ผลงานทางวิชาการ หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่จัดทำขึ้นจากความรู้ ความสามารถ
ทักษะและประสบการณ์ของผู้จัดทำ โดยการศึกษา คันคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย และได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานในหน้าที่จนเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการจัดการศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
ขอบข่ายของผลงานวิชาการ
ผลงานทางวิชาการของสายงานการสอน หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการ สอนที่แสดงถึงความชำนาญหรือเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ รวมถึงผลงานในลักษณะอื่นซึ่งใช้ประโยชน์ในการสอนหรือการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดีโดยมีลักษณะดังนี้
1. ตรงกับสาขาวิชาที่ขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
2. เป็นผลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือสาขาวิชาต่างๆ และใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
3. เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการสอน
ประเภทของผลงานวิชาการ
ก.ค.ศ.ได้กำหนดประเภทของผลงานทางวิชาการให้แสดงถึงความรู้ ความสามารถ ความ
ชำนาญการ และความเชี่ยวชาญ ของผู้ขอเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของผลงานทางวิชาการเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ผลงาน งานแต่ง เรียบเรียง งานแปล หนังสือหรือเขียนบทความทางวิชาการ ซึ่งเป็น
ผลงานที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา - ผลงานวิจัย ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว และผลงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาและการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา
- ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น เช่น
3.1 การประเมินงาน หรือการประเมินโครงการ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
3.2 สื่อ นวัตกรรมทางการศึกยา เช่น ผลงานด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอน
ผลงานด้านการคิดพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิด ประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง อาจจัดทำเป็นเอกสาร หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสิ่งประดิษฐ์ต่งๆ รวมทั้งเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.3 เอกสารประกอบการปฏิบัติหน้าที่ เป็นเอกสารที่สามารถใช้ประกอบในการปฏิบัติ
หน้าที่ทั้งด้านการเรียนการสอน บริหารจัดการศึกษา และการนิเทศการศึกษา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในหน้าที่ให้สูงขึ้น สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินคุณกาพปฏิบัติงานท่านั้นมิให้นำมาใช้เสนอเป็นผลงานทางวิชาการผลงานทางวิชาการที่ผู้ขอมิได้จัดทำแต่ผู้เดียว แต่เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้ร่วมจัดทำกับผู้อื่นในรูปคณะทำงานหรือกลุ่ม ต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่าผู้ขอมีส่วนร่วมในการจัดทำในส่วนใด ตอนใดหน้าใดบ้างคิดเป็นร้อยละเท่าไรของผลงานทางวิชาการแต่ละเล่ม และให้ผู้ร่วมจัดทำทุกรายรับรองพร้อมทั้งระบุว่าผู้ร่วมจัดทำแต่ละรายได้จัดทำส่วนใดบ้างทั้งนี้ผลงานทางวิชาการที่เสนอขอ ต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือผลงานทางวิชาการที่เคยใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะมาแล้วด้วย
แนวทางในการจัดทำผลงานวิชาการ
เมื่อพิจารณาความหมายของผลงานงานวิชาการจาก คู่มือการประเมินผลงานทางวิชาการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยาฐานะของ ก.ค.ศ. จะเห็นว่า ถ้าเป็นผลงานทางวิชาการของครู หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงถึงความชำนาญการหรือเชี่ยวชาญในการสอน และได้นำไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่
ประเภทของผลงานทางวิชาการ พบว่า (ตามการแบ่งประเภทของผลงานทางวิชาการของ ก.ค. เดิม) ดังนี้
(1) หนังสือ
(2) ตำรา
(3) เอกสารประกอบการสอน
(4) เอกสารคำสอน
(5) บทความทางวิชาการ
(6) ผลงานวิจัย
(7) งานแปล
(8) รายงานการศึกษาค้นคว้า
(9) สื่อการเรียนการสอน
(10) รายงานโครงการต่าง ๆ
(11) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
ดาวน์โหลดเอกสารเทคนิคการทำผลงานวิชาการสำหรับวิชาชีพครู