พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
หมวด 7 การดำเนินการทางวินัย
การดำเนินการทางวินัย หมายถึง กระบวนการและขั้นตอนในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดก่อนออกคำสั่งลงโทษทางวินัย
การดำเนินการทางวินัย
การดำเนินการทางวินัย หมายถึง กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการในการลงโทษข้าราชการ ซึ่งเป็นกระบวนการตามกฎหมายที่จะต้องกระทำ เมื่อข้าราชการมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ได้แก่
ผู้มีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
แบ่งเป็น 2 กรณี
1.กรณีวินัยไม่ร้ายแรง ได้แก่
1.1. ผู้อํานวยการสถานศึกษา
1.2. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1.3. นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวงเลขาธิการ อธิบดี
1.4 ตําแหน่งอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้กระทําผิดวินัย
2. กรณีร้ายแรง ได้แก่
2.1. ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา53 (มาตรา 53 การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ภายใต้บังคับ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 58 มาตรา 64 มาตรา 65 มาตรา 66 และ มาตรา 67)
2.2. ผู้มีอํานาจลําดับชั้นสูงกว่าของผู้ถูกกล่าวหาคนหนึ่งคนใด ในกรณีที่กระทําผิดวินัยร่วมกันหลายคน (มาตรา98 วรรคสอง)
2.3. ผู้บังคับบัญชาของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ ระดับเหนือขึ้นไป (มาตรา100 วรรคหก)
2.4. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด นายกรัฐมนตรี
2.6. ก.ค.ศ.