บุคคล ซึ่งได้รับความเสียหาย หรือบุคคลอื่นซึ่งพบเห็นผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติผิดจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหาหรือกล่าวโทษผู้ได้รับใบอนุญาตนั้น โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อคุรุสภา ภายใน 1 ปี นับ แต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ การกล่าวหา หรือกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
1. ทำเป็นหนังสือใช้ถ้อยคำสุภาพ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ชื่อ ที่อยู่ของผู้กล่าวหากล่าวโทษ และของผู้ถูกกล่าวหากล่าวโทษ
- บรยายพฤติกรรมทั้งหลายที่อ้างว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพพร้อมทั้งข้อเท็จจริง เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และพยานหลักฐาน เช่น พยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ตามสมควร เพียงพอให้เข้าใจข้อกล่าวหาได้ด
- ลายมือชื่อผู้กล่าวหากล่าวโทษ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
2. การยื่นเรื่องกล่าวหขกล่าวโทษให้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการคุรุสภา ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือเลขาธิการคุรุสภาแล้วแต่กรณี โดย
- ยื่นด้วยตนเอง
- ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
- มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
- วิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
สำหรับวันยื่นเรื่อง จะนับจากวันที่ลงในประทับตราลงทะเบียนรับเรื่อง หรือวันที่ไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝาก หรือประทับตรารับที่หน้าซอง
การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
เมื่อคุรุสภา ได้รับเรื่องกล่วหา หรือกล่าวโทษแล้ว ต้องมีการสืบสวนข้อเท็จจริง หากมีมูลเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ แล้วนำเสนอ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาต่อไปซึ่งคณะกรรมการมาตฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ยกข้อกล่าวหา
- ตักเตือน
- ภาคทัณฑ์
- พักใช้ใบอนุญาต มีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
- เพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดแล้ว ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐาน วิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าว อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง คำวินิจฉัย