ข้อสอบศึกษานิเทศก์ พร้อมเฉลย

ข้อสอบศึกษานิเทศก์ เรื่อง การวัดและประเมินผล

1. การวัดผลและประเมินผลมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด ?
ก. ตัดสินผลการเรียนการสอน
ข. การปรับปรุงการเรียนการสอน
ค. ตรวจสอบพัฒนาการตามจุดประสงค์
ง. ปรับปรุงการเรียนการสอนและตัดสินผลการเรียน

2. การจัดการศึกษาต้องมีคุณภาพมายถึงข้อใด ?
ก. มีการนำหลักสูตรไปใช้
ข. มีกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ค. มีการใช้สื่อประกอบการสอน
ง. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูง

3. กระบวนการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเน้นเรื่องใด ?
ก. วัดความสามารถในการใช้ภาษา
ข. วัดพัฒนาการทางภาษาของผู้เรียน
ค. มีข้อทดสอบมาตรฐานวัดความสามารถในการใช้ภาษา
ง. ถูกทุกข้อ

4. “นักเรียนมีโอกาสกำหนดผลการเรียนรู้ ร่วมวางแผนประเมินผลการเรียนรู้” เป็นลักษณะการเรียนรู้ตามข้อใด?
ก. การเรียนรู้แบบองค์รวม
ข. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ค. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
ง. การเรียนรู้ที่สนองความแตกต่าง

5. กระบวนที่เราทำและได้ตัวเลขหรือสัมพันธ์กับตัวเลขมีน้ำหนักส่วนสูง เช่น น้ำหนัก ส่วนสูงมีความหมายตรงกับคำศัพท์ข้อใด ?
ก. Evaluation
ข. Measurement
ค. Education
ง. Efficiency

6. ขอบเขตของคำถามเกี่ยวกับการคิดเชิงวิเคราะห์ การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (ขอบข่าย 5 W 1 H) การใช้คำถาม ที่ว่า เหตุใดต้องเป็นเช่นนี้ เป็นเวลานี้เป็นสถานที่นี้ เป็นการใช้คำถามตามข้อใด?
ก. Who
ข. What
ค. Where
ง. Why

7. การประเมินทางการศึกษามีความหมายทางการประเมินข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง ?
ก. การประเมินเพื่อวินิจฉัย เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
ข. การประเมินเพื่อปรับปรุง เป็นการปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานโดยพิจารณาว่าจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ตรงกับความต้องการและเป็นที่ยอมรับหรือไม่
ค. การประเมินเพื่อตัดสินเพื่อลงสรุป เป็นการประเมินการดำเนินงานว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่
ง. ทุกข้อที่กล่าวมาเป็นจริงและถูกต้อง

8. ข้อใดเป็นความสำคัญของการประเมินทางการศึกษา ?
ก. ช่วยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานเหมาะสมเพียงใด
ข. ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่
ค. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุง และการดำเนินงาน
ง. ถูกทุกข้อ

9. ข้อใดเป็นหลักของการประเมินผลทางการศึกษา ?
ก. กำหนดสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนและวัดได้
ข. วางแผนการประเมินให้รัดกุม มีการวางแผนเก็บข้อมูล
ค. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่ประเมิน
ง. ถูกทุกข้อ

10. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ?
ก. การประเมินผลมาก่อนการวัดผล
ข. การวัดผลมาก่อนการประเมินผล
ค. การวัดผลเป็นการตัดสินใจ พิจารณา
ง. การวัดผลและประเมินผลเป็นสิ่งเหมือนกัน

11. ปรัชญาของการวัดผล หมายถึงข้อใด ?
ก. สอบเพื่อประเมินความสามารถของผู้สอน
ข. สอบเพื่อประเมินความสามารถของผู้เรียน
ค. สอบเพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์
ง. สอบเพื่อให้รู้ผลว่าสอบได้หรือสอบตก

12. เครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยคือข้อใด?
ก. แบบทดสอบ
ข. แบบการสังเกต
ค. แบบตรวจสอบรายการ
ง. แบบการทดสอบภาคปฏิบัติ

