ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนา(ชื่อผลงานของท่าน) ดังนี้
1.วิเคราะห์หาค่าความพึงพอใจของผู้ใช้(ชื่อผลงานของท่าน) โดยหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ
2.ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม นำมาแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ
3. ข้อมูลที่เป็นแบบมาตราส่วน คำนวณค่าเฉลี่ย (χบาร์ ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แต่ละข้อนำมาเทียบกับเกณฑ์ แปลความหมาย ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอย่างยิ่ง
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง มีความไม่พึงพอใจ
ค่าเฉลี่ย 0.00 – 1.50 หมายถึง มีความไม่พึงพอใจอย่างยิ่ง
4. ข้อมูลที่เป็นคำถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมเป็นข้อเสนอแนะ
5. เพื่อตรวจสอบความชัดเจน เข้าใจง่าย และความสอดคล้องของเนื้อหาของข้อคำถาม โดยวิเคราะห์หาจากดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item Objective Concurrence : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน