วันอาทิตย์, 1 ตุลาคม 2566

งบประมาณที่สถานศึกษา

การบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษามุ่งเน้นความเป็นอิสระ  ในการบริหารจัดการมีความคล่องตัว  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน  ให้มีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิทของสถานศึกษา  รวมทั้งจัดหารายได้จากบริการมาใช้บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน

  1. วัตถุประสงค์

เพื่อให้สถานศึกษาบริหารงานด้านงบประมาณมีความเป็นอิสระ  คล่องตัว  โปร่งใสตรวจสอบได้

  1. เพื่อให้ได้ผลผลิต  ผลลัพธ์เป็นไปตามข้อตกลงการให้บริการ
  2. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่ได้อย่างเพียงพอและประสิทธิภาพ
  • ขอบข่ายภารกิจ

3.1 กฎหมาย  ระเบียบ  และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่  2)

2.  พระราชบัญญัติบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ.  2546

3.  ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ  พ.ศ.  2545

4.  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551

5.  แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา  พ.ศ.  2550

รายจ่ายตามงบประมาณ  จำแนกออกเป็น  2  ลักษณะ

  1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
  2. งบบุคลากร
  3. งบดำเนินงาน
  4. งบลงทุน
  5. งบเงินอุดหนุน
  6. งบร่ายจ่ายอื่น

งบบุคลากร  หมายถึง  รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐ  ได้แก่รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน  ค่าจ้างประจำ  ค่าจ้างชั่วคราว  และค่าตอบแทนพนักงานราชการ  รวมถึงราจจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะราจจ่ายดังกล่า

งบดำเนินงาน  หมายถึง  รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ  ได้แก่  รายจ่ายที่จ่ายใน

ลักษณะค่าตอบแทน  ค่าใช้สอย  ค่าวัสดุ  และค่าสาธารณูปโภค  รวมถึงราจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

งบลงทุน  หมายถึง  รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน  ได้แก่  รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์  ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง  รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

งบดำเนินงาน  หมายถึง  รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ  ได้แก่  รายจ่ายที่จ่ายใน

ลักษณะค่าตอบแทน  ค่าใช้สอย  ค่าวัสดุ  และค่าสาธารณูปโภค  รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

งบลงทุน  หมายถึง  รายจ่ายที่กำหนให้จ่ายเพื่อการลงทุน  ได้แก่  รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์  ค่าที่ดินและสิ่งก่อนสร้าง  รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

 งบเงินอุดหนุน  หมายถึง  รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุงหรือเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งมิใช่ส่วนกลางตาม  พ.ร.บ.  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  หน่วยงานในกำกับของรัฐ  องค์การมหาชน  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมถึงเงินอุดหนุน  งบพระมหากษัตริย์  เงินอุดหนุนศาสนา         

งบรายจ่ายอื่น  หมายถึง  รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่ง  หรือรายจ่ายที่สำนักงานงบประมาณกำหนดให้ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้  เช่น  เงินราชการลับ  เงินค่าปรับ  ที่จ่ายคืนให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง  ฯลฯ

            อัตราเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนต่อปีการศึกษา

                        ระดับก่อนประถมศึกษา                           1,700  บาท

                        ระดับประถมศึกษา                                  1,900  บาท

                        ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น                         3,500  บาท

                        ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย                      3,800  บาท

            การจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน  แบ่งการใช้ตามสัดส่วน  ด้านวิชาการ  :  ด้านบริหารทั่วไป  :  สำรองจ่ายทั้ง  2  ด้านคือ

  1.  ด้านวิชาการ  ให้สัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ  60  นำไปใช้ได้ในเรื่อง
    1. จัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน
    2. ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์
    3. การพัฒนาบุคลาการด้านการสอน  เช่น  ส่งครูเข้าอบรมสัมมนา  ค่าจ้างชั่วคราวของครูปฏิบัติการสอน  ค่าสอนพิเศษ
  2. ด้านบริหารทั่วไป  ให้สัดส่วนไม่เกินร้อยละ  30  นำไปใช้ได้ในเรื่อง
    1. ค่าวัสดุ  ครุภัณฑ์และค่าที่ดิน  สิ่งก่อสร้าง  ค่าจ้างชั่วคราวที่ไม่ใช่ปฏิบัติการสอนค่าตอบแทน  ค่าใช้สอย
    2. สำรองจ่ายนอกเหนือด้านวิชาการและด้านบริหารทั่วไป  ให้สัดส่วนไม่เกินร้อยละ  20  นำไปใช้ในเรื่องงานตามนโยบาย
ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]