13. แบบทดสอบอัตนัยเป็นแบบทดสอบใช้วัดความสามารถตามข้อใด ?
ก. ความรู้ การกระทำ
ข. ความรู้ ความคิดเห็น
ค. การวิเคราะห์ การเลียนแบบ
ง. การใช้ภาษา การสร้างค่านิยม

14. ข้อใดหมายถึง Construct validity ( C.V.) ?
ก. ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ
ข. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
ค. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง
ง. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

15. ค่าความยากข้อสอบที่เหมาะสมมีค่าเท่าใด ?
ก. 0.00 – 1.00
ข. 0.00 – 1.15
ค. 0.00 – 1.20
ง. 0.00 – 1.25

16. ข้อสอบมีอำนาจจำแนกนั้นคือข้อใด ?
ก. ข้อสอบนั้นยากพอ ๆ กัน
ข. ข้อสอบนั้นผ่านการวิเคราะห์อย่างดีแล้ว
ค. ข้อสอบนั้นสามารถแยกตนเก่งออกจากคนไม่เก่งได้
ง. ข้อสอบนั้นสามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างแท้จริง

17. ข้อใดคือ “มัธยฐาน” ?
ก. ข้อมูลที่อยู่ในระดับต่ำของกลุ่ม
ข. ข้อมูลที่อยู่ในระดับกึ่งกลางของกลุ่ม
ค. ข้อมูลที่อยู่ในระดับสูงของกลุ่ม
ง. ข้อมูลที่อยู่ในระดับใดก็ได้ของกลุ่ม

18. ฐานนิยมของตัวเลขต่อไปนี้ 1, 3 , 4, 5, 2, 4, 7, 4, 1 หมายเลขใดคือฐานนิยม ?
ก. หมายเลข 1
ข. หมายเลข 2
ค. หมายเลข 3
ง. หมายเลข 4

19. ข้อใดคือการประเมินผลระดับชาติ ?
ก. NT
ข. SAT
ค. GPA
ง. GAT

20. ปพ. หมายถึงข้อใด ?
ก. เอกสารหลักฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. เอกสารประเมินผลแสดงวุฒิทางการศึกษา
ค. เอกสารประเมินผลหลักฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. เอกสารประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เฉลยแนวข้อสอบศึกษานิเทศก์ เรื่อง การวัดและประเมินผล
1.ง, 2.ข, 3.ง, 4.ข, 5.ก, 6.ง, 7.ง, 8.ง, 9.ง, 10.ข, 11.ค, 12.ก, 13.ข, 14.ข, 15.ก, 16.ค, 17.ข, 18.ง, 19.ก, 20.ง

ข้อสอบศึกษานิเทศก์ จาก UTQ-225 นวัตกรรมการนิเทศ การศึกษาชั้นเรียน

1. การยอมรับและให้เกียรติครูผู้รับการนิเทศหรือทีมงาน เป็นทักษะที่ใช้ในขั้นตอนใดของการนิเทศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ก. ขั้นการประเมินการนิเทศ
ข. ขั้นการสร้างความจริงใจ
ค. ขั้นการทบทวนสรุปผลการนิเทศ
ง. ขั้นการประชุมปฏิบัติการ

2. สมรรถนะประจำสายงานของศึกษานิเทศก์คือข้อใด
ก. การออกแบบการเรียนรู้
ข. การบริหารจัดการชั้นเรียน
ค. การสื่อสารและการจูงใจ
ง. การพัฒนาผู้เรียน

3. สมรรถนะหลัก (Core Competencies) ของวิชาชีพศึกษานิเทศก์ คือข้อใด
ก. การทำงานเป็นทีม
ข.การพัฒนาตนเอง
ค. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
ง. การบริการที่ดี

4. การวิเคราะห์จุดพัฒนาทำเพื่ออะไร
ก. เพื่อเลือกนวัตกรรมการนิเทศ
ข. เพื่อนิเทศการศึกษาให้เป็นระบบ
ค. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการ
ง. เพื่อการจัดทำงานผลการนิเทศได้สะดวก

5. กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอนคืออะไร
ก. การเยี่ยมชั้นและสังเกตการสอนสมัยใหม่
ข. การสังเกตการสอนที่มีขั้นตอนและต่อเนื่อง
ค. การสังเกตการสอนอย่างง่ายที่ไร้รูปแบบ
ง. การปฏิบัติการเยี่ยมชั้นเรียนที่มีการนัดหมายล่วงหน้า

6. การใช้เทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ ครูเหตุผลและความจำเป็นอย่างไร
ก. เพราะนักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
ข. เพราะความรู้และวิชาการมีมากและครูมีภาระงานมาก
ค. เพราะความรู้ความสามารถของครูลดน้อยลง
ง. ผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีเวลานิเทศการเรียนรู้ครู

7. ข้อมูลจากแบบสังเกตการสอนนำมาใช้อย่างไร
ก. ตีความ สรุป เทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจของครูและนักเรียนกับแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบ
ข. ทบทวน อภิปราย เทียบความพึงพอใจและมาตรฐานการเรียนรู้ที่ต้องการ
ค. วิเคราะห์ บุคลิกภาพการสอน วิธีการเรียนและการบรรยายการจัดการเรียนการสอน
ง. ถูกทุกข้อ

8. ประสบการณ์และบันทึกของครูชูใจข้อใดที่นำมาใช้กับเทคนิคการนิเทศ ”เทคนิคการ สังเกตการสอนและเยี่ยมชั้น ทำให้ผู้นิเทศมองเห็นพฤติกรรมการสอนของครู และความน่ารักตามที่นักเรียนเป็น”
ก. น้องสันติ เงียบขรึม นั่งหลังห้อง คอยหลบตาครู
ข. น้องสมชาย พูดจาไพเราะ เรียนภาษาไทยเก่งมาก
ค. น้องปุ๊ ขยันเรียน ทำงานช้า มองโลกในแง่ดี
ง. ถูกทุกข้อ

9. จากบันทึกของครูชูใจในข้อ 8 ศึกษานิเทศก์ ควรชี้แนะ (Coaches) และตระหนักในข้อใด
ก. บันทึกของครูชูใจไม่ได้ช่วยการสอนให้ดีขึ้นเลย
ข. บันทึกนี้ทำให้เด็กแต่ละคนรู้ว่าครูรักเขาทุกคนและทุกคนล้วนมีจุดเด่น
ค. ความแตกต่างของนักเรียนจะใช้วิธีสอนแบบเดี่ยวไม่ได้ ควรหาความหลากหลายและกำหนดระดับคุณภาพที่แตกต่าง
ง. เราเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่างกันได้และปรับให้เป็นแบบเดียวกันได้ไม่มากก็น้อย

10. ครูสมพรพูดว่า “นามสกุลนี้เรียนอ่อนแทบทุกคน ถ้าเป็นสมัยก่อนก็ตกและตกอีกไม่จบ ม. 3 หรอกครับ”
ศน. ชินกร : “แล้วครูสอนแก้อย่างไร ซ่อมเสริมหรือเปล่าครับ”
ครูสมพร : “ผมไม่ได้สอนเสริมหรือมีพิเศษอะไรหรอกครับ เชื่อผลเถอะ สอนไปก็เหนื่อยเปล่า.”
คำชี้แนะหลังการเยี่ยมชั้นข้อใดที่ควรใช้ :
ก. ครูออกแบบการสอนชนิดเดียว แต่วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ครูเชื่อว่าต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน
ข. วิชาชีพครูมีความเชื่อว่า นักเรียนทุกคนเรียนรู้ได้และพัฒนาได้แต่อาจไม่เท่ากัน
ค. ครูแต่ละคนมีความถนัดไม่เท่ากันแต่ต้องมีอารมณ์ สังคมและความต้องการเหมือนกัน
ง. จนปัญญาในการสอน ครูสมพรท้อแท้มากกว่า ผู้เรียนอย่างว่าเสียดายความเป็นครูคนเก่ง

11. ข้อมูลใดในแผนการเรียนรู้ ชี้บอกและควรตระหนักให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนมากที่สุด
ก. มาตรฐานการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและคุณค่าที่แผนการสอนต้องการ
ข. ประจักษ์พยานการสอน การยอมรับในหลักเกณฑ์ข้อทดสอบ ชิ้นงานและหลักการสังเกตการสอน
ค. กิจกรรมและประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ฝึกฝน คิดค้นและทบทวน นำเสนอ
ง. ถูกทุกข้อ

12. คุณค่าของข้อมูลในข้อ 11 ออกแบบให้ปรากฏในเครื่องมือนิเทศข้อใด
ก. แบบสังเกตการสอน
ข. คำชี้แนะการสอน
ค. แผนการจัดการเรียนการสอน
ง. บันทึกการสนทนา อภิปรายหลังการสังเกตการสอน

13. “ครูเก่งนักเรียนเก่ง ครูดีนักเรียนดี” คำกล่าวนี้สะกิดใจศึกษานิเทศก์ในเรื่องใดมากที่สุด
ก. ศน.ผจญ “ปีนี้ศึกษานิเทศก์เบญจพร จะเสนอผลงาน คศ.4 น่าจะทำเรื่องของเราให้มากๆนะค่ะ”
ข. ศน.สุเทียบ “ควรวิเคราะห์และเลือกจุดดีและจุดด้อย ปัญหาและความต้องการพัฒนาครูให้มีศักยภาพสูง
ส่งผลให้ครูสามารถพัฒนานักเรียนตรงกับปัญหามากที่สุด”
ค. ศน.ปิยะรัตน์ “ทำไม ศน.ผจญ จึงเสนอแผนนี้และทำไม ศน.สุเทียบ จึงคิดแบบนี้ ความคิดเห็นของ ศน. ผจญ
และ ศน.สุเทียบ ส่งผลถึงใครมากที่สุด น่าคิดนะค่ะ”
ง. ศน.วราภรณ์ “พี่ประเสริฐกลับมาจากอบรม SP2 เป็นอย่างไร ได้ความรู้และเทคนิคหรือ
ยุทธศาสตร์สมัยใหม่ๆ อะไรมาบ้าง เขากำลังสนใจเรื่องอะไรทุกวันนี้ครับ”

14. ข้อใดสร้างความมั่นใจให้ศึกษานิเทศก์ ชี้แนะ สอนงานและสังเกตการสอนของครูสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดีที่สุด
ก. แผนการนิเทศการศึกษาที่ออกแบบอย่างละเอียดรอบคอบ
ข. เครื่องมือการนิเทศที่หลากหลายและครบสาระการเรียนรู้
ค. ความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญในเรื่องการนิเทศและทักษะมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างทีมงาน
ง. การช่วยครูให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาต้องการแม้ว่าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการ

15. ข้อใด ไม่ใช่ นวัตกรรมการนิเทศการสอน
ก. นุ๊ก นิเทศแบบทีมวิจัยชั้นเรียนโรงเรียนที่ใกล้กัน
ข. โหน่ง นิเทศสังเกตการสอนครูสมยศใช้ชุดฝึกอ่านคำควบกล้ำ
ค. หนิงชี้แนะครูประยงค์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก ป.2 โดยใช้กระดาน กระดาษทรายและไหมพรมหลากสี
ง. นุชชวนครูอี๊ด ประดิษฐ์ตุ๊กตาผักตบชวาขายส่งร้าน OTOP

16. ครูคนใดควรได้รับการปรับปรุงการสอนมากที่สุด
ก. ครูอั๋น สั่งให้นักเรียนวาดภาพตามจินตนาการ
ข. ครูโจ้ แบ่งกลุ่มนักเรียนทดลองการศึกษา Indicator ความเป็นกรด – เบส จากวัชพืช
ค. ครูแอ๊ด พานักเรียนไปดูโรงงานผลิตนมพาสเจอไรด์
ง. ครูจิ๋ว ให้จดตามคำบอกเรื่อง การหาความจุของถังข้าวสาร

17. ปัจจัยภายใน (Intrinsic Factors) ที่ศึกษานิเทศก์ควรสร้างแรงจูงใจภายในให้ครู คือข้อใด
ก. ความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ
ข. การยอมรับจากครูและเพื่อนร่วมงาน
ค. ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่งาน
ง. มีโอกาสได้ประสบการณ์ใหม่ๆ

18. ขั้นตอนสุดท้าย (Post Coaching) ของเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ ศึกษานิเทศก์มีบทบาทอย่างไร
ก. สรุปผลชี้แนะ ยอมรับความสามารถของครูและให้โอกาสครู สรุปเพื่อปรับปรุงงาน
ข. ตกลงวางแผนร่วมกันในการกำหนดคำถามและประเด็นชี้แนะสอนงาน
ค. ชี้แนะ บอก ซักถาม พิจารณาผลงานแผนการสอนของครู
ง. ชี้แนะ รับฟัง ท้าท้ายและให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับครูและโรงเรียน

19. ใครนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก. ศรีผ่อง นิเทศแบบชี้แนะตามความต้องการของตน
ข. จันทร์เพ็ญ นิเทศแบบคลินิกอย่างเป็นกระบวนการ 3 ครั้ง
ค. ศรราม รายงานจุดเด่นและจุดด้อยของโรงเรียนแต่ละแห่งทุกเดือน
ง. ศรีผ่อง ทำแผนการนิเทศเสนอต่อ คณะกรรมการการนิเทศฯ(กต.ปน.เขตพื้นที่) ทุกปี

20. การทำงานโดยตรงกับครูของศึกษานิเทศก์โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) ในขั้นแรกคือทำอะไร อย่างไร
ก. พูดคุยกับครูก่อนเข้าสังเกตการสอนเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย จุดเด่นแบบวิธีการบันทึกและแบบสังเกตการสอน
ข. วิเคราะห์และตีความผลงานของครู เช่น แผนการสอน ผลการทดสอบ แบบสังเกตการสอนเครื่องมือวัดผล
ค. การติชม ทบทวน อภิปราย สะท้อนผล สรุปอะไรคือจุดเด่น จุดด้อย และข้อเสนอแนะ
ง. สังเกตการสอนและบันทึกพฤติกรรมการสอน พฤติกรรมการเรียนและศึกษาข้อมูลบริบทของชั้นเรียนและสาระการเรียนรู้

21. การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เป็นการวิจัยประเภทใด
ก. การวิจัยเชิงสำรวจ
ข. การวิจัยเชิงทดลอง
ค. การวิจัยกึ่งทดลอง
ง. ถูกทุกข้อ

22. Lesson Study มีนิยามและกระบวนการคล้ายคลึงกับข้อใด
ก. Classroom Study
ข. Professional Study
ค. Action Research Study
ง. ถูกทุกข้อ

23. ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Lesson Study คือข้อใด
ก. การวางแผน
ข. การอภิปราย
ค. การสะท้อนผลบทเรียน
ง. การนำไปใช้และการสังเกต

24. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)
ก. การสรุปบทเรียน
ข. การปรับปรุงบทเรียน
ค. การพัฒนาการเรียนการสอน
ง. การปรับปรุงการเรียนการสอน

25. ข้อใดเป็นวงจรการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ที่ถูกต้อง
ก. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==> สอนและสังเกต ==> สนทนาและทบทวน==> สนทนาและทบทวน==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
ค. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> สอนและสังเกต ==> วิเคราะห์และวางแผน==>สนทนาและทบทวน ==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
ง. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน ==> สอนและสังเกต ==> สนทนาและทบทวน==>สอนและสังเกต ==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย

26. ข้อใดเป็นขั้นตอนกระบวนการพื้นฐานของ Lesson Study ที่ถูกต้อง
ก. วางแผน ==> นำไปใช้ ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> สะท้อนผล
ข. วางแผน ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> สะท้อนผล ==> นำไปใช้
ค. วางแผน ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> นำไปใช้ ==> สะท้อนผล
ง. วางแผน ==> นำไปใช้ ==> สังเกต ==> สะท้อนผล ==> อภิปราย

27. วงจรของการศึกษาชั้นเรียนเริ่มต้นจากข้อใด
ก. การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Selecting a Focus)
ข. การวิเคราะห์และวางแผน (Planning the Lesson Study)
ค. การสนทนาและทบทวน (Revision Based on the Group’s Reflection)
ง. สอนและสังเกตการสอน (Teaching & Focused Observation of Lesson Based on the Group’s Goals)

28. จะเริ่มต้นอย่างไรกับการวางแผนปฏิบัติการ Lesson Study
ก. พิจารณาเลือกบทเรียนที่จะพัฒนาร่วมกันเป็นเบื้องต้น
ข. เริ่มจากความสนใจของครูกลุ่มเล็ก ๆ ที่กระทำในประเด็นง่าย ๆ
ค. เริ่มเลือกหน่วยการสอนและวิเคราะห์ความต้องการของครูเป็นสำคัญ
ง. เริ่มจุดประสงค์/สาระที่มีปัญหาและความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ

29. กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการศึกษาชั้นเรียนคือข้อใด
ก. การวางแผน (Planning)
ข. ความร่วมมือ (Collaboration)
ค. การเรียนการสอน (Learning & Teaching)
ง. การทบทวนและสะท้อนผล (Revise & Reflection)

30. ประโยชน์สูงสุดที่เป็นคุณค่าของการศึกษาชั้นเรียนคือข้อใด
ก. เป็นหนึ่งกระบวนการร่วมมือครูเพื่อพัฒนางานและเลื่อนวิทยฐานะ
ข. การพัฒนาการเรียนการสอนในหน้าที่ครูอย่างต่อเนื่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
ค. การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเรียนการสอนที่เน้นความร่วมมือและพัฒนาศาสตร์การสอนให้เข้มแข็ง
ง. ยกระดับคุณภาพการสอนของครูและเพิ่มสมรรถภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้นด้วยกระบวนการวิจัย

เฉลย ข้อสอบศึกษานิเทศก์ จาก UTQ-225 นวัตกรรมการนิเทศ การศึกษาชั้นเรียน
1.ง, 2.ค, 3.ค, 4.ค, 5.ข, 6.ก, 7.ง, 8.ง, 9.ค, 10.ข
11.ง, 12.ง, 13.ข, 14.ข, 15.ง, 16.ง, 17.ค, 18.ก, 19.ข, 20.ก
21.ข, 22.ค, 23.ก, 24.ก, 25.ก, 26.ก, 27.ก, 28.ก, 29.ก, 30.ข

ข้อสอบความสามารถทางการนิเทศการศึกษา/ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง : [งานวิเคราะห์ วิจัย]

คำแนะนำ : ลองทำข้อสอบศึกษานิเทศก์ ภาค ก ฯ ด้วยตนเองก่อนดูเฉลยด้านล่าง

1. ข้อใด มิใช่ หลักการพื้นฐานในการทำวิจัย 
ก. ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completion)
ข. ความชัดเจน (celerity)
ค. ความถูกต้อง (exactness)
ง. ความเข้าใจง่าย (simplification)
จ. ไม่มีคำตอบ

2. การวิจัย ต้องดำเนินการขั้นตอนใดเป็นลำดับแรก 
ก. ออกแบบวิจัย
ข. เก็บรวบรวมข้อมูล
ค. กำหนดปัญหาการวิจัย
ง. กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
จ. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3. ขั้นตอนสุดท้ายของการทำวิจัยคือข้อใด 
ก. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ข. การแปลความหมายข้อมูล
ค. การวิเคราะห์ข้อมูล
ง. การสรุปผล
จ. การเขียนรายงานวิจัย

4. ข้อใดมิใช่จรรยาบรรณนักวิจัย 
ก. ต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาที่ทำวิจัย
ข. มีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
ค. เคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
ง. ซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการ
จ. ไม่มีคำตอบ

5. ปัญหาข้อใดไม่ถือว่าเป็นปัญหาวิจัย 
ก. ทำไมดวงอาทิตย์จึงขึ้นทางทิศตะวันออก
ข. ทำไมเวลาทักทายกันคนไทยจึงใช้การไหว้
ค. ทำไมสุนทรจึงไม่ได้ 2 ขั้น
ง. ทำอย่างไรตัวเราจึงจะประสบความสำเร็จในการทำงาน
จ. ถูกทุกข้อ

6. ข้อใดคือลักษณะของปัญหาวิจัยที่ไม่ดี 
ก. เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่
ข. เป็นปัญหาที่เหมือนหรือซ้ำกันกับผู้อื่น
ค. เป็นปัญหาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป
ง. เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ
จ. เป็นปัญหาที่สามารถทำการวิจัยได้

7. ข้อใดมิใช่ข้อบกพร่องในการเลือกปัญหาวิจัย
ก. เลือกปัญหาวิจัยตามผู้อื่น
ข. กำหนดปัญหาวิจัยกว้างเกินไป
ค. ไม่ได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ง. เลือกปัญหาวิจัยต่างจากผู้อื่น
จ. ข้อ ข. และ ง.

8. การเขียนปัญหาวิจัย ข้อใดกล่าวถูกต้อง 
ก. เขียนในรูปประโยคคำถาม
ข. เขียนในรูปประโยคบอกเล่า
ค. เขียนในรูปประโยคบอกเล่าแล้วตามด้วยประโยคคำถาม
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ข้อ ก. ข้อ ข. และ ข้อ ค.

9. เอกสารและงานที่วิจัยเกี่ยวข้องหมายถึงข้อใด 
ก. บทความทางวิชาการ
ข. วารสาร
ค. ดรรชนี (index)
ง. ไมโครฟิล์ม (microfilm)
จ. ถูกทุกข้อ

10. ข้อใดมิใช่ลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณ
ก. ใช้วิจัยในเรื่องที่เป็นนามธรรม
ข. เป็นการวิจัยที่เน้นจำนวนวัดปริมาณได้ชัดเจนและแน่นอน
ค. ใช้กระบวนการวิจัยแบบนิรนัยหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลกับผล
ง. เน้นการวิจัยเชิงทดลอง กึ่งทดลอง และเชิงสำรวจ
จ. ถูกทุกข้อ

11. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการวิจัยได้ถูกต้อง
ก. กำหนดเรื่องที่จะวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล ออกแบบการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมายและการสรุปการรายงานการวิจัย
ข. กำหนดเรื่องที่จะวิจัย ออกแบบการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมายและการสรุปการรายงานการวิจัย
ค. กำหนดเรื่องที่จะวิจัย ออกแบบการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมายและการสรุป การรายงานการวิจัย
ง. ออกแบบการวิจัย กำหนดเรื่องที่จะวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมายและการสรุป การรายงานการวิจัย
จ. ออกแบบการวิจัย กำหนดเรื่องที่จะวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมายและการสรุป การรายงานการวิจัย

12. ที่มาของเรื่องวิจัยคือข้อใด 
ก. ภูมิความรู้เดิม
ข. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ค. ความสนใจของนักวิจัย
ง. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
จ. ถูกทุกข้อ

13. กระบวนการกำหนดเรื่องวิจัยเริ่มจากข้อใด
ก. สมมติฐานการวิจัย
ข. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ค. การระบุปัญหา
ง. ขอบเขตของการวิจัย
จ. ถูกทุกข้อ

เฉลยตัวอย่างข้อสอบศึกษานิเทศก์ ภาค ก ความสามารถทางการนิเทศการศึกษา : งานวิเคราะห์ วิจัย
1. จ, 2. ค, 3. จ, 4. จ, 5.ก, 6. ข, 7. ง, 8. จ, 9. จ, 10. ก, 11. ข, 12 จ, 13. ค

ชุดข้าราชการ หญิงแขนสั้น
ชุดกากี
สั่งซื้อได้เลยจาก Shopee

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *