วินัยข้าราชการอาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 ความหมาย คือ
1. หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์แบบแผนความประพฤติที่ทางราชการกําหนดให้ ข้าราชการยึดถือและปฏิบัติ
2. หมายถึง ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ข้าราชการแสดงออกมาในทางที่ถูกที่ควร เป็นการ ควบคุมตนเองให้แสดงพฤติกรรมที่ถูกระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือแบบแผนที่ทางราชการกําหนดไว้
ดังนั้น วินัยจึงหมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือแบบแผนความประพฤติที่ควบคุม พฤติกรรมของคนในองค์กรให้เป็นไปในแนวทางที่พึงประสงค์
ข้อกำหนดเรื่องวินัย พระราชบัญญัติระเบียบข้ราชการกรูและบุกลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 หมวด 6 บัญญัติให้ข้ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามหมวดนี้โคยเคร่งครัคอยู่เสมอ ตั้งเต่มาตรา 82 ถึงมาตรา97 ซึ่งอาจยกได้คังนี้
1. วินัยต่อประเทศชาติ ได้แก่ สนับสนุนและวางรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. วินัยต่อตำเหน่งหน้ที่ ได้แก่ การปฏิบัติหน้ที่ด้วความชื่อสัตย์สุจริต เห็นเก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา ได้แก่ การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งในหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
4. วินัยต่อผู้เรียน ได้แก่ การอุทิศวลา ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลเคารพสิทธิ ไม่ข่มเหง ไม่ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียน
5. วินัยต่อประชาชน ได้แก่ ให้การต้อนรับอำนวยความสะดวก ให้ความเป็นธรรมไม่กลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยามประชาชน
6. วินัยต่อผู้ร่วมงาน ได้แก่ การรักษาความสามัดดี สุภาพเรียบร้อย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
7. วินัยต่อตนเอง ได้แก่ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รักษาชื่อเสียง ไม่กระทำการใดๆให้เสื่อมเสียชื่อเสียง