช่วยให้ ผู้เรียนเข้าใจบทเรียน สนใจ และเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้เรียนในการเรียนรู้ (Morable, 2000) อ้างถึงใน นนทลี พรธาดาวิทย์ (2559: 18) จากการวิจัยของ Hoellwarth & Moelter (2011) อ้างถึงใน นนทลี พรธาดาวิทย์ (2559: 18) พบว่า การปรับเปลียนวิธีการสอนฟิสิกส์จากวิธีการสอนแบบดั้งเดิม เป็นวิธีการสอนแบบ Active Learning ทำให้ประสิทธิภาพการสอนดีขึ้นโดยผู้เรียนร้อยละ 38 มีคะแนนพัฒนาขึ้นจาก ร้อยละ 12 เป็น มากกว่าร้อยละ 50 ในทำนองเดียวกัน Prince (2004) อ้างถึงใน นนทลี พรธาดาวิทย์ (2559: 18) ได้นำ Active Learning มาใช้ในการสอนวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ การแก้ปัญหา พบว่า เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนกระตือรือรัน เช่นเดียวกับ Michael (2006) อ้างถึงใน นนทลี พร ธาดาวิทย์ (2559: 18) ได้นำ Active Learning ไปใช้ในการสอนการเติบโตของร่างกายในวิชาวิทยาศาสตร์ ชุมชน พบว่า เป็นวิธีการที่ได้รับการสนับสนุน และยอมรับจากผู้เรียน

จากผลการวิจัยดังกล่าวสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม วิธีการ หรือรูปแบบการสอน ทำให้ผู้เรียนสนใจ บทเรียน และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้สอนควรใช้หลักการของ Active Learning ออกแบบรูปแบบการสอนต่างๆให้เหมาะกับเนื้อหาที่ ผู้เรียน และชั้นเรียน จะส่งผลให้ผู้สอนเป็นลักษณะผู้สอน เชิงรุก (Active Teacher) ไม่ใช่เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหาเท่านั้น แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหา และผู้สอนเชิงรุก เตรียมโอกาสให้กับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น และเป็นนักคิดที่ไม่หยุดนิ่ง เมื่อ การเรียนมีบรรยากาศเชิงรุก ย่อมทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาได้นาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ใน บริบทต่างๆในขอบเขตที่กว้าง ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ จึงต้องเปลี่ยนจาก Passive Learning เป็น Active Learning เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559: 18)

ชุดข้าราชการ หญิงแขนสั้น
ชุดกากี
สั่งซื้อได้เลยจาก Shopee

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *